ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขึ้น SP และ NP กรณีผู้สอบบัญชีไม่สามารถสรุปผลการสอบทานต่องบการ
เงินสิ้นสุด 30 กันยายน 2555 เนื่องจากผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัทไตรมาสนี้ เชื่อตัวเลขในงบอาจไม่แสดงค่าที่แท้จริง และสำนักงาน ก.ล.ต.อาจสั่้งการให้แก้ไขงบการเงินได้ แม้บริษัทแจงละเอียดยิบงบการเงิน โดยผลงานไตรมาส 3 ปีนี้ พบขาดทุน 166.52 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 18.65% เหตุต้นทุนทางการเงินเพิ่ม
น.ส.สุทธิรัตน์ เสวี ผู้อานวยการฝ่ายบัญชี บริษัทไทยยูนีคคอยล์เซ็นเตอร์ จากัด (มหาชน) หรือ TUCC แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปีนี้ว่า บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 166.52 ล้านบาท ขณะที่งวดนี้ปีก่อนขาดทุนสุทธิ 139.84 ล้านบาท หรือ ขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 26.17 ล้านบาท คิดเป็น 18.65% โดยเป็นผลจากรายได้รวมลดลง 5.34% ในขณะที่ต้นทุนขาย 12.51% ค่าใช้จ่ายขายลดลง 40.65% ค่าใช้จ่ายบริหารลดลง 49.08% ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น 6.35% สำรองค่าเผื่อลูกหนี้สงสัยจะสูญ ลดลง 98.50% ค่าภาษีอากรเพิ่มขึ้น 100% โดยผลการขาดทุนมาจากยอดขายที่ลดลง ค่าใช้จ่ายคงที่ที่คงมีอยู่ และต้นทุนดอกเบี้ยสูงขึ้น
อย่างไรก็ดี ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ขึ้นเครื่องหมาย “SP” (Suspension) สั่งห้ามการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ TUCC ตั้งแต่ 4 ธ.ค.55 และจะปลดเครื่องหมายดังกล่าววันที่ 6 ธันวาคม 55 หลังจากนั้น จะแขวน NP (Notice Pending) ตั้งแต่การซื้อขายรอบเช้าวันที่ 6 ธันวาคม 2555 จนกว่าบริษัทจะนำส่งงบการเงินฉบับแก้ไข หรือจนกว่าจะได้ข้อสรุปว่าบริษัทไม่ต้องแก้ไขงบการเงินดังกล่าว
เนื่องจากผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็น/ไม่เชื่อมั่นต่องบการเงินของบริษัทไตรมาส 3 ปีนี้ ทำให้ตัวเลขผลการดำเนินงาน และฐานะการเงินของบริษัทที่ปรากฏในงบการเงินอาจไม่แสดงค่าที่แท้จริงของกิจการ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. อาจสั่้งการให้แก้ไขงบการเงินได้
ขณะที่ ทาง TUCC ชี้เแจงในกรณีที่ผู้สอบบัญชีเสนอรายงานผลการสอบทานงบการเงินสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2555 แบบไม่แสดงความเห็น และไม่แสดงความเชื่อมั่น ดังนี้
1.บริษัทมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานติดต่อกันหลายปี โดยบริษัทมีขาดทุนสุทธิในงบการเงินรวมสำหรับงวดสามเดือน และเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2555 ถึง 168.52 ล้านบาท และ 298.12 ล้านบาท ตามลาดับ และมีขาดทุนในงบการเงินเฉพาะบริษัท สาหรับงวดสามเดือน และเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 135.13 ล้านบาท และ 220.10 ล้านบาท ตามลาดับ ทำให้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2555 บริษัทมีขาดทุนสะสมในงบการเงินรวม และงบการเงินเฉพาะของบริษัท 865.36 ล้านบาท และ 867.58 ล้านบาท ตามลาดับ โดยมีหนี้สินหมุนเวียนรวมสูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนรวมในงบการเงิน และงบการเงินเฉพาะบริษัท 1,291.32 ล้านบาท และ 1,121.91 ล้านบาท ตามลำดับ
