“ซีพีเอฟ” ปลื้มกำไรไตรมาส 3 โกยได้กว่า 2.64 พันล้าน เพิ่มขึ้น 10% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนผลงาน 9 เดือน โกยกำไร 5.3 พันล้าน แย่กว่าที่คาด ผลจากโรคอีเอ็มเอสในกุ้ง
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ (CPF) เปิดเผยว่า ไตรมาส 3 ปีนี้บริษัทมียอดขายรวม 1.05 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% และมีกำไรสุทธิ 2.64 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ในงวด 9 เดือนของปี บริษัทมียอดขายรวม 2.85 แสนล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 5.3 พันล้านบาท
“ผลการดำเนินงานช่วง 9 เดือนของบริษัทไม่เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ สาเหตุหลักมาจากผลกระทบของโรคการตายเร็ว หรืออีเอ็มเอส ( EMS) ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งในประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม และธุรกิจกุ้งของบริษัทมากกว่าที่คาดไว้”
นอกจากนี้ ยังมีราคากุ้งหน้าฟาร์มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของธุรกิจ จากภาวะผลผลิตกุ้งเลี้ยงที่ลดลงค่อนข้างมาก โดยประเมินว่าทั้งปีผลผลิตกุ้งน่าจะลดลงจากปีก่อนประมาณ 50% ทำให้ต้นทุนในการผลิตกุ้งของโรงงานแปรรูปสูงขึ้น
ทีมงานวิจัยของบริษัทได้ทุ่มเทในการศึกษาค้นคว้าวิธีการเลี้ยง ช่วยให้การเลี้ยงมีอัตราความสำเร็จให้กลับสู่ภาวะปกติ โดยอยู่ระหว่างการเผยแพร่ และให้ความรู้แก่เกษตรกรที่เริ่มกลับเข้ามาเลี้ยงบ้างเป็นลำดับ คาดว่าจะเห็นผลผลิตกุ้งกลับมาได้เพิ่มมากขึ้นในช่วงไตรมาสแรกปี 2557 ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ ผลการดำเนินงานในธุรกิจกุ้งของบริษัทจะกลับสู่ภาวะที่ดีขึ้น
สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ดีขึ้นจากไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวของราคาไก่เนื้อ และสุกรภายในประเทศไทยที่ดีขึ้นเป็นลำดับ จากราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนผลิต ที่เป็นผลมาจากภาวะผลผลิตล้นตลาดตั้งแต่ปี 2555 ที่ผ่านมา คาดผลการดำเนินงานครึ่งปีหลังนี้ จะดีกว่าในครึ่งปีแรก และค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับในปี 2557
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง วิเคราะห์ว่า ซีพีเอฟ รายงานกำไรสุทธิดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ หากไม่รวมรายการพิเศษทางบัญชี และกำไรจากการขายหุ้นบริษัท ซีพีออลล์ ( CPALL) กำไรปกติของบริษัทจะพลิกจากขาดทุนมาเป็นกำไร 1.1 พันล้านบาท ลดลง 16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาหมู และไก่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาข้าวโพด และกากถั่วเหลืองซึ่งเป็นต้นทุนหลักของอาหารสัตว์ปรับตัวลดลง ธุรกิจกุ้งค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้น ธุรกิจในต่างประเทศโดยเฉพาะซีพีพีในจีนมีกำไรเติบโต 3% จากไตรมาสก่อน และ 10% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 419 ล้านบาท
แนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 4 คาดผลการดำเนินงานฟื้นตัว เพราะธุรกิจกุ้งฟื้นตัวขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ธุรกิจสัตว์บกคาดยังคงเติบโตในเกณฑ์ดี โดยราคาขายยังทรงตัวในระดับที่มีกำไรเมื่อเทียบกับต้นทุนอาหารสัตว์ที่ลดลง แม้กำไรสุทธิ 9 เดือนมีสัดส่วนเพียง 66% ของคาดการณ์ปีนี้ ยังคงประมาณการเดิม เพราะผลประกอบการครึ่งปีหลังมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก และคาดปี 2557 กำไรจะฟื้นตัวชัดเจนขึ้นจากฐานกำไรที่ตกต่ำในปีนี้ อัตรากำไรฟื้นตัวจากธุรกิจกุ้งฟื้นตัว และธุรกิจในต่างประเทศคาดว่าจะเติบโตดีขึ้น
บล.กรุงศรี วิเคราะห์ว่า หากไม่รวมกำไรจากการขายเงินลงทุนของบริษัท ซีพีออลล์ 1.3 พันล้านบาท และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 119 ล้านบาท ซีพีเอฟจะมีกำไรจากการดำเนินงาน 1.44 พันล้านบาท มีกำไรเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส จากยอดขายเพิ่มขึ้น 1.05 แสนล้านบาท และอัตรากำไรขั้นต้นฟื้นตัวมาที่ 11.3% ดีขึ้นจาก 8.6% ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ระดับ 11.6%
โดยภาพรวม 9 เดือนที่มีกำไรสุทธิ 5.31 พันล้านบาท ลดลง 71% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลจากการขายเงินลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของซีพีออลล์ 6.46 พันล้านบาท ขณะที่ผลประกอบการก่อนรายการพิเศษคงขาดทุน 1 พันล้านบาท เทียบกับมีกำไรก่อนรายการพิเศษ 6.4 พันล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน และหากไม่รวมการส่งผ่านกำไรของบริษัทร่วม 3.8 พันล้านบาท ธุรกิจหลักจะขาดทุนประมาณ 4.9 พันล้านบาท ถือว่าแย่ที่สุดเป็นประวัติการณ์
