ฟิทช์ เรทติ้งส์ ให้อันดับเครดิตหุ้นกู้แบงก์กรุงศรีฯ ที่ระดับ “AA-(tha)” ในวงเงินไม่เกิน 8 พันล้าน อายุ 2 และ 3 ปี ระบุเพื่อนำไปใช้ดำเนินธุรกิจ จับตาสภาพคล่องหากสินเชื่อโตก้าวกระโดด
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศให้อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ที่ระดับ “AA-(tha)” แก่หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY (ธนาคารมีอันดับเครดิตภายในประเทศที่ “AA-(tha)”/แนวโน้มอันดับมีเสถียรภาพ) มูลค่าไม่เกิน 8 พันล้านบาท ทั้งนี้ หุ้นกู้ดังกล่าวจะแบ่งเสนอขายเป็น 2 ชุด โดยมีอายุ 2 และ 3 ปี และ BAY มีสิทธิในการที่จะเสนอขายหุ้นกู้เพิ่มเติมได้อีก 4 พันล้านบาท วัตถุประสงค์หลักในการออกหุ้นกู้คือ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินกิจการของธนาคาร
อันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน อยู่ที่ระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ BAY ที่ “AA-(tha)” เนื่องจากหุ้นกู้ดังกล่าวเป็นภาระผูกพันที่ไม่ด้อยสิทธิ และไม่มีหลักประกันของธนาคาร
ขณะที่อันดับเครดิตของ BAY พิจารณาจากความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร ผลการดำเนินงาน และคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารปรับตัวแข็งแกร่งเพิ่มขึ้น ในขณะที่เงินกองทุนของธนาคารยังคงอยู่ในระดับที่พอเพียง อันดับเครดิตยังพิจารณาถึงการที่ BAY มีการพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากตลาดทุน (wholesale funding) และอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์อื่นในประเทศ และธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่มีอันดับเครดิตเดียวกัน แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพสะท้อนถึงความคาดหมายของฟิทช์ที่มองว่า ธนาคารน่าจะสามารถรักษาระดับความแข็งแกร่งโดยรวมต่อไปได้
นอกจากนี้ การปรับเพิ่มอันดับเครดิตของ BAY มีความเป็นไปได้ค่อนข้างจำกัดในระยะปานกลาง เนื่องจาก BAY ยังคงมีเครือข่ายสินเชื่อ และเงินฝากที่ไม่ครอบคลุมมากนักและมีการกระจุกตัวในสินเชื่ออุปโภคบริโภค เมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ในประเทศ การปรับตัวดีขึ้นของเครือข่ายเงินฝากวัดจากสัดส่วนของเงินฝากรายย่อยต่อเงินกู้ยืมรวมที่เพิ่มขึ้น อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (LDR) ที่ลดลง ในระดับใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในประเทศไทย รวมทั้งระดับสินทรัพย์สภาพคล่องที่เพิ่มสูงขึ้น น่าจะช่วยให้ธนาคารสามารถดำรงอันดับเครดิตปัจจุบันได้อย่างมั่นคง รวมถึงการที่ธนาคารสามารถรักษาคุณภาพสินทรัพย์ให้อยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง และมีระดับเงินกองทุนที่พอเพียง
อย่างไรก็ดี อัตราส่วนเงินกองทุน หรือคุณภาพสินทรัพย์ที่อ่อนแอลงอย่างมีสาระสำคัญ หรือหากความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเพิ่มขึ้นอันเนื่องจากการเติบโตของสินทรัพย์อย่างก้าวกระโดด หรือการที่ธนาคารต้องพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากตลาดทุนเพิ่มมากขึ้นอาจส่งผลลบต่ออันดับเครดิต
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศให้อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ที่ระดับ “AA-(tha)” แก่หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY (ธนาคารมีอันดับเครดิตภายในประเทศที่ “AA-(tha)”/แนวโน้มอันดับมีเสถียรภาพ) มูลค่าไม่เกิน 8 พันล้านบาท ทั้งนี้ หุ้นกู้ดังกล่าวจะแบ่งเสนอขายเป็น 2 ชุด โดยมีอายุ 2 และ 3 ปี และ BAY มีสิทธิในการที่จะเสนอขายหุ้นกู้เพิ่มเติมได้อีก 4 พันล้านบาท วัตถุประสงค์หลักในการออกหุ้นกู้คือ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินกิจการของธนาคาร
อันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน อยู่ที่ระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ BAY ที่ “AA-(tha)” เนื่องจากหุ้นกู้ดังกล่าวเป็นภาระผูกพันที่ไม่ด้อยสิทธิ และไม่มีหลักประกันของธนาคาร
ขณะที่อันดับเครดิตของ BAY พิจารณาจากความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร ผลการดำเนินงาน และคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารปรับตัวแข็งแกร่งเพิ่มขึ้น ในขณะที่เงินกองทุนของธนาคารยังคงอยู่ในระดับที่พอเพียง อันดับเครดิตยังพิจารณาถึงการที่ BAY มีการพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากตลาดทุน (wholesale funding) และอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์อื่นในประเทศ และธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่มีอันดับเครดิตเดียวกัน แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพสะท้อนถึงความคาดหมายของฟิทช์ที่มองว่า ธนาคารน่าจะสามารถรักษาระดับความแข็งแกร่งโดยรวมต่อไปได้
นอกจากนี้ การปรับเพิ่มอันดับเครดิตของ BAY มีความเป็นไปได้ค่อนข้างจำกัดในระยะปานกลาง เนื่องจาก BAY ยังคงมีเครือข่ายสินเชื่อ และเงินฝากที่ไม่ครอบคลุมมากนักและมีการกระจุกตัวในสินเชื่ออุปโภคบริโภค เมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ในประเทศ การปรับตัวดีขึ้นของเครือข่ายเงินฝากวัดจากสัดส่วนของเงินฝากรายย่อยต่อเงินกู้ยืมรวมที่เพิ่มขึ้น อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (LDR) ที่ลดลง ในระดับใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในประเทศไทย รวมทั้งระดับสินทรัพย์สภาพคล่องที่เพิ่มสูงขึ้น น่าจะช่วยให้ธนาคารสามารถดำรงอันดับเครดิตปัจจุบันได้อย่างมั่นคง รวมถึงการที่ธนาคารสามารถรักษาคุณภาพสินทรัพย์ให้อยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง และมีระดับเงินกองทุนที่พอเพียง
อย่างไรก็ดี อัตราส่วนเงินกองทุน หรือคุณภาพสินทรัพย์ที่อ่อนแอลงอย่างมีสาระสำคัญ หรือหากความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเพิ่มขึ้นอันเนื่องจากการเติบโตของสินทรัพย์อย่างก้าวกระโดด หรือการที่ธนาคารต้องพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากตลาดทุนเพิ่มมากขึ้นอาจส่งผลลบต่ออันดับเครดิต