xs
xsm
sm
md
lg

แฉมีกระบวนการทุบแบงก์ “เอสเอ็มอี” หนี้เน่านักการเมืองโผล่ 10%

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


“เอสเอ็มอีแบงก์” แฉมีกระบวนการจ้องทุบแบงก์ ยอมรับเอ็นพีแอลสูงถึง 4 หมื่นล้าน แต่ขาดทุนจริงแค่หลักพันล้าน พร้อมระบุ หนี้เน่านักการเมือง 10% เผยเอ็นพีแอลที่เกิด ยอมรับว่ามีการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพ และขาดแรงจูงใจในการติดตามทวงหนี้ และการปล่อยสินเชื่อเพิ่ม ซึ่งตั้งแต่บอร์ดชุดนี้เข้ามาก็ไม่ยอมขยายการปล่อยสินเชื่อเพิ่มเลย เพราะถ้าหากปล่อยสินเชื่อเพิ่มเป็น 1.5 แสนล้าน สัดส่วนหนี้เอ็นพีแอลจะลดลง ขณะเดียวกัน ก็มีคนรีไฟแนนซ์เข้ามา

แหล่งข่าวจากธนาคารเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวว่า ธนาคารปล่อยสินเชื่อรวม 9.4 หมื่นบ้านบาท และมีหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ประมาณวงเงิน 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ที่ต้องตั้งสำรองตามเกณฑ์แบงก์ชาติที่ผิดนัดชำระเกิน 3 เดือน แต่ไม่ได้หมายความว่าหนี้ส่วนนี้จะเป็นหนี้เสีย 100% หรือแบงก์ขาดทุนทั้ง 4 หมื่นล้านบาท

“ยอมรับที่ขาดทุนจริงๆ ตามทวงไม่ได้เลย หนี้เน่าจริงๆ แค่หลักพันล้านเท่านั้น แต่เวลาพูดกันมักจะรวมเป็นภาพใหญ่ หนี้ก้อนนี้ของเอสเอ็มอีแบงก์ ไม่เหมือนธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ (แบงก์บีบีซี) ในอดีต ถ้าเป็นอย่างนั้นมันอยู่ไม่ได้ เป็นการพูดเพื่อเป็นกระบวนการทุบแบงก์มากกว่า”

โดยหนี้ส่วนนี้ ยืนยันว่ามีหลักทรัพย์ค้ำประกันท่วมมูลหนี้อยู่ 2-3 หมื่นล้านบาท หรือถ้าไม่มีหลักทรัพย์ก็เป็นการค้ำประกันจากบรรษัทค้ำประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. ซึ่งก็ต้องไปดูว่าหลักทรัพย์ที่จะยึด หรือเจรจาประนอมหนี้แล้วเป็นอย่างไร หลักทรัพย์เหลืออยู่เท่าใด

สำหรับหนี้เอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นนั้น แหล่งข่าวยอมรับว่า การทำงานของแบงก์ขาดประสิทธิภาพ ขาดแรงจูงใจในการติดตามทวงหนี้ และการปล่อยสินเชื่อเพิ่ม ซึ่งตั้งแต่คณะกรรมการบริหารชุดนี้เข้ามาไม่ยอมขยายการปล่อยสินเชื่อเพิ่มเลย ถ้าหากปล่อยสินเชื่อเพิ่มเป็น 1.5 แสนล้าน สัดส่วนหนี้เอ็นพีแอลจะลดลง ขณะเดียวกัน ก็มีคนรีไฟแนนซ์เข้ามา

ขณะเดียวกัน หนี้เอ็นพีแอลพวกนี้ก็มีบ้างที่นักการเมืองฝากมา หรือพวกใกล้ชิดบอร์ด แต่คิดเป็นเพียงไม่เกิน 10% และส่วนใหญ่มีคณะกรรมการประเมินราคา และที่สำคัญจะดูรายได้จากพวกนี้ให้สมเหตุสมผลกับเงินที่กู้ไป แต่ยอมรับว่าบางเรื่องมีการเสนอวาระจรเข้าที่ประชุมบอร์ดเช่นกัน
กำลังโหลดความคิดเห็น