โดยบริษัทได้ผิดนัดชำระหนี้เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และเจ้าหนี้อื่นหลายราย โดยบริษัททำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินสองแห่ง และเจ้าหนี้อื่นบางแห่งแล้ว แต่ยังคงไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ได้ นอกจากนี้บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงิน และเจ้าหนี้รายอื่น ปัจจุบัน ยังไม่สามารถทราบได้ว่าผลการเจรจาจะเป็นอย่างไร ทั้งนี้ การดำเนินงานของบริษัทในปัจจุบันไม่ถือเป็นการดำเนินงานตามปกติธุรกิจ เนื่องจากบริษัทได้รับวงเงินสินเชื่อชั่วคราวจากสถาบันการเงินเพื่อการผลิต และการขายเฉพาะลูกค้าบางรายเท่านั้น
เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2555 บริษัทและบริษัทย่อยได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการกับศาลล้มละลายกลางเนื่องจากมีสินทรัพย์ไม่พอจ่ายชาระหนี้สิน และเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2555 ศาลล้มละลายกลางไม่รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการข้างต้น เนื่องจากแผนการฟื้นฟูกิจการยังขาดความชัดเจน บริษัทอยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนการฟื้นฟูกิจการเพื่อยื่นคำร้องใหม่
สำหรับสาเหตุของปัญหาที่ทำให้บริษัทมีผลการดำเนินงานขาดทุนต่อเนื่องในระยะที่ผ่านมา จนเป็นเหตุให้บริษัทขาดสภาพคล่อง และผิดนัดชาระหนี้ ปี 2551 ประมาณเดือนกันยายนปี 2551 เศรษฐกิจโลกเจอวิกฤตซับไพรม์ ทำให้มีผลกระทบในราคาของวัตถุดิบลดราคาเฉลี่ยประมาณ 140 บาท/กก. ลดลงเหลือ 85 บาท/กก. ทำให้บริษัทฯ ขาดทุน ในปี 2551 เป็นเงิน 70 ล้านบาท และปี 2552 ในช่วงไตรมาส 1 คาบเกี่ยวปลายไตรมาส 2 ภาวะเศรษฐกิจยังไม่ดี ยังมีผลขาดทุน เข้าเดือน มิถุนายน จนไตรมาส 3 บริษัทฯ สามารถทำกำไรได้ ช่วงปลายปี แต่ในภาพรวมปี 2552 นั้น ความผันผวนของราคาวัตถุดิบมีค่อนข้างมาก จึงเป็นผลให้การดำเนินงานโดยรวมทาให้ปี 2552 มีผลขาดทุน ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2552 บริษัทจ่ายชาระหนี้ธนาคาร 3 แห่ง 198 ล้านบาท และถูกขอยกเลิกวงเงิน L/C, DL/C สำหรับซื้อวัตถุดิบ 280 ล้านบาท ซึ่งกระทบวงเงินในการซื้อวัตถุดิบของบริษัท ปี 2553-2554 ผลกระทบจากการที่ถูกยกเลิกวงเงิน L/C , DL/C บริษัทจึงประสบปัญหาการสั่งซื้อวัตถุดิบ ประกอบกับต้องจ่ายชาระหนี้ให้แก่สถาบันการเงิน จึงทาให้ยอดขายของบริษัทลดลง และไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมายที่กำหนด และทำให้รายรับไม่พอกับรายจ่ายที่เกิดขึ้น เป็นผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทขาดทุนต่อเนื่อง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 บริษัททำจดหมายของดการจ่ายเงินกู้ทุกประเภท พร้อมดอกเบี้ยกับทางธนาคารเป็นระยะเวลา 1 ปี ปี 2555 เดือนมกราคม บริษัททำจดหมายของดการจ่ายเงินกู้ทุกประเภท พร้อมดอกเบี้ยกับทางธนาคารต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 6 เดือน และในเดือนพฤษภาคม 2555 ได้รับเงินวงเงินชั่วคราว 50 ล้านบาทมาซื้อวัตถุดิบเพื่อทำการผลิตสินค้า และขายให้แก่ลูกค้าตามปกติ และในการบริหารมีการดูแลควบคุม ค่าใช้จ่ายและค่าผลิต โดยใช้ทรัพยากรแต่ละจุดให้มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด เดือนกรกฎาคม บริษัทเจรจาขอวงเงินซื้อวัตถุดิบเพิ่มกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาจากสถาบันการเงิน
- เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2555 บริษัท และบริษัทย่อยได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการกับศาลล้มละลายกลางเนื่องจากมีสินทรัพย์ไม่พอจ่ายชาระหนี้สิน อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2555 ศาลได้ยกคาร้องขอฟื้นฟูกิจการข้างต้น เนื่องจากแผนการฟื้นฟูกิจการยังขาดความชัดเจน บริษัทอยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนการฟื้นฟูกิจการเพื่อยื่นคาร้องใหม่
2.ข้าพเจ้าไม่สามารถใช้วิธีการสอบทานให้เป็นที่พอใจกับบัญชีเงินสดซึ่งแสดงรายการในงบแสดงฐานะการเงินรวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2555 จำนวน 2.18 ล้านบาท และ 2.16 ล้านบาทในงบการเงินเฉพาะของบริษัท เนื่องจากบริษัทไม่สามารถจัดเตรียมเงินสดในมือ และเอกสารประกอบรายการทั้งหมดให้ข้าพเจ้าสอบทานได้ ณ วันที่เข้าสอบทาน ข้าพเจ้าไม่สามารถสรุปได้ว่าเงินสดดังกล่าวมีอยู่จริงหรือไม่ บริษัททำการค้าส่วนใหญ่ในไตรมาส 3 ปี 2555 ด้วยเงินสด ทั้งด้านการรับเงิน และการจ่ายชาระเงินโดยผู้บริหารแจ้งว่า การจ่ายชาระเงินโดยการนำเงินสดฝากเข้าธนาคารของเจ้าหนี้ ข้าพเจ้าไม่สามารถสรุปได้ว่า รายการค้ามีการบันทึกบัญชีอย่างครบถ้วนและเหมาะสมแล้วหรือไม่
บริษัทชี้แจงว่า ในวันเข้าสอบทาน บริษัทได้จัดทำรายละเอียดเงินสดในมือให้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2555 และ ณ วันที่เข้าสอบทานแก่ผู้สอบแล้ว เพียงแต่ไม่ได้มีการตรวจนับเงินสดดังกล่าว เหตุที่บริษัททำการค้าด้วยเงินสดเพราะบริษัทต้องนำเงินจากลูกค้ามาซื้อวัตถุดิบที่ต้องซื้อสด ไม่ได้ให้เครดิต และในสถานการณ์ขณะนี้บริษัทขาดเงินทุนหมุนเวียน จึงต้องหมุนรอบการค้าขายให้ไวขึ้นเพื่อที่ได้นากำไรมาเป็นค่าใช้จ่ายสาหรับเงินเดือนพนักงาน ค่าไฟฟ้า น้าประปา และค่าใช้เบ็ดเตล็ด ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ประจาเดือน โดยบริษัทได้เพิ่มเติมระเบียบการรับ-จ่าย ของบริษัท ให้แก่แผนกที่เกี่ยวข้องรับทราบถึงการควบคุมเงินสดเข้าออก มีการสรุปเงินสดประจำวันทุกสิ้นวัน และเอกสารประกอบการควบคุมอย่างชัดเจน
3.ข้าพเจ้าไม่สามารถสอบทานให้เป็นที่พอใจได้ในค่าตอบแทนของผู้บริหารซึ่งแสดงรายการในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ รวมสำหรับงวดสามเดือน และเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2555 จำนวน 3.33 ล้านบาท และ 8.28 ล้านบาท ตามลำดับ และ 3.04 ล้านบาท และ 7.39 ล้านบาท ตามลำดับ ในงบการเงินเฉพาะของบริษัท เนื่องจากบริษัทไม่มีเอกสารประกอบการบันทึกรายการอย่างเหมาะสม และมีรายละเอียดไม่ตรงกับมูลค่าที่แสดงในงบการเงิน ข้าพเจ้าไม่สามารถสรุปได้ว่าค่าตอบแทนของผู้บริหารข้างต้นบันทึกบัญชีไว้อย่างเหมาะสมหรือไม่
บริษัทชี้แจงว่า บริษัทค้างจ่ายค่าตอบแทนในส่วนของผู้บริหารตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554-มิถุนายน 2555 ระหว่างนี้มีทยอยจ่ายชาระบางส่วน และจ่ายครบในเดือน กันยายน 2555 ในการตั้งค้างจ่ายค่าตอบแทนฝ่ายบัญชีนำตัวเลขจากฝ่ายจัดทำบัญชีเงินเดือนมาตั้ง และในการทยอยจ่ายชำระนั้น บริษัทมีเหลือพอจ่ายเท่าไหร่ก็จ่ายบางส่วนไปก่อน จ่ายออกไปจึงต้องทำการกระทบยอดกับการตั้งค้างจ่ายไว้ด้วยบริษัทกำลังกระทบยอดอยู่ ว่าตั้งค้างจ่ายครบ และจ่ายครบตามอัตราค่าตอบแทนที่กำหนดไว้ และข้อมูลในการกำหนดค่าตอบแทนนั้นยังไม่สมบรูณ์เพียงพอสำหรับการตรวจสอบ
