ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่นฯ หั่นเป้ายอดขายปีนี้โตแค่ 12% เหตุราคาวัตถุดิบพุ่ง และโรงงานกุ้งไฟไหม้ มั่นใจปีหน้าทั้งยอดขายและกำไรโต 15% ทุ่มงบลงทุน 2 ปีข้างหน้ารวม 1.2 หมื่นล้านบาท ตั้งโรงงานใหม่ 3 แห่งในสมุทรสาคร หวังดันยอดขายทะลุเป้า 5 พันล้านเหรียญในปี 58
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TUF เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทฯ มียอดขายในรูปของเงินบาทโตเพียง 12% ต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่เคยตั้งไว้ 15% เพราะผลกระทบจากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น และโรงงานผลิตกุ้งไฟไหม้ทำให้เสียโอกาสไป 2 เดือน แต่กำไรสุทธิในปี 2555 เชื่อว่าจะโต 13% ใกล้เคียงไตรมาส 3/2555 ขณะปี 56 ตั้งเป้าหมายทั้งยอดขายรูปเงินสกุลเหรียญสหรัฐ และกำไรสุทธิโตขึ้น 15% เนื่องจากโรงงานผลิตอาหารสัตว์ในสหรัฐฯ และ บมจ.แพ็คฟู้ดจะมีผลดำเนินงานดีขึ้นหลังจากปีนี้ประสบปัญหาขาดทุน
โดยปีนี้บริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) 16% คาดว่าปีหน้าจะขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 17% อีกครั้ง ตั้งเป้าหมายในอนาคตจะเพิ่มขึ้นเป็น 20% เนื่องจากบริษัทมุ่งเน้นการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งเร่งขยายแบรนด์สินค้าซีเลค และฟิชโชให้ครอบคลุมทุกประเทศในอาเซียน หลังจากทำตลาดที่ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ส่วนฐานการผลิตในอาเซียนนั้น บริษัทฯ เล็งการลงทุนตั้งโรงงานในพม่า และต้องรอกฎหมายการลงทุนพม่าให้มีความชัดเจนกว่านี้
สำหรับแผนการลงทุนใน 2 ปีข้างหน้า (2556-2557) ตั้งงบลงทุนไว้ปีละ 6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปีก่อน โดยจะใช้ลงทุนตั้งโรงงานใหม่ 3 แห่งในจังหวัดสมุทรสาคร คือ โรงงานผลิตกุ้ง กำลังผลิต 6 หมื่นตันต่อปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางปี 2557 โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ปลาแซลมอน 1.5 หมื่นตันต่อปี และโรงงานผลิตเบเกอรี่ และอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เพื่อดันยอดขายให้ได้ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2558
ส่วนการซื้อกิจการ (M&A) นั้นถือเป็นกลยุทธ์การเติบโตทางธุรกิจ หากพบว่ามีโอกาสพร้อมที่จะเข้าไปซื้อกิจการ โดยยอมรับว่าจากปัญหาวิกฤตยูโรโซนทำให้มีโอกาสในการลงทุนซื้อกิจการในแทบทุกภูมิภาคทั้งสหรัฐฯ และยุโรป
นายธีรพงศ์ กล่าวถึงกรณีที่ยุโรปจะตัดสิทธิจีเอสพีกุ้งไทยในต้นปี 2557 จะมีผลทำให้กำแพงภาษีนำเข้าสูงขึ้น แต่ ชเชื่อว่าบริษัทฯ จะไม่ได้รับผลกระทบมาก เนื่องจากบริษัทฯ จะหันไปเน้นการผลิตผลิตภัณฑ์กุ้งที่มีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งจะหันไปทำตลาดเอเชี ยและสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันยอดขายกุ้งในตลาดอียูคิดเป็น 2%ของยอดขายรวม
สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2555 บริษัทมีกำไรสุทธิ 1,613 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.6% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,542 ล้านบาท โดยมียอดขายในรูปของเงินบาทอยู่ที่ 28,327 ล้านบาท โตขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 12.8% ส่วนยอดขายในรูปของเงินเหรียญสหรัฐเท่ากับ 907 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
“ปีนี้เป็นอีกปีที่บริษัทสามารถทุบสถิติกำไร และยอดขาย โดยสร้างนิวไฮอีกครั้ง สะท้อนถึงประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจที่แข็งแกร่ง ธุรกิจในทุกส่วนเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับกำไรขั้นต้นในไตรมาสนี้อยู่ที่ 15.7% แม้จะลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเกือบ 2% เพราะต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะราคาปลาทูน่าเพิ่มขึ้นถึง 26%”
นายธีรพงศ์ กล่าวถึงการเปลี่ยนสัดส่วนการถือครองหุ้นในบริษัท อะแวนติ ฟีด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศอินเดีย จากเดิม 14.99% เป็น 25.12% โดยทำการสว็อปหุ้นของบริษัท ที่บริษัทถือครองในบริษัท อะแวนติ ไทย อควอ ฟีดส์ 3,844,800 หุ้น ทำให้ อะแวนติฟีด กลายเป็นผู้ถือหุ้นเต็ม 100% ในอะแวนติ ไทย อควอ ฟีดส์ ซึ่งการเปลี่ยนสัดส่วนการถือหุ้นครั้งนี้ทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มศักยภาพด้านการผลิตอาหารกุ้งที่มีอัตราการโตมากถึง 3 เท่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และจะมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่องในอนาคต
