คลังเผยเงินกู้จัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทกู้ต็มวงเงินแล้ว ออมสิน-แบงก์กรุงเทพ ควงแขนผู้นำปล่อยกู้ พร้อมเซ็นสัญญาภายในสิ้นเดือนนี้ หนุนรัฐบาลลดวงเงินขาดทุนรับจำนำข้าวต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี หวังเข้าสู่งบประมาณสมดุลในปี 60 หลังพบงบชำระหนี้พุ่งกระฉูด ในขณะที่เงินกู้จำนำข้าว 4.1 แสนล้านบาทยังไม่มีวี่แววจ่ายคืน
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า โครงการประมูลวงเงินกู้สำหรับลงทุนบริหารจัดการน้ำมีสถาบันการเงินเข้ามาประมูลครบแล้วเต็ม 3.5 แสนล้านบาท โดยสัปดาห์หน้าจะเชิญสถาบันการเงินมาร่วมลงนามในสัญญาปล่อยกู้ร่วมที่เปิดวงเงินไว้ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทยอยเบิกจ่ายได้ภายในปี 2559 ซึ่งต้นทุนในการปล่อยกู้แม้รัฐบาลกู้จะมีความเสี่ยงเป็นศูนย์แต่สถาบันการเงินจะมีต้นทุนสูงในการเตรียมพร้อมวงเงินให้รัฐบาลจึงมีดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 3% กว่าซึ่งแต่ละสัญญาการกู้จะไม่เท่ากัน
ทั้งนี้ พบว่าธนาคารออมสิน เป็นผู้ปล่อยกู้สูงสุดประมาณ 1.5 แสนล้านบาท รองลงมาคือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL 1 แสนล้านบาท และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ไม่ถึงแสนล้านบาท นอกนั้นกระจายไปยังธนาคารพาณิชย์อื่นๆ โดยที่ผ่านมา มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 2 หมื่นล้านาท โดยการเบิกจ่ายจะพิจารณาตามบิล หรือใบเสร็จรับเงินเป็นหลัก และเชื่อว่าการเบิกจ่ายจริงอาจจะไม่เต็มวงเงินกู้ที่เปิดช่องไว้
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า การดูแลผลขาดทุนในการดำเนินโครงการจำนำข้าวที่ระดับไม่กินแสนล้านบาทต่อปีนั้นก็เพื่อให้อยู่ในระดับที่สามารถดูแลให้การจัดทำงบประมาณเข้าสู่ภาวะสมดุลได้ในปี 2560 และการเร่งลดราคาจำนำและจำกัดวงเงินไม่เกิน 5 แสนบาทต่อครัวเรือนลงทันทีถือเป็นสิ่งที่เหมาะสม เพื่อให้การขาดทุนอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ โดยบางปีอาจขึ้นไปเกินแสนล้าน แต่ปีถัดมาก็ต้องดูแลให้ลดลงไป 7-8 หมื่นล้านบาทเพื่อให้ถัวเฉลี่ยแล้วไม่เกินแสนล้านต่อปีในระยะเวลา 3 ปีนี้
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า การขาดดุลจากโครงการจำนำข้าวปีละแสนล้านบาทนั้นการตั้งงบประมาณชดเชยให้หน่วยงานทีเกี่ยวข้อง ทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อการเกษตร (อ.ต.ก.) นั้นน่าจะใช้เวลาหลายปี ไม่สามารถตั้งได้ปีต่อปีเพราะข้อจำกัดด้านงบประมาณ เพราะนอกจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการแล้ว ยังมีส่วนของงบประมาณเพื่อการชำระหนี้เงินกู้อีกส่วนหนึ่งซึ่งปี 2557 ล่าสุดก็ขึ้นมาอยู่ที่ 1.6 แสนล้านบาทแล้ว เฉพาะงบที่จ่ายดอกเบี้ยก็อยู่ที่แสนล้านบาทแล้ว มีส่วนที่จ่ายคืนเงินต้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แม้ยังไม่เกิน 15% ของวงเงินงบรายจ่ายประจำปีแต่เชื่อว่าสำนักงบประมาณจะควบคุมงบส่วนนี้ไม่ให้เพิ่มขึ้น
“การจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินกู้แต่ละปีเป็นวงเงินที่สูงมาก รวมถึงเงินกู้เพื่อจำนำข้าวด้วย แม้ว่า ธ.ก.ส.จะจ่ายไปก่อนเพราะเป็นผู้กู้โดยคลังค้ำประกัน แต่สุดท้ายรัฐบาลก็ต้องตั้งงบจ่ายคืนอยู่ดีโดยเงินกู้เพ่อการจำนำข้าว 4.1 แสนล้านบาทนั้นเหลืออีก 4.2 หมื่นล้านบาทที่ยังไม่ได้กู้ รอให้มีมติรองรับให้ชัดเจนก่อนจึงจะเข้าไปค้ำประกันให้” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ ที่ผ่านมากระทรวงการคลังยังไมได้รับการชำระเงินกู้เข้ามาแต่อย่างใด เงินที่ได้จากการขายข้าวจากกระทรวงพาณิชย์ 1.2 แสนล้านบาทนั้น เป็นการนนำไปชำระให้ ธ.ก.ส.ก่อน 9 หมื่นบาท เพื่อให้สามารถนำวงเงินดังกล่าวออกมาใช้หมุนเวียนได้ในขณะนี้ ส่วนเงินกู้นั้นหากยังไม่มีการชำระหนี้เดิมเข้ามาก็ไม่สามารถกู้ให้ใหม่ได้