4.ข้าพเจ้าไม่สามารถสอบทานรายละเอียดประกอบรายการบัญชีเงินภาษีอากรเรียกเก็บจากกรมสรรพากร (ยังไม่รวมเงินเพิ่ม) ซึ่งแสดงไว้เป็นหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินรวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2555 จำนวน 100.22 ล้านบาท และ 75.80 ล้านบาท ในงบการเงินเฉพาะของบริษัท และแสดงเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม สำหรับงวดสามเดือน และเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2555 จำนวน 102.37 ล้านบาท และ 77.83 ล้านบาท ในงบการเงินเฉพาะของบริษัท ข้าพเจ้าไม่อาจสรุปได้ว่า รายการหนี้สิน และค่าใช้จ่ายดังกล่าวบันทึกรายการอย่างถูกต้อง และครบถ้วน
บริษัทชี้แจงว่า ทางสรรพากรพื้นที่สมุทปราการได้มีหนังสือการแจ้งหนี้เกี่ยวกับหนี้ภาษีอากรมายังบริษัท และบริษัทได้บันทึกภาระหนี้ดังกล่าวตามเอกสารที่แจ้งมาส่วนรายละเอียดทางบริษัทดำเนินการเจรจากับทางสรรพากรพื้นที่ดังกล่าวอยู่
5.ผู้สอบบัญชีไม่สามารถสอบทานหลักฐานประกอบรายการขายของบริษัทย่อย สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2555 จำนวน 24.67 ล้านบาท และลูกหนี้การค้า-ลูกค้าทั่วไป จากการขายดังกล่าว 26.40 ล้านบาท ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555 ซึ่งบริษัทได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแล้วทั้งจำนวนในงบการเงินรวม รายการดังกล่าวเคยถูกบันทึกเป็นรายการฝากขายแต่ได้ปรับเปลี่ยนเป็นรายการขายปกติโดยตั้งค่าเผื่อขาดทุนจากการเรียกเก็บเงินไม่ได้ทั้งจำนวน ผู้สอบบัญชีไม่อาจพิจารณาได้ว่ารายการดังกล่าวเป็นรายการที่มีเงื่อนไขทางการค้าตามปกติ
บริษัทชี้แจงว่า ผู้สอบบัญชีไม่สามารถสอบทานหลักฐานประกอบรายการขายของบริษัทย่อย โดยผู้สอบบัญชีได้ขอเอกสารใบสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า ใบส่งสินค้า และใบวางบิล เพื่อตรวจสอบการขาย บริษัทฯได้ชี้แจงกระบวนการขาย และนำเอกสารดังต่อไปนี้ให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบทั้งหมดแล้ว 1.ใบยืนยันการสั่งซื้อ (ใบสั่งซื้อจากลูกค้า) 2.ใบอนุมัติการขาย 3.ใบส่งสินค้า/ใบกำกับภาษี 4.ใบวางบิลในการบันทึกรายการฝากขาย บริษัทฯ ได้นำสินค้ารายการดังกล่าวไปฝากขายในเดือนพฤศจิกายน 2554 กับทางร้านค้าเพื่อเสนอขาย และกระจายสินค้าให้ทั่วถึงแก่ผู้ใช้โดยตรง ในการฝากขาย ทางบริษัทจะไม่มีการบันทึกรายได้จากการฝากขาย แต่จะบันทึกโดยหมายเหตุในรายการสต๊อกว่าสินค้านำไปฝากขาย เมื่อสินค้าดังกล่าวขายได้แล้ว ทางลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้ากับบริษัทโดยทำใบสั่งซื้อสินค้า หรือใบยืนยันการสั่งซื้อ หลังจากนั้น บริษัททำใบส่งสินค้า/ใบกำกับภาษี เพื่อส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า และบันทึกรายได้จากการขายเป็นรายการขายตามปกติ ในส่วนของการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งจำนวน มาจากอายุของลูกหนี้เกินกำหนดเงื่อนไขที่ลูกค้าได้รับจากบริษัท ขณะนี้ ทางบริษัทอยู่ระหว่างการติดตามหนี้โดยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายติดตาม และเร่งรัดกับลูกค้า
