ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่นฯ ไตรมาสแรกกำไรหดเหลือ 674 ล้านบาท ลดลงจากปี 2555 ที่ทำกำไรสุทธิ 1,467 ล้านบาท หรือลดลง 54% ขณะที่ยังรักษายอดขายรูปเงินเหรียญสหรัฐโตได้ ส่วนยอดขายรูปเงินบาทลดลง 3% เนื่องจากยังต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายเรื่องราคาวัตถุดิบปลาทูน่า และวัตถุดิบกุ้งที่สูงเป็นประวัติการณ์ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็ว
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TUF ชี้แจงถึงผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ประจำปี 2556 ว่า บริษัทมีรายได้จากการขายในรูปเงินเหรียญสหรัฐ 824 ล้านเหรียญสหรัฐ ยังคงสามารถรักษายอดขายได้เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ที่มีรายได้เท่ากับ 822 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีรายได้จากการขายในรูปเงินบาทเท่ากับ 24,441 ล้านบาท ลดลง 3% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2555 ที่มีรายได้ 25,304 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากค่าเงินบาทในไตรมาสนี้แข็งค่าขึ้น 3.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิในไตรมาสแรกนี้ 674 ล้านบาท ลดลงจากปี 2555 ที่ทำกำไรสุทธิ 1,467 ล้านบาท หรือลดลง 54%
สำหรับสัดส่วนรายได้ของบริษัทซึ่งแบ่งตามผลิตภัณฑ์หลัก 6 กลุ่มธุรกิจ ในไตรมาสแรกนี้ กลุ่มธุรกิจปลาทูน่า มีสัดส่วน 50% กลุ่มธุรกิจกุ้ง และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกุ้ง 21% กลุ่มธุรกิจปลาซาร์ดีน และปลาแมคเคอเรล 6% กลุ่มธุรกิจปลาแซลมอน 5% กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง 8% และกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มและผลิตภัณฑ์อื่นๆ 10% ขณะที่สัดส่วนรายได้ของบริษัทโดยแบ่งตามตลาดมีดังนี้ สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วน 39% สหภาพยุโรป 29% ขายในประเทศ 8% ญี่ปุ่น 10% และประเทศอื่นๆ 14%
จากภาพรวมผลการดำเนินงานไตรมาสแรก นายธีรพงศ์ อธิบายว่า “แม้ว่าในไตรมาสแรกนี้ บริษัทยังต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายที่ต่อเนื่องมาจากไตรมาส 4 ของปี 2555 แต่เมื่อพิจารณากำไรสุทธิจะพบว่า ยังเติบโตขึ้น 10% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิเท่ากับ 612 ล้านบาท ถือว่าทำได้ดีกว่าไตรมาสที่แล้ว โดยราคาวัตถุดิบในไตรมาสนี้ กุ้งยังมีราคาสูง และขาดแคลน เนื่องมาจากโรคระบาด EMS ขณะที่วัตถุดิบปลาทูน่า ความผัวผวนด้านราคายังคงมีต่อเนื่อง จากปีที่แล้วที่สูงถึงระดับ 2,350 เหรียญสหรัฐในเดือนกันยายน และลดลงอย่างรวดเร็วที่ระดับราคา 1,900 เหรียญสหรัฐต่อตันเมื่อช่วงปลายปี แต่ได้มีการปรับขึ้นอีกเมื่อต้นปี และกลับมาสูงอีกครั้งที่ระดับราคา 2,325 เหรียญสหรัฐในเดือนมีนาคม ซึ่งความผันผวนของราคาปลาทูน่า ทำให้ธุรกิจรับจ้างผลิตและส่งออกได้รับผลกระทบ ราคาที่ผันผวน ทำให้ลูกค้าไม่มั่นใจเกิดการชะลอคำสั่งซื้อ เนื่องจากไม่สามารถยอมรับราคาที่สูงขึ้น ทำให้มีผลต่ออัตราการทำกำไรขั้นต้นในไตรมาสแรกนี้ แต่ธุรกิจผลิตเพื่อขายสำหรับแบรนด์ที่อยู่ในต่างประเทศยังดำเนินธุรกิจได้ดี
โดยเฉพาะชิกเก้นออฟเดอะซี ในสหรัฐอเมริกา สามารถกลับมาทำกำไรอีกครั้ง หลังจากที่ปีก่อนทำผลงานไม่ดี เนื่องจากต้องเผชิญการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง ขณะที่ธุรกิจอาหารแมวในสหรัฐอเมริกา ก็มีผลดำเนินงานดีเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ส่วนทางด้านยุโรป เอ็มดับบลิว แบรนด์ ยังรักษาการทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งโดยภาพรวมแล้วธุรกิจในต่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงที่ดี แต่อย่างไรก็ดี บริษัทเชื่อว่าแนวโน้มราคาวัตถุดิบจะลดความผัวผวนลงในช่วงครึ่งปีหลัง
