เลขาธิการ ก.ล.ต. เผย กปปส. ปิดท่อน้ำเลี้ยงหุ้นชิน กระทบชิ่ง บจ.ในตลาดหุ้น ส่อเค้าถูกต่างประเทศปรับลดอัตราเครดิตเรตติ้ง เพราะรัฐบาลขาดเสถียรภาพความน่าเชื่อถือ หวั่นนักลงทุนย้ายฐานเม็ดเงินหนีความเสี่ยง
นายวรพล โสติคยานุรักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. กล่าวว่า จากสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งทาง ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ร่วมมือกันเพื่อตั้งข้อสังเกตุต่อลักษณะการซื้อขายหุ้นว่าจะมีความผิดปกติหรือไม่ เนื่องจากอาจมีกลุ่มทุนหรือกลุ่มบุคคล ที่จะฉวยโอกาสความไม่สงบทางการเมือง และความอ่อนใหวของตลาดหุ้นไทยอยู่ในช่วงที่มีสถานการณ์ความผันผวนรุนแรง เข้าทำการซื้อขายในลักษณะให้ผิดไปจากกลไกการตลาด นอกจากกรณีที่คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส.โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นแกนนำ ได้ทำการระดมมวลชนในการตัดท่อน้ำเลี้ยงหุ้นในเครือของตระกูลชินวัตร ซึ่งทำให้เกิดแรเทขายเป็นจำนวนมากในช่วงวันที่19 - 21กุมภาพันธ์
โดยหุ้นที่ได้รับผลกระทบโดยตรงมีจำนวน 2 กลุ่มคือหุ้นที่ถือครองโดย บมจ. เทมาเส็ก โฮลดิ้ง ที่ซื้อต่อมาจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คือบมจ. ชิน คอร์ปอเรชั่น หรือ INTUCH , บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ ADVANC, บมจ.ไทยคม หรือ THCOM และ บมจ. ซีเอส ล็อกซอินโฟ หรือ CSL ส่วนที่อีกกลุ่มคือ หุ้นที่เป็นของตระกูลชินวัตร ได้แก่ บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น หรือ SC และ บมจ. เอ็ม ลิ้งค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น หรือ MLINK ซึ่งตลอด 3 วันหุ้นในกลุ่มชินคอร์ป มีแรงเทขายออกไปกว่า 10,010 ล้านบาท
อย่างไรก็ดีจากกรณีดังกล่าว ทาง ก.ล.ต. ได้จับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากแนวโน้มการลงทุนที่ปรับตัวลดลง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากสถาบันจัดอันดับความเชื่อมั่นได้พิจารณาเสถียรภาพความน่าเชื่อถือต่อรัฐบาล และความน่าลงทุนในประเทศไทย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราเครดิตความน่าเชื่อถือลง ส่งผลทำให้บริษัทจดทะเบียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการภาครัฐเช่นหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ หรือกลุ่มสินค้าเกษตร ต้องชะลอโครงการและการส่งมอบสินค้าออกไป
นายวรพล โสติคยานุรักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. กล่าวว่า จากสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งทาง ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ร่วมมือกันเพื่อตั้งข้อสังเกตุต่อลักษณะการซื้อขายหุ้นว่าจะมีความผิดปกติหรือไม่ เนื่องจากอาจมีกลุ่มทุนหรือกลุ่มบุคคล ที่จะฉวยโอกาสความไม่สงบทางการเมือง และความอ่อนใหวของตลาดหุ้นไทยอยู่ในช่วงที่มีสถานการณ์ความผันผวนรุนแรง เข้าทำการซื้อขายในลักษณะให้ผิดไปจากกลไกการตลาด นอกจากกรณีที่คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส.โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นแกนนำ ได้ทำการระดมมวลชนในการตัดท่อน้ำเลี้ยงหุ้นในเครือของตระกูลชินวัตร ซึ่งทำให้เกิดแรเทขายเป็นจำนวนมากในช่วงวันที่19 - 21กุมภาพันธ์
โดยหุ้นที่ได้รับผลกระทบโดยตรงมีจำนวน 2 กลุ่มคือหุ้นที่ถือครองโดย บมจ. เทมาเส็ก โฮลดิ้ง ที่ซื้อต่อมาจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คือบมจ. ชิน คอร์ปอเรชั่น หรือ INTUCH , บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ ADVANC, บมจ.ไทยคม หรือ THCOM และ บมจ. ซีเอส ล็อกซอินโฟ หรือ CSL ส่วนที่อีกกลุ่มคือ หุ้นที่เป็นของตระกูลชินวัตร ได้แก่ บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น หรือ SC และ บมจ. เอ็ม ลิ้งค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น หรือ MLINK ซึ่งตลอด 3 วันหุ้นในกลุ่มชินคอร์ป มีแรงเทขายออกไปกว่า 10,010 ล้านบาท
อย่างไรก็ดีจากกรณีดังกล่าว ทาง ก.ล.ต. ได้จับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากแนวโน้มการลงทุนที่ปรับตัวลดลง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากสถาบันจัดอันดับความเชื่อมั่นได้พิจารณาเสถียรภาพความน่าเชื่อถือต่อรัฐบาล และความน่าลงทุนในประเทศไทย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราเครดิตความน่าเชื่อถือลง ส่งผลทำให้บริษัทจดทะเบียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการภาครัฐเช่นหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ หรือกลุ่มสินค้าเกษตร ต้องชะลอโครงการและการส่งมอบสินค้าออกไป