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ (CPF) เปิดเผยว่า ไตรมาส 3 ปีนี้บริษัทมียอดขายรวม 1.05 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% และมีกำไรสุทธิ 2.64 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ในงวด 9 เดือนของปี บริษัทมียอดขายรวม 2.85 แสนล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 5.3 พันล้านบาท
“ผลการดำเนินงานช่วง 9 เดือนของบริษัทไม่เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ สาเหตุหลักมาจากผลกระทบของโรคการตายเร็ว หรืออีเอ็มเอส ( EMS) ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งในประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม และธุรกิจกุ้งของบริษัทมากกว่าที่คาดไว้”
นอกจากนี้ ยังมีราคากุ้งหน้าฟาร์มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของธุรกิจ จากภาวะผลผลิตกุ้งเลี้ยงที่ลดลงค่อนข้างมาก โดยประเมินว่าทั้งปีผลผลิตกุ้งน่าจะลดลงจากปีก่อนประมาณ 50% ทำให้ต้นทุนในการผลิตกุ้งของโรงงานแปรรูปสูงขึ้น
ทีมงานวิจัยของบริษัทได้ทุ่มเทในการศึกษาค้นคว้าวิธีการเลี้ยง ช่วยให้การเลี้ยงมีอัตราความสำเร็จให้กลับสู่ภาวะปกติ โดยอยู่ระหว่างการเผยแพร่ และให้ความรู้แก่เกษตรกรที่เริ่มกลับเข้ามาเลี้ยงบ้างเป็นลำดับ คาดว่าจะเห็นผลผลิตกุ้งกลับมาได้เพิ่มมากขึ้นในช่วงไตรมาสแรกปี 2557 ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ ผลการดำเนินงานในธุรกิจกุ้งของบริษัทจะกลับสู่ภาวะที่ดีขึ้น
สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ดีขึ้นจากไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวของราคาไก่เนื้อ และสุกรภายในประเทศไทยที่ดีขึ้นเป็นลำดับ จากราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนผลิต ที่เป็นผลมาจากภาวะผลผลิตล้นตลาดตั้งแต่ปี 2555 ที่ผ่านมา คาดผลการดำเนินงานครึ่งปีหลังนี้ จะดีกว่าในครึ่งปีแรก และค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับในปี 2557
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง วิเคราะห์ว่า ซีพีเอฟ รายงานกำไรสุทธิดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ หากไม่รวมรายการพิเศษทางบัญชี และกำไรจากการขายหุ้นบริษัท ซีพีออลล์ ( CPALL) กำไรปกติของบริษัทจะพลิกจากขาดทุนมาเป็นกำไร 1.1 พันล้านบาท ลดลง 16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาหมู และไก่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาข้าวโพด และกากถั่วเหลืองซึ่งเป็นต้นทุนหลักของอาหารสัตว์ปรับตัวลดลง ธุรกิจกุ้งค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้น ธุรกิจในต่างประเทศโดยเฉพาะซีพีพีในจีนมีกำไรเติบโต 3% จากไตรมาสก่อน และ 10% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 419 ล้านบาท
แนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 4 คาดผลการดำเนินงานฟื้นตัว เพราะธุรกิจกุ้งฟื้นตัวขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ธุรกิจสัตว์บกคาดยังคงเติบโตในเกณฑ์ดี โดยราคาขายยังทรงตัวในระดับที่มีกำไรเมื่อเทียบกับต้นทุนอาหารสัตว์ที่ลดลง แม้กำไรสุทธิ 9 เดือนมีสัดส่วนเพียง 66% ของคาดการณ์ปีนี้ ยังคงประมาณการเดิม เพราะผลประกอบการครึ่งปีหลังมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก และคาดปี 2557 กำไรจะฟื้นตัวชัดเจนขึ้นจากฐานกำไรที่ตกต่ำในปีนี้ อัตรากำไรฟื้นตัวจากธุรกิจกุ้งฟื้นตัว และธุรกิจในต่างประเทศคาดว่าจะเติบโตดีขึ้น
บล.กรุงศรี วิเคราะห์ว่า หากไม่รวมกำไรจากการขายเงินลงทุนของบริษัท ซีพีออลล์ 1.3 พันล้านบาท และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 119 ล้านบาท ซีพีเอฟจะมีกำไรจากการดำเนินงาน 1.44 พันล้านบาท มีกำไรเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส จากยอดขายเพิ่มขึ้น 1.05 แสนล้านบาท และอัตรากำไรขั้นต้นฟื้นตัวมาที่ 11.3% ดีขึ้นจาก 8.6% ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ระดับ 11.6%
โดยภาพรวม 9 เดือนที่มีกำไรสุทธิ 5.31 พันล้านบาท ลดลง 71% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลจากการขายเงินลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของซีพีออลล์ 6.46 พันล้านบาท ขณะที่ผลประกอบการก่อนรายการพิเศษคงขาดทุน 1 พันล้านบาท เทียบกับมีกำไรก่อนรายการพิเศษ 6.4 พันล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน และหากไม่รวมการส่งผ่านกำไรของบริษัทร่วม 3.8 พันล้านบาท ธุรกิจหลักจะขาดทุนประมาณ 4.9 พันล้านบาท ถือว่าแย่ที่สุดเป็นประวัติการณ์