xs
xsm
sm
md
lg

กิมเอ็งแนะ “ซื้อ” CPF คาดฟื้นตัวตั้งแต่ 1Q57 และโดดเด่นยิ่งขึ้นใน 2Q57

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


แนะนำหุ้นโดย บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด ประจำวันที่ 17 มี.ค.2557

บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF)

คำแนะนำ :           ซื้อ (ไม่เปลี่ยนแปลง)
ราคาปิด (บาท) :       30.00
ราคาเป้าหมาย (บาท) :  35.75 (ไม่เปลี่ยนแปลง)

คาดฟื้นตัวตั้งแต่ 1Q57 และโดดเด่นยิ่งขึ้นใน 2Q57

          ประเด็นการลงทุน : ผลประกอบการจะฟื้นตัวโดดเด่นในปีนี้โดยเริ่มกลับมาทำกำไรได้ตั้งแต่ 1Q57 เป็นต้นไป และเติบโตดีขึ้นใน 2Q57 ซึ่งเป็นไฮซีซันของการส่งออก ราคาหมู และไก่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่วัตถุดิบหลัก คือ ข้าวโพด ราคาลดลง คาดธุรกิจกุ้งฟื้นตัวจากการปริมาณการผลิตกุ้งค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ธุรกิจในต่างประเทศมีผลประกอบการดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เวียดนาม เราคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย (SOTP) 35.75 บาท 

          คาด 1Q57 พลิกเป็นกำไร : คาดผลประกอบการฟื้นจากขาดทุนมาเป็นกำไรใน 1Q57 จากธุรกิจสัตว์บกมีอัตรากำไรสูงขึ้นหลังจากราคาขายเนื้อหมู และไก่ใน 2M57 เพิ่มขึ้น 15% YoY และ 7% YoY ตามลำดับ ในขณะที่ราคาวัตถุดิบหลักของอาหารสัตว์ คือ ข้าวโพด ลดลง 23% YoY (แต่กากถั่วเหลือง เพิ่มขึ้น 14% YoY) นอกจากนั้น ธุรกิจในต่างประเทศมีแนวโน้มขาดทุนลดลง ส่วนธุรกิจกุ้งยังคงขาดทุนใน 1Q57 แต่คาดว่าฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงปลาย 2Q57 เป็นต้นไป เนื่องจากผลผลิตกุ้งที่เพิ่มขึ้นหลังจากเกษตรกรเริ่มกลับมาเลี้ยงกุ้ง CPF ขายลูกกุ้งได้มากขึ้น

          ธุรกิจต่างประเทศขาดทุนลดลง : ในปี 2556 ธุรกิจในต่างประเทศ (ไม่รวม CPP และ CPV) ขาดทุนราว 2.7 พันล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มาจากตุรกี รัสเซีย อินเดีย และมาเลเซีย เนื่องจากราคาสัตว์บกตกต่ำ และ โรค EMS แต่ปีนี้คาดผลขาดทุนลดลงจากการที่ราคาเนื้อสัตว์เริ่มฟื้นตัว และในรัสเซียมีการลงทุนในธุรกิจฟาร์มหมู นอกจากนั้น คาด CPP ประเทศจีนยังเติบโตต่อเนื่อง ขณะที่ CPV เวียดนามฟื้นตัวเป็นกำไรได้ตั้งแต่ 2H56 จากการที่ธุรกิจสัตว์บกฟื้นตัวดีขึ้น

          เริ่มส่งออกไก่สดไปยังญี่ปุ่น : การส่งออกจะเพิ่มมากขึ้นใน 2Q57-3Q57 ซึ่งเป็นไฮซีซันของการส่งออก โดยคาดว่าปีนี้ CPF จะส่งออกไก่สดไปญี่ปุ่นราว 2 หมื่นตันในปีนี้ ซึ่งคิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 20% ของคาดการณ์ปริมาณส่งออกของไทย 1 แสนตัน ซึ่งคาดจะเพิ่มเป็น 2 แสนตันในปีหน้า เราเชื่อว่าการที่ญี่ปุ่น และประเทศอื่น เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ กลับมานำเข้าไก่สดจากไทย ยังช่วยเพิ่มเสถียรภาพให้แก่ราคาไก่ในประเทศด้วย ความเสี่ยงจาก Oversupply อยู่ในวงจำกัด เนื่องจากประสบการณ์ปี 2555 ซึ่งผู้ส่งออกไทยเพิ่มกำลังการผลิตจำนวนมากจากการที่สหภาพยุโรปกลับมานำเข้าไก่สดจากไทย

          ผลกระทบจำกัดจากการตัด GSP : การตัด GSP ของ EU สำหรับกุ้งแปรรูปไทย มีผลบังคับใช้ในปีนี้ และสำหรับกุ้งแช่แข็ง มีผลในปี 2558 ทำให้ผู้นำเข้ากุ้งแปรรูปจากไทยต้องเสียภาษีเพิ่มจาก 7% เป็น 20% ภาษีกุ้งแช่แข็งเพิ่มจาก 4.2% เป็น 12% ทำให้ผู้นำเข้ากุ้งจากไทยมีต้นทุนสูงขึ้น คาดส่งผลให้ไทยเสียเปรียบในการแข่งขันด้านราคากับประเทศผู้ส่งออกกุ้งอื่นๆ (ที่ยังได้รับ GSP หรือสิทธิพิเศษทางการค้าอื่นๆ) อย่างไรก็ดี เราคาดผลกระทบต่อ CPF อยู่ในวงจำกัด เนื่องจากการส่งออกกุ้งไป EU ของ CPF มีสัดส่วนไม่ถึง 1% ของยอดขายรวม

          ความเสี่ยง : โรคระบาด/ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้นเร็วกว่าราคาขายเนื้อสัตว์/Oversupply

          สุทธาทิพย์ พีรทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง
          http://www.maybank-ke.co.th
          (02) 658-6300
กำลังโหลดความคิดเห็น