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า โครงการประมูลวงเงินกู้สำหรับลงทุนบริหารจัดการน้ำมีสถาบันการเงินเข้ามาประมูลครบแล้วเต็ม 3.5 แสนล้านบาท โดยสัปดาห์หน้าจะเชิญสถาบันการเงินมาร่วมลงนามในสัญญาปล่อยกู้ร่วมที่เปิดวงเงินไว้ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทยอยเบิกจ่ายได้ภายในปี 2559 ซึ่งต้นทุนในการปล่อยกู้แม้รัฐบาลกู้จะมีความเสี่ยงเป็นศูนย์แต่สถาบันการเงินจะมีต้นทุนสูงในการเตรียมพร้อมวงเงินให้รัฐบาลจึงมีดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 3% กว่าซึ่งแต่ละสัญญาการกู้จะไม่เท่ากัน
ทั้งนี้ พบว่าธนาคารออมสิน เป็นผู้ปล่อยกู้สูงสุดประมาณ 1.5 แสนล้านบาท รองลงมาคือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL 1 แสนล้านบาท และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ไม่ถึงแสนล้านบาท นอกนั้นกระจายไปยังธนาคารพาณิชย์อื่นๆ โดยที่ผ่านมา มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 2 หมื่นล้านาท โดยการเบิกจ่ายจะพิจารณาตามบิล หรือใบเสร็จรับเงินเป็นหลัก และเชื่อว่าการเบิกจ่ายจริงอาจจะไม่เต็มวงเงินกู้ที่เปิดช่องไว้
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า การดูแลผลขาดทุนในการดำเนินโครงการจำนำข้าวที่ระดับไม่กินแสนล้านบาทต่อปีนั้นก็เพื่อให้อยู่ในระดับที่สามารถดูแลให้การจัดทำงบประมาณเข้าสู่ภาวะสมดุลได้ในปี 2560 และการเร่งลดราคาจำนำและจำกัดวงเงินไม่เกิน 5 แสนบาทต่อครัวเรือนลงทันทีถือเป็นสิ่งที่เหมาะสม เพื่อให้การขาดทุนอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ โดยบางปีอาจขึ้นไปเกินแสนล้าน แต่ปีถัดมาก็ต้องดูแลให้ลดลงไป 7-8 หมื่นล้านบาทเพื่อให้ถัวเฉลี่ยแล้วไม่เกินแสนล้านต่อปีในระยะเวลา 3 ปีนี้
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า การขาดดุลจากโครงการจำนำข้าวปีละแสนล้านบาทนั้นการตั้งงบประมาณชดเชยให้หน่วยงานทีเกี่ยวข้อง ทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อการเกษตร (อ.ต.ก.) นั้นน่าจะใช้เวลาหลายปี ไม่สามารถตั้งได้ปีต่อปีเพราะข้อจำกัดด้านงบประมาณ เพราะนอกจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการแล้ว ยังมีส่วนของงบประมาณเพื่อการชำระหนี้เงินกู้อีกส่วนหนึ่งซึ่งปี 2557 ล่าสุดก็ขึ้นมาอยู่ที่ 1.6 แสนล้านบาทแล้ว เฉพาะงบที่จ่ายดอกเบี้ยก็อยู่ที่แสนล้านบาทแล้ว มีส่วนที่จ่ายคืนเงินต้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แม้ยังไม่เกิน 15% ของวงเงินงบรายจ่ายประจำปีแต่เชื่อว่าสำนักงบประมาณจะควบคุมงบส่วนนี้ไม่ให้เพิ่มขึ้น
“การจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินกู้แต่ละปีเป็นวงเงินที่สูงมาก รวมถึงเงินกู้เพื่อจำนำข้าวด้วย แม้ว่า ธ.ก.ส.จะจ่ายไปก่อนเพราะเป็นผู้กู้โดยคลังค้ำประกัน แต่สุดท้ายรัฐบาลก็ต้องตั้งงบจ่ายคืนอยู่ดีโดยเงินกู้เพ่อการจำนำข้าว 4.1 แสนล้านบาทนั้นเหลืออีก 4.2 หมื่นล้านบาทที่ยังไม่ได้กู้ รอให้มีมติรองรับให้ชัดเจนก่อนจึงจะเข้าไปค้ำประกันให้” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ ที่ผ่านมากระทรวงการคลังยังไมได้รับการชำระเงินกู้เข้ามาแต่อย่างใด เงินที่ได้จากการขายข้าวจากกระทรวงพาณิชย์ 1.2 แสนล้านบาทนั้น เป็นการนนำไปชำระให้ ธ.ก.ส.ก่อน 9 หมื่นบาท เพื่อให้สามารถนำวงเงินดังกล่าวออกมาใช้หมุนเวียนได้ในขณะนี้ ส่วนเงินกู้นั้นหากยังไม่มีการชำระหนี้เดิมเข้ามาก็ไม่สามารถกู้ให้ใหม่ได้