ส่วนปัจจัยจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น บริษัทมีการบริหารจัดการความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าวด้วยความรัดกุม โดยมาตรการระยะสั้นบริษัทจะใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆ เช่น การทำ Hedging การทำ Fix Forward เป็นต้น ทำให้สามารถชดเชยได้บางส่วน
สำหรับมาตรการในระยะยาวนั้น ต้องมีการควบคุมต้นทุนอย่างเข้มงวด รวมถึงการปรับปรุงการดำเนินงานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ค่าเงินมีการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งเพื่อนบ้านพบว่า ประเทศไทยมีค่าเงินที่แข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาคนี้ จึงเป็นเรื่องที่บริษัทต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และต้องมีการประเมินธุรกิจตลอดเวลา และเชื่อว่าภาครัฐก็ได้มีการติดตามในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว ซึ่งถ้าค่าเงินแข็งอย่างต่อเนื่องคงจะมีมาตรการรองรับออกมาชัดเจนขึ้น
“ซึ่งจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพการดำเนินธุรกิจที่แข็งแกร่งของบริษัท จากการเป็นผู้ผลิตอาหารทะเลที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ การมีฐานการผลิต และฐานการตลาดที่ครอบคลุมทุกภูมิภาค ทำให้สามารถกระจายความเสี่ยงจากธุรกิจได้เป็นอย่างดี ดังนั้น บริษัทเชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่องได้ และยังเชื่อว่าจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัตถุดิบ และค่าเงินบาทจะมีแนวโน้มดีขึ้น และกลับมาปกติในครึ่งปีหลัง” นายธีรพงศ์กล่าว
และเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทได้รับมอบรางวัล Global Challenger 2013 จาก The Boston Consulting Group ติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 2006 ซึ่งพิจารณาจากความสามารถในการดำเนินธุรกิจ และความสามารถในการแข่งขันสูง โดยธุรกิจมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกลยุทธ์การลงทุนในต่างประเทศ เพื่อขยายธุรกิจสู่ระดับโลก แสดงถึงความเชื่อมั่นที่บริษัทยังคงได้รับจากสถาบันต่างๆ ในต่างประเทศได้เป็นอย่างดี
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TUF ชี้แจงถึงผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ประจำปี 2556 ว่า บริษัทมีรายได้จากการขายในรูปเงินเหรียญสหรัฐ 824 ล้านเหรียญสหรัฐ ยังคงสามารถรักษายอดขายได้เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ที่มีรายได้เท่ากับ 822 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีรายได้จากการขายในรูปเงินบาทเท่ากับ 24,441 ล้านบาท ลดลง 3% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2555 ที่มีรายได้ 25,304 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากค่าเงินบาทในไตรมาสนี้แข็งค่าขึ้น 3.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิในไตรมาสแรกนี้ 674 ล้านบาท ลดลงจากปี 2555 ที่ทำกำไรสุทธิ 1,467 ล้านบาท หรือลดลง 54%
สำหรับสัดส่วนรายได้ของบริษัทซึ่งแบ่งตามผลิตภัณฑ์หลัก 6 กลุ่มธุรกิจ ในไตรมาสแรกนี้ กลุ่มธุรกิจปลาทูน่า มีสัดส่วน 50% กลุ่มธุรกิจกุ้ง และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกุ้ง 21% กลุ่มธุรกิจปลาซาร์ดีน และปลาแมคเคอเรล 6% กลุ่มธุรกิจปลาแซลมอน 5% กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง 8% และกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มและผลิตภัณฑ์อื่นๆ 10% ขณะที่สัดส่วนรายได้ของบริษัทโดยแบ่งตามตลาดมีดังนี้ สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วน 39% สหภาพยุโรป 29% ขายในประเทศ 8% ญี่ปุ่น 10% และประเทศอื่นๆ 14%
