ฟิทช๋คงอันดับเครดิต 3 แบงก์ใหญ่ของไทย “กรุงเทพ-กสิกรไทย-ไทยพาณิชย์” ที่ระดับ BBB+ ระบุสะท้อนเสถานภาพทางการเงินที่แข็งแกร่งติงไทยพาณิชย์หากปล่อยกู้บิ๊กโปรเจกต์หนักมือ เสี่ยงกองทุนวูบ!
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 3 แห่งของประเทศไทย ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB และ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBank โดยอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign-Currency IDR) ของธนาคารทั้ง 3 แห่ง อยู่ที่ระดับ “BBB+” อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating, VR)อยู่ที่ระดับ “bbb+” และอันดับเครดิตในประเทศที่ “AA(tha)” แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
ทั้งนี้ อันดับเครดิตของธนาคารทั้ง3 แห่งสะท้อนการมีเครือข่ายในประเทศที่แข็งแกร่ง คุณภาพสินทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้น โครงสร้างเงินกู้ยืมและสภาพคล่องที่แข็งแกร่ง ฐานะเงินกองทุนที่เหมาะสม และความสามารถในการทำกำไรที่ดี
โดย BBL โดดเด่นในด้านการดำรงฐานะเงินกองทุน อัตราส่วนสำรองหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และสภาพคล่องรวมถึงโครงสร้างเงินกู้ ที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง อัตราส่วนการทำกำไรของ BBL ค่อนข้างต่ำกว่า SCB และ KBANK
ขณะที่ KBank มีการปรับตัวดีขึ้นในด้านฐานะเงินกองทุน จากเดิมที่อยู่ในระดับต่ำกว่าธนาคารอีก 2 แห่ง โดยฐานะเงินกองทุนเพิ่มขึ้นจากกำไรสะสม และการที่ธนาคารมีการเติบโตสินเชื่อไม่สูงมากนัก แต่ธนาคารมีการกระจุกตัวของสินเชื่อน้อยกว่าธนาคารอีกสอง แห่ง
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบในกลุ่มธนาคารใหญ่ทั้ง 3 แห่ง ฟิทช์เห็นว่า SCB มีการทำธุรกิจที่ยอมรับความเสี่ยง (risk appetite) สูงที่สุด โดยพิจารณาจากการเติบโตสินเชื่อที่อยู่ในระดับสูงกว่าธนาคารอีก 2 แห่ง และสูงกว่าอุตสาหกรรม รวมถึงการมีสินเชื่อกับธุรกิจบางแห่งที่มีฐานะการเงินอ่อนแอ ทั้งนี้ หากธนาคารมีการปล่อยกู้วงเงินสูงกับธุรกรรมซื้อ หรือควบรวมกิจการขนาดใหญ่ อาจทำให้ความเสี่ยงด้านการกระจุกตัวของสินเชื่อเพิ่มขึ้น รวมถึงอาจมีแรงกดดันต่อเงินกองทุน และเพิ่มความผันผวนของคุณภาพสินทรัพย์ในช่วงเศรษฐกิจขาลง แต่ฐานะเงินกองทุนของ SCB ถือว่าเพียงพอในปัจจุบัน แม้ว่าจะลดลงจากการเติบโตของสินเชื่อในระดับสูง
ทั้งนี้ ฟิทช์คาดว่า อัตราการเติบโตของสินเชื่อจะลงมาอยู่ในระดับปานกลาง และไม่เป็นแรงกดดันต่อฐานะเงินกองทุน คุณภาพสินทรัพย์และสำรองหนี้สงสัยจะสูญมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในระดับเดียวกันกับธนาคารใหญ่ทั้ง 2 แห่ง ทั้งนี้ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ความสามารถในการทำกำไรของ SCB ถือว่ามีความโดดเด่นกว่าธนาคารใหญ่อื่น และน่าจะเป็นส่วนช่วยรองรับความเสี่ยงหากคุณภาพสินทรัพย์มีการถดถอยลงในระดับปานกลาง
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 3 แห่งของประเทศไทย ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB และ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBank โดยอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign-Currency IDR) ของธนาคารทั้ง 3 แห่ง อยู่ที่ระดับ “BBB+” อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating, VR)อยู่ที่ระดับ “bbb+” และอันดับเครดิตในประเทศที่ “AA(tha)” แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
ทั้งนี้ อันดับเครดิตของธนาคารทั้ง3 แห่งสะท้อนการมีเครือข่ายในประเทศที่แข็งแกร่ง คุณภาพสินทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้น โครงสร้างเงินกู้ยืมและสภาพคล่องที่แข็งแกร่ง ฐานะเงินกองทุนที่เหมาะสม และความสามารถในการทำกำไรที่ดี
โดย BBL โดดเด่นในด้านการดำรงฐานะเงินกองทุน อัตราส่วนสำรองหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และสภาพคล่องรวมถึงโครงสร้างเงินกู้ ที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง อัตราส่วนการทำกำไรของ BBL ค่อนข้างต่ำกว่า SCB และ KBANK
ขณะที่ KBank มีการปรับตัวดีขึ้นในด้านฐานะเงินกองทุน จากเดิมที่อยู่ในระดับต่ำกว่าธนาคารอีก 2 แห่ง โดยฐานะเงินกองทุนเพิ่มขึ้นจากกำไรสะสม และการที่ธนาคารมีการเติบโตสินเชื่อไม่สูงมากนัก แต่ธนาคารมีการกระจุกตัวของสินเชื่อน้อยกว่าธนาคารอีกสอง แห่ง
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบในกลุ่มธนาคารใหญ่ทั้ง 3 แห่ง ฟิทช์เห็นว่า SCB มีการทำธุรกิจที่ยอมรับความเสี่ยง (risk appetite) สูงที่สุด โดยพิจารณาจากการเติบโตสินเชื่อที่อยู่ในระดับสูงกว่าธนาคารอีก 2 แห่ง และสูงกว่าอุตสาหกรรม รวมถึงการมีสินเชื่อกับธุรกิจบางแห่งที่มีฐานะการเงินอ่อนแอ ทั้งนี้ หากธนาคารมีการปล่อยกู้วงเงินสูงกับธุรกรรมซื้อ หรือควบรวมกิจการขนาดใหญ่ อาจทำให้ความเสี่ยงด้านการกระจุกตัวของสินเชื่อเพิ่มขึ้น รวมถึงอาจมีแรงกดดันต่อเงินกองทุน และเพิ่มความผันผวนของคุณภาพสินทรัพย์ในช่วงเศรษฐกิจขาลง แต่ฐานะเงินกองทุนของ SCB ถือว่าเพียงพอในปัจจุบัน แม้ว่าจะลดลงจากการเติบโตของสินเชื่อในระดับสูง
ทั้งนี้ ฟิทช์คาดว่า อัตราการเติบโตของสินเชื่อจะลงมาอยู่ในระดับปานกลาง และไม่เป็นแรงกดดันต่อฐานะเงินกองทุน คุณภาพสินทรัพย์และสำรองหนี้สงสัยจะสูญมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในระดับเดียวกันกับธนาคารใหญ่ทั้ง 2 แห่ง ทั้งนี้ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ความสามารถในการทำกำไรของ SCB ถือว่ามีความโดดเด่นกว่าธนาคารใหญ่อื่น และน่าจะเป็นส่วนช่วยรองรับความเสี่ยงหากคุณภาพสินทรัพย์มีการถดถอยลงในระดับปานกลาง