เงินสิ้นสุด 30 กันยายน 2555 เนื่องจากผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัทไตรมาสนี้ เชื่อตัวเลขในงบอาจไม่แสดงค่าที่แท้จริง และสำนักงาน ก.ล.ต.อาจสั่้งการให้แก้ไขงบการเงินได้ แม้บริษัทแจงละเอียดยิบงบการเงิน โดยผลงานไตรมาส 3 ปีนี้ พบขาดทุน 166.52 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 18.65% เหตุต้นทุนทางการเงินเพิ่ม
น.ส.สุทธิรัตน์ เสวี ผู้อานวยการฝ่ายบัญชี บริษัทไทยยูนีคคอยล์เซ็นเตอร์ จากัด (มหาชน) หรือ TUCC แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปีนี้ว่า บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 166.52 ล้านบาท ขณะที่งวดนี้ปีก่อนขาดทุนสุทธิ 139.84 ล้านบาท หรือ ขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 26.17 ล้านบาท คิดเป็น 18.65% โดยเป็นผลจากรายได้รวมลดลง 5.34% ในขณะที่ต้นทุนขาย 12.51% ค่าใช้จ่ายขายลดลง 40.65% ค่าใช้จ่ายบริหารลดลง 49.08% ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น 6.35% สำรองค่าเผื่อลูกหนี้สงสัยจะสูญ ลดลง 98.50% ค่าภาษีอากรเพิ่มขึ้น 100% โดยผลการขาดทุนมาจากยอดขายที่ลดลง ค่าใช้จ่ายคงที่ที่คงมีอยู่ และต้นทุนดอกเบี้ยสูงขึ้น
อย่างไรก็ดี ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ขึ้นเครื่องหมาย “SP” (Suspension) สั่งห้ามการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ TUCC ตั้งแต่ 4 ธ.ค.55 และจะปลดเครื่องหมายดังกล่าววันที่ 6 ธันวาคม 55 หลังจากนั้น จะแขวน NP (Notice Pending) ตั้งแต่การซื้อขายรอบเช้าวันที่ 6 ธันวาคม 2555 จนกว่าบริษัทจะนำส่งงบการเงินฉบับแก้ไข หรือจนกว่าจะได้ข้อสรุปว่าบริษัทไม่ต้องแก้ไขงบการเงินดังกล่าว
เนื่องจากผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็น/ไม่เชื่อมั่นต่องบการเงินของบริษัทไตรมาส 3 ปีนี้ ทำให้ตัวเลขผลการดำเนินงาน และฐานะการเงินของบริษัทที่ปรากฏในงบการเงินอาจไม่แสดงค่าที่แท้จริงของกิจการ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. อาจสั่้งการให้แก้ไขงบการเงินได้
ขณะที่ ทาง TUCC ชี้เแจงในกรณีที่ผู้สอบบัญชีเสนอรายงานผลการสอบทานงบการเงินสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2555 แบบไม่แสดงความเห็น และไม่แสดงความเชื่อมั่น ดังนี้
1.บริษัทมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานติดต่อกันหลายปี โดยบริษัทมีขาดทุนสุทธิในงบการเงินรวมสำหรับงวดสามเดือน และเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2555 ถึง 168.52 ล้านบาท และ 298.12 ล้านบาท ตามลาดับ และมีขาดทุนในงบการเงินเฉพาะบริษัท สาหรับงวดสามเดือน และเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 135.13 ล้านบาท และ 220.10 ล้านบาท ตามลาดับ ทำให้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2555 บริษัทมีขาดทุนสะสมในงบการเงินรวม และงบการเงินเฉพาะของบริษัท 865.36 ล้านบาท และ 867.58 ล้านบาท ตามลาดับ โดยมีหนี้สินหมุนเวียนรวมสูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนรวมในงบการเงิน และงบการเงินเฉพาะบริษัท 1,291.32 ล้านบาท และ 1,121.91 ล้านบาท ตามลำดับ