จากภาพรวมผลการดำเนินงานไตรมาสแรก นายธีรพงศ์ อธิบายว่า “แม้ว่าในไตรมาสแรกนี้ บริษัทยังต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายที่ต่อเนื่องมาจากไตรมาส 4 ของปี 2555 แต่เมื่อพิจารณากำไรสุทธิจะพบว่า ยังเติบโตขึ้น 10% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิเท่ากับ 612 ล้านบาท ถือว่าทำได้ดีกว่าไตรมาสที่แล้ว โดยราคาวัตถุดิบในไตรมาสนี้ กุ้งยังมีราคาสูง และขาดแคลน เนื่องมาจากโรคระบาด EMS ขณะที่วัตถุดิบปลาทูน่า ความผัวผวนด้านราคายังคงมีต่อเนื่อง จากปีที่แล้วที่สูงถึงระดับ 2,350 เหรียญสหรัฐในเดือนกันยายน และลดลงอย่างรวดเร็วที่ระดับราคา 1,900 เหรียญสหรัฐต่อตันเมื่อช่วงปลายปี แต่ได้มีการปรับขึ้นอีกเมื่อต้นปี และกลับมาสูงอีกครั้งที่ระดับราคา 2,325 เหรียญสหรัฐในเดือนมีนาคม ซึ่งความผันผวนของราคาปลาทูน่า ทำให้ธุรกิจรับจ้างผลิตและส่งออกได้รับผลกระทบ ราคาที่ผันผวน ทำให้ลูกค้าไม่มั่นใจเกิดการชะลอคำสั่งซื้อ เนื่องจากไม่สามารถยอมรับราคาที่สูงขึ้น ทำให้มีผลต่ออัตราการทำกำไรขั้นต้นในไตรมาสแรกนี้ แต่ธุรกิจผลิตเพื่อขายสำหรับแบรนด์ที่อยู่ในต่างประเทศยังดำเนินธุรกิจได้ดี
โดยเฉพาะชิกเก้นออฟเดอะซี ในสหรัฐอเมริกา สามารถกลับมาทำกำไรอีกครั้ง หลังจากที่ปีก่อนทำผลงานไม่ดี เนื่องจากต้องเผชิญการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง ขณะที่ธุรกิจอาหารแมวในสหรัฐอเมริกา ก็มีผลดำเนินงานดีเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ส่วนทางด้านยุโรป เอ็มดับบลิว แบรนด์ ยังรักษาการทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งโดยภาพรวมแล้วธุรกิจในต่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงที่ดี แต่อย่างไรก็ดี บริษัทเชื่อว่าแนวโน้มราคาวัตถุดิบจะลดความผัวผวนลงในช่วงครึ่งปีหลัง
ส่วนปัจจัยจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น บริษัทมีการบริหารจัดการความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าวด้วยความรัดกุม โดยมาตรการระยะสั้นบริษัทจะใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆ เช่น การทำ Hedging การทำ Fix Forward เป็นต้น ทำให้สามารถชดเชยได้บางส่วน
สำหรับมาตรการในระยะยาวนั้น ต้องมีการควบคุมต้นทุนอย่างเข้มงวด รวมถึงการปรับปรุงการดำเนินงานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ค่าเงินมีการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งเพื่อนบ้านพบว่า ประเทศไทยมีค่าเงินที่แข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาคนี้ จึงเป็นเรื่องที่บริษัทต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และต้องมีการประเมินธุรกิจตลอดเวลา และเชื่อว่าภาครัฐก็ได้มีการติดตามในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว ซึ่งถ้าค่าเงินแข็งอย่างต่อเนื่องคงจะมีมาตรการรองรับออกมาชัดเจนขึ้น
“ซึ่งจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพการดำเนินธุรกิจที่แข็งแกร่งของบริษัท จากการเป็นผู้ผลิตอาหารทะเลที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ การมีฐานการผลิต และฐานการตลาดที่ครอบคลุมทุกภูมิภาค ทำให้สามารถกระจายความเสี่ยงจากธุรกิจได้เป็นอย่างดี ดังนั้น บริษัทเชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่องได้ และยังเชื่อว่าจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัตถุดิบ และค่าเงินบาทจะมีแนวโน้มดีขึ้น และกลับมาปกติในครึ่งปีหลัง” นายธีรพงศ์กล่าว
และเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทได้รับมอบรางวัล Global Challenger 2013 จาก The Boston Consulting Group ติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 2006 ซึ่งพิจารณาจากความสามารถในการดำเนินธุรกิจ และความสามารถในการแข่งขันสูง โดยธุรกิจมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกลยุทธ์การลงทุนในต่างประเทศ เพื่อขยายธุรกิจสู่ระดับโลก แสดงถึงความเชื่อมั่นที่บริษัทยังคงได้รับจากสถาบันต่างๆ ในต่างประเทศได้เป็นอย่างดี