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TUF เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทฯ มียอดขายในรูปของเงินบาทโตเพียง 12% ต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่เคยตั้งไว้ 15% เพราะผลกระทบจากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น และโรงงานผลิตกุ้งไฟไหม้ทำให้เสียโอกาสไป 2 เดือน แต่กำไรสุทธิในปี 2555 เชื่อว่าจะโต 13% ใกล้เคียงไตรมาส 3/2555 ขณะปี 56 ตั้งเป้าหมายทั้งยอดขายรูปเงินสกุลเหรียญสหรัฐ และกำไรสุทธิโตขึ้น 15% เนื่องจากโรงงานผลิตอาหารสัตว์ในสหรัฐฯ และ บมจ.แพ็คฟู้ดจะมีผลดำเนินงานดีขึ้นหลังจากปีนี้ประสบปัญหาขาดทุน
โดยปีนี้บริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) 16% คาดว่าปีหน้าจะขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 17% อีกครั้ง ตั้งเป้าหมายในอนาคตจะเพิ่มขึ้นเป็น 20% เนื่องจากบริษัทมุ่งเน้นการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งเร่งขยายแบรนด์สินค้าซีเลค และฟิชโชให้ครอบคลุมทุกประเทศในอาเซียน หลังจากทำตลาดที่ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ส่วนฐานการผลิตในอาเซียนนั้น บริษัทฯ เล็งการลงทุนตั้งโรงงานในพม่า และต้องรอกฎหมายการลงทุนพม่าให้มีความชัดเจนกว่านี้
สำหรับแผนการลงทุนใน 2 ปีข้างหน้า (2556-2557) ตั้งงบลงทุนไว้ปีละ 6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปีก่อน โดยจะใช้ลงทุนตั้งโรงงานใหม่ 3 แห่งในจังหวัดสมุทรสาคร คือ โรงงานผลิตกุ้ง กำลังผลิต 6 หมื่นตันต่อปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางปี 2557 โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ปลาแซลมอน 1.5 หมื่นตันต่อปี และโรงงานผลิตเบเกอรี่ และอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เพื่อดันยอดขายให้ได้ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2558
ส่วนการซื้อกิจการ (M&A) นั้นถือเป็นกลยุทธ์การเติบโตทางธุรกิจ หากพบว่ามีโอกาสพร้อมที่จะเข้าไปซื้อกิจการ โดยยอมรับว่าจากปัญหาวิกฤตยูโรโซนทำให้มีโอกาสในการลงทุนซื้อกิจการในแทบทุกภูมิภาคทั้งสหรัฐฯ และยุโรป
นายธีรพงศ์ กล่าวถึงกรณีที่ยุโรปจะตัดสิทธิจีเอสพีกุ้งไทยในต้นปี 2557 จะมีผลทำให้กำแพงภาษีนำเข้าสูงขึ้น แต่ ชเชื่อว่าบริษัทฯ จะไม่ได้รับผลกระทบมาก เนื่องจากบริษัทฯ จะหันไปเน้นการผลิตผลิตภัณฑ์กุ้งที่มีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งจะหันไปทำตลาดเอเชี ยและสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันยอดขายกุ้งในตลาดอียูคิดเป็น 2%ของยอดขายรวม
สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2555 บริษัทมีกำไรสุทธิ 1,613 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.6% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,542 ล้านบาท โดยมียอดขายในรูปของเงินบาทอยู่ที่ 28,327 ล้านบาท โตขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 12.8% ส่วนยอดขายในรูปของเงินเหรียญสหรัฐเท่ากับ 907 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
“ปีนี้เป็นอีกปีที่บริษัทสามารถทุบสถิติกำไร และยอดขาย โดยสร้างนิวไฮอีกครั้ง สะท้อนถึงประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจที่แข็งแกร่ง ธุรกิจในทุกส่วนเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับกำไรขั้นต้นในไตรมาสนี้อยู่ที่ 15.7% แม้จะลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเกือบ 2% เพราะต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะราคาปลาทูน่าเพิ่มขึ้นถึง 26%”
นายธีรพงศ์ กล่าวถึงการเปลี่ยนสัดส่วนการถือครองหุ้นในบริษัท อะแวนติ ฟีด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศอินเดีย จากเดิม 14.99% เป็น 25.12% โดยทำการสว็อปหุ้นของบริษัท ที่บริษัทถือครองในบริษัท อะแวนติ ไทย อควอ ฟีดส์ 3,844,800 หุ้น ทำให้ อะแวนติฟีด กลายเป็นผู้ถือหุ้นเต็ม 100% ในอะแวนติ ไทย อควอ ฟีดส์ ซึ่งการเปลี่ยนสัดส่วนการถือหุ้นครั้งนี้ทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มศักยภาพด้านการผลิตอาหารกุ้งที่มีอัตราการโตมากถึง 3 เท่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และจะมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่องในอนาคต