เอ็มดี บสก.เดินหน้าตามแผนกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ คาดภายใน 28 ก.พ.ลงนามจ้าง FA ได้ คาดมีกลุ่มนักลงทุนเข้าร่วมถือหุ้น ลั่นยอดจองหุ้นโอเวอร์ซัปพลาย วางเป้าปี 56 กำไรสุทธิเติบโต 10% ระบุจากนี้ไป บสก.เน้นการเจริญเติบโตแบบยั่งยืน
นายกฤษณ์ เสสะเวช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) กล่าวถึงความคืบหน้าของแผนการแปรรูป และนำเข้าหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ที่ผ่านมา บสก.ได้จัดให้มีการประชุมชี้แจงรายละเอียดเพื่อทำความเข้าใจข้อกำหนดโครงการว่าจ้าง (TOR) ในการนำหุ้น บสก.เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้แก่บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินที่สนใจได้รับทราบข้อมูล โดยมีบริษัทต่างๆ เข้าร่วมรับฟัง TOR จำนวน 24 ราย ซึ่งมีกลุ่มบริษัทที่มายื่นข้อเสนอผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น 7 ราย ทั้งนี้ ภายหลังจากบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) ได้นำเสนอแผนกลยุทธ์แล้ว ในวันที่ 20 ก.พ.จะมีนำเสนอคณะกรรมการจัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) เพื่อพิจารณา และคาดว่าจะมีการลงนามในสัญญาจ้าง FA ในวันที่ 28 ก.พ.นี้
“ขั้นตอนหลังจากลงนามแล้ว ทาง FA ต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า การเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว FIDF จะได้อะไร ผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์อย่างไร และ บสก.จะมีสภาพในเรื่องของโครงการสร้าง และลักษณะของ บสก.จะเป็นเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจ กองทุนฯ จะถือ 49% หรือมากกว่านี้ เพราะแต่ละรูปจะมีผลต่อเรื่องการเงิน สิทธิประโยชน์ที่ควรพึงได้ คาดว่า โจทย์นี้น่าจะใช้กระบวนการในการให้คำตอบประมาณ 3 เดือน นับจากเซ็นสัญญาว่าจ้าง FA และหลังจากนั้น คงเป็นเรื่องจังหวะของการกระจายหุ้น ซึ่งเราคิดว่า น่าจะเป็นการขายแบบปกติ คือ ไอพีโอ มากกว่าเฉพาะเจาะจง แต่เราก็คิดว่าจะมีส่วนของหุ้นจำนวนมากที่จะมีนักลงทุนเข้ามาลงทุน ซึ่งนี้ก็เป็นโจทย์ของ FA ว่า พาร์ตเนอร์ต่างชาติจะอยู่ในโครงสร้างเท่าไหร่ แต่ผมเชื่อว่า หุ้นที่ บสก.จะกระจายนั้นโอเวอร์ซัปพลายแน่ ยอดจองหลายเท่าตัว” นายกฤษณ์กล่าว
โดยแผนการดำเนินงานในปี 2556 ประมาณการรายได้จากการปรับโครงสร้างหนี้และจำหน่ายทรัพย์รวม 13,735 ล้านบาท กำไรสุทธิ 3,602 ล้านบาท สูงกว่าปี 55 ประมาณ 10% ขณะที่ได้วางเป้าหมายเพิ่มขนาดสินทรัพย์ของเอ็นพีแอล และเอ็นพีเอ ประมาณ 18,000 ล้านบาท เป็นการประมูลซื้อทรัพย์จากสถาบันการเงินต่างๆ และการขายทอดตลาดที่กรมบังคับคดีให้เร็วขึ้น โดยในปีที่ผ่านมา บสก.มีรายได้จากการปรับโครงสร้างหนี้ และจำหน่ายทรัพย์รวมทั้งสิ้น 13,612 ล้านบาท (ประมาณ 88% เป็นพอร์ตที่ บสก.รับซื้อมาเพิ่ม) คิดเป็น 113.43% ของเป้า 12,000 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 3,257 ล้านบาท หนี้สินต่อทุน 1.5 เท่า โดยจะพยายามบริหารจัดการไม่ให้เกิน 2 เท่า มีกำไรสะสมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ณ ขณะนี้อยู่ที่ 13,000 ล้านบาท
ส่วนของการเพิ่มขนาดสินทรัพย์ ในปีที่ผ่านมา ได้รับซื้อรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) และทรัพย์สินรอการขาย (NPA) จากสถาบันการเงินรวม 154,669 ล้านบาท เป็นการรับซื้อจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) สูงถึงจำนวน 135,388 ล้านบาท และปัจจุบัน บสก. มี NPL อยู่ในความดูแลทั้งสิ้น 55,857 ราย คิดเป็นมูลค่า 369,919 ล้านบาท ขณะที่มี NPA จำนวน 12,923 รายการ คิดเป็นมูลค่า 37,997 ล้านบาท
“ปีนี้ บสก.เน้นการเจริญเติบโตของธุรกิจแบบยั่งยืน คาดว่าปี 2556 จะมีผลการดำเนินงานเติบโตอย่างต่อเนื่อง และการที่เป็นองค์กรของรัฐ ต้องทำอะไรที่คืนกลับไปให้แก่รัฐบาล เช่น หนี้เสีย ก็ต้องมาพิจารณว่า จะบริหารแล้วคุ้มกับสินเชื่อหรือไม่ ส่วนเอ็นพีเอ แยกเป็นกลุ่ม หากเป็นของพรีเมียมควรจะขายในราคาที่ดี และสูง ของไม่ดีเราก็ปรับปรุง ใส่เงินเข้าไปบ้าง เพื่อให้ทรัพย์มีคุณภาพ ซึ่งในปีนี้ หน่วยงานของโครงการพิเศษได้เตรียมงบไว้ 200 ล้านบาทในการบริหารจัดการทรัพย์ต่างๆ ให้มีสภาพที่พร้อมจะขาย”