โดยบริษัทได้ผิดนัดชำระหนี้เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และเจ้าหนี้อื่นหลายราย โดยบริษัททำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินสองแห่ง และเจ้าหนี้อื่นบางแห่งแล้ว แต่ยังคงไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ได้ นอกจากนี้บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงิน และเจ้าหนี้รายอื่น ปัจจุบัน ยังไม่สามารถทราบได้ว่าผลการเจรจาจะเป็นอย่างไร ทั้งนี้ การดำเนินงานของบริษัทในปัจจุบันไม่ถือเป็นการดำเนินงานตามปกติธุรกิจ เนื่องจากบริษัทได้รับวงเงินสินเชื่อชั่วคราวจากสถาบันการเงินเพื่อการผลิต และการขายเฉพาะลูกค้าบางรายเท่านั้น
เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2555 บริษัทและบริษัทย่อยได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการกับศาลล้มละลายกลางเนื่องจากมีสินทรัพย์ไม่พอจ่ายชาระหนี้สิน และเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2555 ศาลล้มละลายกลางไม่รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการข้างต้น เนื่องจากแผนการฟื้นฟูกิจการยังขาดความชัดเจน บริษัทอยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนการฟื้นฟูกิจการเพื่อยื่นคำร้องใหม่
สำหรับสาเหตุของปัญหาที่ทำให้บริษัทมีผลการดำเนินงานขาดทุนต่อเนื่องในระยะที่ผ่านมา จนเป็นเหตุให้บริษัทขาดสภาพคล่อง และผิดนัดชาระหนี้ ปี 2551 ประมาณเดือนกันยายนปี 2551 เศรษฐกิจโลกเจอวิกฤตซับไพรม์ ทำให้มีผลกระทบในราคาของวัตถุดิบลดราคาเฉลี่ยประมาณ 140 บาท/กก. ลดลงเหลือ 85 บาท/กก. ทำให้บริษัทฯ ขาดทุน ในปี 2551 เป็นเงิน 70 ล้านบาท และปี 2552 ในช่วงไตรมาส 1 คาบเกี่ยวปลายไตรมาส 2 ภาวะเศรษฐกิจยังไม่ดี ยังมีผลขาดทุน เข้าเดือน มิถุนายน จนไตรมาส 3 บริษัทฯ สามารถทำกำไรได้ ช่วงปลายปี แต่ในภาพรวมปี 2552 นั้น ความผันผวนของราคาวัตถุดิบมีค่อนข้างมาก จึงเป็นผลให้การดำเนินงานโดยรวมทาให้ปี 2552 มีผลขาดทุน ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2552 บริษัทจ่ายชาระหนี้ธนาคาร 3 แห่ง 198 ล้านบาท และถูกขอยกเลิกวงเงิน L/C, DL/C สำหรับซื้อวัตถุดิบ 280 ล้านบาท ซึ่งกระทบวงเงินในการซื้อวัตถุดิบของบริษัท ปี 2553-2554 ผลกระทบจากการที่ถูกยกเลิกวงเงิน L/C , DL/C บริษัทจึงประสบปัญหาการสั่งซื้อวัตถุดิบ ประกอบกับต้องจ่ายชาระหนี้ให้แก่สถาบันการเงิน จึงทาให้ยอดขายของบริษัทลดลง และไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมายที่กำหนด และทำให้รายรับไม่พอกับรายจ่ายที่เกิดขึ้น เป็นผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทขาดทุนต่อเนื่อง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 บริษัททำจดหมายของดการจ่ายเงินกู้ทุกประเภท พร้อมดอกเบี้ยกับทางธนาคารเป็นระยะเวลา 1 ปี ปี 2555 เดือนมกราคม บริษัททำจดหมายของดการจ่ายเงินกู้ทุกประเภท พร้อมดอกเบี้ยกับทางธนาคารต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 6 เดือน และในเดือนพฤษภาคม 2555 ได้รับเงินวงเงินชั่วคราว 50 ล้านบาทมาซื้อวัตถุดิบเพื่อทำการผลิตสินค้า และขายให้แก่ลูกค้าตามปกติ และในการบริหารมีการดูแลควบคุม ค่าใช้จ่ายและค่าผลิต โดยใช้ทรัพยากรแต่ละจุดให้มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด เดือนกรกฎาคม บริษัทเจรจาขอวงเงินซื้อวัตถุดิบเพิ่มกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาจากสถาบันการเงิน
- เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2555 บริษัท และบริษัทย่อยได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการกับศาลล้มละลายกลางเนื่องจากมีสินทรัพย์ไม่พอจ่ายชาระหนี้สิน อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2555 ศาลได้ยกคาร้องขอฟื้นฟูกิจการข้างต้น เนื่องจากแผนการฟื้นฟูกิจการยังขาดความชัดเจน บริษัทอยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนการฟื้นฟูกิจการเพื่อยื่นคาร้องใหม่
2.ข้าพเจ้าไม่สามารถใช้วิธีการสอบทานให้เป็นที่พอใจกับบัญชีเงินสดซึ่งแสดงรายการในงบแสดงฐานะการเงินรวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2555 จำนวน 2.18 ล้านบาท และ 2.16 ล้านบาทในงบการเงินเฉพาะของบริษัท เนื่องจากบริษัทไม่สามารถจัดเตรียมเงินสดในมือ และเอกสารประกอบรายการทั้งหมดให้ข้าพเจ้าสอบทานได้ ณ วันที่เข้าสอบทาน ข้าพเจ้าไม่สามารถสรุปได้ว่าเงินสดดังกล่าวมีอยู่จริงหรือไม่ บริษัททำการค้าส่วนใหญ่ในไตรมาส 3 ปี 2555 ด้วยเงินสด ทั้งด้านการรับเงิน และการจ่ายชาระเงินโดยผู้บริหารแจ้งว่า การจ่ายชาระเงินโดยการนำเงินสดฝากเข้าธนาคารของเจ้าหนี้ ข้าพเจ้าไม่สามารถสรุปได้ว่า รายการค้ามีการบันทึกบัญชีอย่างครบถ้วนและเหมาะสมแล้วหรือไม่
บริษัทชี้แจงว่า ในวันเข้าสอบทาน บริษัทได้จัดทำรายละเอียดเงินสดในมือให้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2555 และ ณ วันที่เข้าสอบทานแก่ผู้สอบแล้ว เพียงแต่ไม่ได้มีการตรวจนับเงินสดดังกล่าว เหตุที่บริษัททำการค้าด้วยเงินสดเพราะบริษัทต้องนำเงินจากลูกค้ามาซื้อวัตถุดิบที่ต้องซื้อสด ไม่ได้ให้เครดิต และในสถานการณ์ขณะนี้บริษัทขาดเงินทุนหมุนเวียน จึงต้องหมุนรอบการค้าขายให้ไวขึ้นเพื่อที่ได้นากำไรมาเป็นค่าใช้จ่ายสาหรับเงินเดือนพนักงาน ค่าไฟฟ้า น้าประปา และค่าใช้เบ็ดเตล็ด ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ประจาเดือน โดยบริษัทได้เพิ่มเติมระเบียบการรับ-จ่าย ของบริษัท ให้แก่แผนกที่เกี่ยวข้องรับทราบถึงการควบคุมเงินสดเข้าออก มีการสรุปเงินสดประจำวันทุกสิ้นวัน และเอกสารประกอบการควบคุมอย่างชัดเจน
3.ข้าพเจ้าไม่สามารถสอบทานให้เป็นที่พอใจได้ในค่าตอบแทนของผู้บริหารซึ่งแสดงรายการในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ รวมสำหรับงวดสามเดือน และเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2555 จำนวน 3.33 ล้านบาท และ 8.28 ล้านบาท ตามลำดับ และ 3.04 ล้านบาท และ 7.39 ล้านบาท ตามลำดับ ในงบการเงินเฉพาะของบริษัท เนื่องจากบริษัทไม่มีเอกสารประกอบการบันทึกรายการอย่างเหมาะสม และมีรายละเอียดไม่ตรงกับมูลค่าที่แสดงในงบการเงิน ข้าพเจ้าไม่สามารถสรุปได้ว่าค่าตอบแทนของผู้บริหารข้างต้นบันทึกบัญชีไว้อย่างเหมาะสมหรือไม่
บริษัทชี้แจงว่า บริษัทค้างจ่ายค่าตอบแทนในส่วนของผู้บริหารตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554-มิถุนายน 2555 ระหว่างนี้มีทยอยจ่ายชาระบางส่วน และจ่ายครบในเดือน กันยายน 2555 ในการตั้งค้างจ่ายค่าตอบแทนฝ่ายบัญชีนำตัวเลขจากฝ่ายจัดทำบัญชีเงินเดือนมาตั้ง และในการทยอยจ่ายชำระนั้น บริษัทมีเหลือพอจ่ายเท่าไหร่ก็จ่ายบางส่วนไปก่อน จ่ายออกไปจึงต้องทำการกระทบยอดกับการตั้งค้างจ่ายไว้ด้วยบริษัทกำลังกระทบยอดอยู่ ว่าตั้งค้างจ่ายครบ และจ่ายครบตามอัตราค่าตอบแทนที่กำหนดไว้ และข้อมูลในการกำหนดค่าตอบแทนนั้นยังไม่สมบรูณ์เพียงพอสำหรับการตรวจสอบ
