ซีอีโอ SPCG ขึ้นเวทีฟอร์บ ร่วมประชุมนักธุรกิจระดับโลก ประกาศไทยก้าวเป็นผู้นำกลุ่มอาเซียนที่พัฒนาพลังงานหมุนเวียนมาใช้จนประสบความสำเร็จ สร้างความแข็งแกร่งให้ไทยมีความมั่นคงด้านพลังงาน
เมื่อวันที่ 4 ก.ย. นิตยสารฟอร์บ ได้เชิญผู้บริหารธุรกิจที่ประสบความสำเร็จของแต่ละประเทศจำนวน 420 คน จากหลายธุรกิจ ไปแสดงวิสัยทัศน์ในเวทีซีอีโอ ฟอรัม ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยคนไทยที่ได้รับเชิญมี 3 คน คือ น.ส.วันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) นายธนินทร์ เจียรวนนท์ ประธานเครือเจริญโภคภัณฑ์ และนายฐาปณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) อย่างไรก็ตาม ในปี 2014 ทางฟอร์บ จะมาจัดประชุมซีอีโอ ฟอรัม ที่ประเทศไทย
ทั้งนี้ น.ส.วันดี ได้รับเชิญให้ไปบรรยายในหัวข้อ มุมมองของพลังงานแสงอาทิตย์ในอนาคต และทิศทางของการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการพัฒนาประเทศ โดยมองว่า ในปี 2020 หรืออีก 7 ปีข้างหน้า ประชากรของโลกจาก 7 พันล้าน จะเพิ่มเป็น 9 พันล้านคน ความต้องการพลังงานจะเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า พลังงานที่เหลือจะไม่เพียงพอ จึงต้องนำพลังงานทดแทนมาใช้ ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องใช้พลังงานทดแทนอย่างแสงอาทิตย์ เนื่องจากก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันเหลือน้อยลง แต่ความต้องการพลังงานเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากจำนวนประชาชนกรเพิ่มขึ้น พลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นพลังงานทางเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจากไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
น.ส.วันดี กล่าวว่า รัฐบาลไทยได้ส่งเสริม และสนับสนุนให้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศ ทั้งโซลาร์ฟาร์ม และโซลาร์รูฟ เช่นเดียวกับทุกประเทศทั่วโลกรัฐบาลก็สนับสนุน เนื่องจากการติดตั้งเครื่องมือลงทุนเพียงครั้งเดียวก็สามารถขับเคลื่อนธุรกิจไปได้ สำหรับประเทศไทยขณะนี้ถือว่าเป็นผู้นำในกลุ่มประเทศอาเซียนด้านการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ แม้ในอนาคตพลังงานจะขาดแคลน แต่ด้วยศักยภาพของพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีอยู่จำนวนมหาศาล จะช่วยยืดให้ไทยมีความมั่นคงทางพลังงานต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ประกาศนโยบายรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาหรือโซลาร์รูฟ ทำให้ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นผู้นำพลังงานหมุนเวียนด้านแสงอาทิตย์ในภูมิภาคนี้ จากปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และนโยบายสนับสนุนองค์ภาครัฐ จะทำให้มีพลังงานแสงอาทิตย์มากถึง 4000 เมกะวัตต์ ภายใน 3 ปีข้างหน้า
สำหรับประเทศไทยปัจจุบัน มีการใช้พลังงานเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 0.5 กิโลวัตต์ เทียบกับประเทศพม่าที่มีอัตรา 0.05 กิโลวัตต์ต่อประชากร 1 คน ดังนั้น จึงเป็นโอกาสดีที่ภาคเอกชนจะเข้าไปลงทุนในประเทศที่ขาดพลังงานด้วย
เมื่อวันที่ 4 ก.ย. นิตยสารฟอร์บ ได้เชิญผู้บริหารธุรกิจที่ประสบความสำเร็จของแต่ละประเทศจำนวน 420 คน จากหลายธุรกิจ ไปแสดงวิสัยทัศน์ในเวทีซีอีโอ ฟอรัม ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยคนไทยที่ได้รับเชิญมี 3 คน คือ น.ส.วันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) นายธนินทร์ เจียรวนนท์ ประธานเครือเจริญโภคภัณฑ์ และนายฐาปณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) อย่างไรก็ตาม ในปี 2014 ทางฟอร์บ จะมาจัดประชุมซีอีโอ ฟอรัม ที่ประเทศไทย
ทั้งนี้ น.ส.วันดี ได้รับเชิญให้ไปบรรยายในหัวข้อ มุมมองของพลังงานแสงอาทิตย์ในอนาคต และทิศทางของการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการพัฒนาประเทศ โดยมองว่า ในปี 2020 หรืออีก 7 ปีข้างหน้า ประชากรของโลกจาก 7 พันล้าน จะเพิ่มเป็น 9 พันล้านคน ความต้องการพลังงานจะเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า พลังงานที่เหลือจะไม่เพียงพอ จึงต้องนำพลังงานทดแทนมาใช้ ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องใช้พลังงานทดแทนอย่างแสงอาทิตย์ เนื่องจากก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันเหลือน้อยลง แต่ความต้องการพลังงานเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากจำนวนประชาชนกรเพิ่มขึ้น พลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นพลังงานทางเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจากไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
น.ส.วันดี กล่าวว่า รัฐบาลไทยได้ส่งเสริม และสนับสนุนให้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศ ทั้งโซลาร์ฟาร์ม และโซลาร์รูฟ เช่นเดียวกับทุกประเทศทั่วโลกรัฐบาลก็สนับสนุน เนื่องจากการติดตั้งเครื่องมือลงทุนเพียงครั้งเดียวก็สามารถขับเคลื่อนธุรกิจไปได้ สำหรับประเทศไทยขณะนี้ถือว่าเป็นผู้นำในกลุ่มประเทศอาเซียนด้านการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ แม้ในอนาคตพลังงานจะขาดแคลน แต่ด้วยศักยภาพของพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีอยู่จำนวนมหาศาล จะช่วยยืดให้ไทยมีความมั่นคงทางพลังงานต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ประกาศนโยบายรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาหรือโซลาร์รูฟ ทำให้ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นผู้นำพลังงานหมุนเวียนด้านแสงอาทิตย์ในภูมิภาคนี้ จากปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และนโยบายสนับสนุนองค์ภาครัฐ จะทำให้มีพลังงานแสงอาทิตย์มากถึง 4000 เมกะวัตต์ ภายใน 3 ปีข้างหน้า
สำหรับประเทศไทยปัจจุบัน มีการใช้พลังงานเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 0.5 กิโลวัตต์ เทียบกับประเทศพม่าที่มีอัตรา 0.05 กิโลวัตต์ต่อประชากร 1 คน ดังนั้น จึงเป็นโอกาสดีที่ภาคเอกชนจะเข้าไปลงทุนในประเทศที่ขาดพลังงานด้วย