นายกฤษณ์ เสสะเวช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) กล่าวถึงความคืบหน้าของแผนการแปรรูป และนำเข้าหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ที่ผ่านมา บสก.ได้จัดให้มีการประชุมชี้แจงรายละเอียดเพื่อทำความเข้าใจข้อกำหนดโครงการว่าจ้าง (TOR) ในการนำหุ้น บสก.เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้แก่บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินที่สนใจได้รับทราบข้อมูล โดยมีบริษัทต่างๆ เข้าร่วมรับฟัง TOR จำนวน 24 ราย ซึ่งมีกลุ่มบริษัทที่มายื่นข้อเสนอผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น 7 ราย ทั้งนี้ ภายหลังจากบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) ได้นำเสนอแผนกลยุทธ์แล้ว ในวันที่ 20 ก.พ.จะมีนำเสนอคณะกรรมการจัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) เพื่อพิจารณา และคาดว่าจะมีการลงนามในสัญญาจ้าง FA ในวันที่ 28 ก.พ.นี้
“ขั้นตอนหลังจากลงนามแล้ว ทาง FA ต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า การเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว FIDF จะได้อะไร ผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์อย่างไร และ บสก.จะมีสภาพในเรื่องของโครงการสร้าง และลักษณะของ บสก.จะเป็นเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจ กองทุนฯ จะถือ 49% หรือมากกว่านี้ เพราะแต่ละรูปจะมีผลต่อเรื่องการเงิน สิทธิประโยชน์ที่ควรพึงได้ คาดว่า โจทย์นี้น่าจะใช้กระบวนการในการให้คำตอบประมาณ 3 เดือน นับจากเซ็นสัญญาว่าจ้าง FA และหลังจากนั้น คงเป็นเรื่องจังหวะของการกระจายหุ้น ซึ่งเราคิดว่า น่าจะเป็นการขายแบบปกติ คือ ไอพีโอ มากกว่าเฉพาะเจาะจง แต่เราก็คิดว่าจะมีส่วนของหุ้นจำนวนมากที่จะมีนักลงทุนเข้ามาลงทุน ซึ่งนี้ก็เป็นโจทย์ของ FA ว่า พาร์ตเนอร์ต่างชาติจะอยู่ในโครงสร้างเท่าไหร่ แต่ผมเชื่อว่า หุ้นที่ บสก.จะกระจายนั้นโอเวอร์ซัปพลายแน่ ยอดจองหลายเท่าตัว” นายกฤษณ์กล่าว
โดยแผนการดำเนินงานในปี 2556 ประมาณการรายได้จากการปรับโครงสร้างหนี้และจำหน่ายทรัพย์รวม 13,735 ล้านบาท กำไรสุทธิ 3,602 ล้านบาท สูงกว่าปี 55 ประมาณ 10% ขณะที่ได้วางเป้าหมายเพิ่มขนาดสินทรัพย์ของเอ็นพีแอล และเอ็นพีเอ ประมาณ 18,000 ล้านบาท เป็นการประมูลซื้อทรัพย์จากสถาบันการเงินต่างๆ และการขายทอดตลาดที่กรมบังคับคดีให้เร็วขึ้น โดยในปีที่ผ่านมา บสก.มีรายได้จากการปรับโครงสร้างหนี้ และจำหน่ายทรัพย์รวมทั้งสิ้น 13,612 ล้านบาท (ประมาณ 88% เป็นพอร์ตที่ บสก.รับซื้อมาเพิ่ม) คิดเป็น 113.43% ของเป้า 12,000 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 3,257 ล้านบาท หนี้สินต่อทุน 1.5 เท่า โดยจะพยายามบริหารจัดการไม่ให้เกิน 2 เท่า มีกำไรสะสมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ณ ขณะนี้อยู่ที่ 13,000 ล้านบาท
ส่วนของการเพิ่มขนาดสินทรัพย์ ในปีที่ผ่านมา ได้รับซื้อรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) และทรัพย์สินรอการขาย (NPA) จากสถาบันการเงินรวม 154,669 ล้านบาท เป็นการรับซื้อจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) สูงถึงจำนวน 135,388 ล้านบาท และปัจจุบัน บสก. มี NPL อยู่ในความดูแลทั้งสิ้น 55,857 ราย คิดเป็นมูลค่า 369,919 ล้านบาท ขณะที่มี NPA จำนวน 12,923 รายการ คิดเป็นมูลค่า 37,997 ล้านบาท
“ปีนี้ บสก.เน้นการเจริญเติบโตของธุรกิจแบบยั่งยืน คาดว่าปี 2556 จะมีผลการดำเนินงานเติบโตอย่างต่อเนื่อง และการที่เป็นองค์กรของรัฐ ต้องทำอะไรที่คืนกลับไปให้แก่รัฐบาล เช่น หนี้เสีย ก็ต้องมาพิจารณว่า จะบริหารแล้วคุ้มกับสินเชื่อหรือไม่ ส่วนเอ็นพีเอ แยกเป็นกลุ่ม หากเป็นของพรีเมียมควรจะขายในราคาที่ดี และสูง ของไม่ดีเราก็ปรับปรุง ใส่เงินเข้าไปบ้าง เพื่อให้ทรัพย์มีคุณภาพ ซึ่งในปีนี้ หน่วยงานของโครงการพิเศษได้เตรียมงบไว้ 200 ล้านบาทในการบริหารจัดการทรัพย์ต่างๆ ให้มีสภาพที่พร้อมจะขาย”