4.ข้าพเจ้าไม่สามารถสอบทานรายละเอียดประกอบรายการบัญชีเงินภาษีอากรเรียกเก็บจากกรมสรรพากร (ยังไม่รวมเงินเพิ่ม) ซึ่งแสดงไว้เป็นหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินรวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2555 จำนวน 100.22 ล้านบาท และ 75.80 ล้านบาท ในงบการเงินเฉพาะของบริษัท และแสดงเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม สำหรับงวดสามเดือน และเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2555 จำนวน 102.37 ล้านบาท และ 77.83 ล้านบาท ในงบการเงินเฉพาะของบริษัท ข้าพเจ้าไม่อาจสรุปได้ว่า รายการหนี้สิน และค่าใช้จ่ายดังกล่าวบันทึกรายการอย่างถูกต้อง และครบถ้วน
บริษัทชี้แจงว่า ทางสรรพากรพื้นที่สมุทปราการได้มีหนังสือการแจ้งหนี้เกี่ยวกับหนี้ภาษีอากรมายังบริษัท และบริษัทได้บันทึกภาระหนี้ดังกล่าวตามเอกสารที่แจ้งมาส่วนรายละเอียดทางบริษัทดำเนินการเจรจากับทางสรรพากรพื้นที่ดังกล่าวอยู่
5.ผู้สอบบัญชีไม่สามารถสอบทานหลักฐานประกอบรายการขายของบริษัทย่อย สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2555 จำนวน 24.67 ล้านบาท และลูกหนี้การค้า-ลูกค้าทั่วไป จากการขายดังกล่าว 26.40 ล้านบาท ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555 ซึ่งบริษัทได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแล้วทั้งจำนวนในงบการเงินรวม รายการดังกล่าวเคยถูกบันทึกเป็นรายการฝากขายแต่ได้ปรับเปลี่ยนเป็นรายการขายปกติโดยตั้งค่าเผื่อขาดทุนจากการเรียกเก็บเงินไม่ได้ทั้งจำนวน ผู้สอบบัญชีไม่อาจพิจารณาได้ว่ารายการดังกล่าวเป็นรายการที่มีเงื่อนไขทางการค้าตามปกติ
บริษัทชี้แจงว่า ผู้สอบบัญชีไม่สามารถสอบทานหลักฐานประกอบรายการขายของบริษัทย่อย โดยผู้สอบบัญชีได้ขอเอกสารใบสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า ใบส่งสินค้า และใบวางบิล เพื่อตรวจสอบการขาย บริษัทฯได้ชี้แจงกระบวนการขาย และนำเอกสารดังต่อไปนี้ให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบทั้งหมดแล้ว 1.ใบยืนยันการสั่งซื้อ (ใบสั่งซื้อจากลูกค้า) 2.ใบอนุมัติการขาย 3.ใบส่งสินค้า/ใบกำกับภาษี 4.ใบวางบิลในการบันทึกรายการฝากขาย บริษัทฯ ได้นำสินค้ารายการดังกล่าวไปฝากขายในเดือนพฤศจิกายน 2554 กับทางร้านค้าเพื่อเสนอขาย และกระจายสินค้าให้ทั่วถึงแก่ผู้ใช้โดยตรง ในการฝากขาย ทางบริษัทจะไม่มีการบันทึกรายได้จากการฝากขาย แต่จะบันทึกโดยหมายเหตุในรายการสต๊อกว่าสินค้านำไปฝากขาย เมื่อสินค้าดังกล่าวขายได้แล้ว ทางลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้ากับบริษัทโดยทำใบสั่งซื้อสินค้า หรือใบยืนยันการสั่งซื้อ หลังจากนั้น บริษัททำใบส่งสินค้า/ใบกำกับภาษี เพื่อส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า และบันทึกรายได้จากการขายเป็นรายการขายตามปกติ ในส่วนของการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งจำนวน มาจากอายุของลูกหนี้เกินกำหนดเงื่อนไขที่ลูกค้าได้รับจากบริษัท ขณะนี้ ทางบริษัทอยู่ระหว่างการติดตามหนี้โดยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายติดตาม และเร่งรัดกับลูกค้า