xs
xsm
sm
md
lg

“ประสาร” ชี้หลายประเทศหั่น ดบ. เพราะ ศก. ติดลบ พร้อมแฉเม็ดเงินร้อนชอบฟันส่วนต่างค่าเงิน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติยัน ดบ.นโยบายของไทยต้องใช้ดูแลสมดุล ศก. ภายในประเทศด้วย ยอมรับสภาพเศรษฐกิจของโลกขณะนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ต้องลด ดบ. ตอนนี้เพราะ ศก. ติดลบ ต้องใช้ ดบ.ต่ำ กระตุ้นการลงทุน ส่วนไทย ศก. เติบโตสูงถึง 5% แต่ยอมรับว่า ดบ. ถือเป็นปัจจัยตัวหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนขนเงินเข้ามา แต่มองว่าเรื่องการเข้ามาเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน หากคิดเป็นเปอร์เช็นต์แล้วจะสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกัน

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้การธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยก่อนการเข้าชี้แจงในการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ของประเทศ พ.ศ. ... (เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท) โดยระบุว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการดูแลทั้งอัตราแลกเปลี่ยน และการบริหารจัดการเงินทุนเคลื่อนย้าย ไปจนถึงสมดุลเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับสมดุลของสภาพเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาค

ทั้งนี้ สภาพเศรษฐกิจของโลกขณะนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ กลุ่มที่เศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดีระดับ 5% ขึ้นไป ซึ่งรวมทั้งไทย กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่เศรษฐกิจติดลบ เช่น กลุ่มยุโรป และกลุ่ม 3 คือ กลุ่มที่ขยายตัวเพียง 1-2% เช่น สหรัฐฯ

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยยังต้องมีภาระหนักในการดูเศรษฐกิจในประเทศให้เกิดความสมดุล แตกต่างจากในยุโรป และสหรัฐฯ ที่ต้องกดดอกเบี้ยต่ำเพื่อดูแลปัญหาเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ

“ถือเป็นความยากลำบากที่ กนง.ต้องพยายามรักษาดุลยภาพในประเทศ เงินทุนเคลื่อนย้ายต้องดูหลายปัจจัย ซึ่งดอกเบี้ยก็เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนเข้ามาลงทุน แต่มองว่าเรื่องการเข้ามาเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนคิดเป็นเปอร์เช็นต์จะสูงกว่าเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปีที่ต่ำกว่า”

อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ยืนยันว่าได้มี 4 มาตรการที่ได้เตรียมไว้สำหรับการดูแลเงินทุนไหลเข้าไว้แล้ว โดยจะพิจารณาอย่างใกล้ชิด รอบคอบ และเหมาะสมกับสถานการณ์ก่อนที่จะประกาศใช้ เพราะตลาดการเงินนั้นมีความเคลื่อนไหวเร็ว ซึ่งแต่ละเครื่องมือก็มีตั้งแต่ผลกระทบจากเบาไปหาหนัก นอกจากนี้ ยังมีเครื่องมืออื่นๆ ที่ใช้ในการดูแล เช่น การแทรกแซงค่าเงิน เป็นต้น

ส่วนการที่เงินบาทเมื่อวานนี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย มาจากการที่นักลงทุนต่างชาติกลับมามีความมั่นใจในภาพรวมเศรษฐกิจมากขึ้นจึงมีเงินทุนไหลเข้ามา โดยกรณีที่ธนาคารกลางหลายชาติปรับลดดอกเบี้ย ก็เป็นเพราะเหตุผลหลายด้านที่แตกต่างกันไป เช่น เกาหลีใต้ ปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25 % เหลือ 2.5% มาจากความต้องการที่จะแข่งขันกับญี่ปุ่นในตลาดส่งออกมากขึ้น หลังค่าเงินเกาหลีเสียเปรียบญี่ปุ่นที่เป็นคู่แข่งหลัก

ส่วนออสเตรเลีย ที่ลดดอกเบี้ยลง 0.2.% มาจากที่เศรษฐกิจในออสเตรเลียได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก จึงต้องใช้ดอกเบี้ยเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ แตกต่างจากไทยที่ยังมีเศรษฐกิจขยายตัวได้ดี และยังต้องดูแลด้านเศรษฐกิจในประเทศ
กำลังโหลดความคิดเห็น