สบน. หนุน สปป.ลาว ออกพันธบัตรในรูปสกุลเงินบาทในประเทศไทย เพื่อจำหน่ายในลักษณะแบบเฉพาะเจาะจงแก่นักลงทุนสถาบัน วงเงิน 15,000 ล้านบาท
น.ส.จุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธาณะ (สบน.) กล่าวว่า เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) จึงได้สนับสนุนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ออกพันธบัตรในรูปสกุลเงินบาทในประเทศไทย เพื่อจำหน่ายในลักษณะแบบเฉพาะเจาะจงแก่นักลงทุนสถาบัน วงเงิน 15,000 ล้านบาท แม้อันดับเครดิตของรัฐบาล สปป.ลาว ยังไม่ได้รับการจัดอันดับในตลาดตราสารหนี้ กระทรวงการคลังจึงยกเว้นให้ในฐานะเป็นรัฐบาล เพื่ออนุมัติให้เข้ามาระดมทุนออกพันธบัตรได้
น.ส.จุฬารัตน์ กล่าวว่า เมื่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พิจารณาแล้ว คาดว่าจะดำเนินการออกพันธบัตรได้เร็วๆ นี้ เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่า การระดมทุนดังกล่าวมีรายได้รองรับ เมื่อนำเงินทุนก่อสร้างเขื่อนและผลิตกระแสไฟฟ้าขายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ของไทย และแนวทางดังกล่าวจะเป็นแรงจูงใจให้กลุ่มอาเซียนอื่น เช่น พม่า กัมพูชา เวียดนาม เข้ามาระดมทุนเป็นพันธบัตรเงินบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนโครงสร้างพื้นฐาน
ขณะที่การระดมทุนของรัฐบาลในงบประมาณปี 2556 มีแผนการระดมด้วยการออกพันธบัตรให้เป็นดอกเบี้ยอ้างอิงของตลาด ด้วยพันธบัตรอายุ 3, 5, 7, 10, 15, 20, 30, 50 ปี เป็นวงเงินรวม 525,000 ล้านบาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 50 ของความต้องการระดมทุนประจำปี 1.1 ล้านล้านบาท เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้
น.ส.จุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธาณะ (สบน.) กล่าวว่า เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) จึงได้สนับสนุนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ออกพันธบัตรในรูปสกุลเงินบาทในประเทศไทย เพื่อจำหน่ายในลักษณะแบบเฉพาะเจาะจงแก่นักลงทุนสถาบัน วงเงิน 15,000 ล้านบาท แม้อันดับเครดิตของรัฐบาล สปป.ลาว ยังไม่ได้รับการจัดอันดับในตลาดตราสารหนี้ กระทรวงการคลังจึงยกเว้นให้ในฐานะเป็นรัฐบาล เพื่ออนุมัติให้เข้ามาระดมทุนออกพันธบัตรได้
น.ส.จุฬารัตน์ กล่าวว่า เมื่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พิจารณาแล้ว คาดว่าจะดำเนินการออกพันธบัตรได้เร็วๆ นี้ เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่า การระดมทุนดังกล่าวมีรายได้รองรับ เมื่อนำเงินทุนก่อสร้างเขื่อนและผลิตกระแสไฟฟ้าขายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ของไทย และแนวทางดังกล่าวจะเป็นแรงจูงใจให้กลุ่มอาเซียนอื่น เช่น พม่า กัมพูชา เวียดนาม เข้ามาระดมทุนเป็นพันธบัตรเงินบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนโครงสร้างพื้นฐาน
ขณะที่การระดมทุนของรัฐบาลในงบประมาณปี 2556 มีแผนการระดมด้วยการออกพันธบัตรให้เป็นดอกเบี้ยอ้างอิงของตลาด ด้วยพันธบัตรอายุ 3, 5, 7, 10, 15, 20, 30, 50 ปี เป็นวงเงินรวม 525,000 ล้านบาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 50 ของความต้องการระดมทุนประจำปี 1.1 ล้านล้านบาท เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้