xs
xsm
sm
md
lg

ปตท.ไตรมาส 3 กำไร 3.6 หมื่นล้าน-แต่งวด 9 เดือนกำไรลด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ปตท.โชว์กำไรสุทธิไตรมาสสาม 3.6 หมื่นล้าน จากผลดำเนินงานที่ดีขึ้นของ ปตท.สผ. ขณะที่งวด 9 เดือนกำไร 8.1 หมื่นล้าน ลดลงจากงวดเดียวกันปีก่อนที่มีกำไร 8.8 หมื่นล้านบาท จากกำไรการสต๊อกน้ำมัน และผลดำเนินงานในธุรกิจปิโตรเคมีลดลง

    บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (PTT)  รายงานผลดำเนินงานไตรมาส3  มีกำไรสุทธิ 36,054.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3/54 ที่มีจำนวน 21,470.60 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 12.62 บาท เพิ่มขึ้นจาก 7.52 บาท ในไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่ผลดำเนินงานงวด 9 เดือนปี 2555 ปตท. มีกำไรสุทธิ 81,953.59 ล้านบาท ขณะที่งวด 9 เดือนปี 2554 บริษัทมีกำไร 88,669.90 ล้านบาท

    โดยภาพผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 3 ปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ปตท. รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ใน Q3/2555 ปตท. และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจำนวน 686,025 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก Q3/2554 ร้อยละ 5.8 แม้ว่าราคาเฉลี่ยของน้ำมันดิบดูไบลดลงจาก 107.1 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลใน Q3/2554 เหลือ 106.3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลใน Q3/2555 ในขณะที่กำไรก่อนหักต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น และรายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน (EBITDA) เพิ่มขึ้นจานวน 3,423 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากผลประกอบการที่ดีขึ้นของบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.)

     นอกจากนี้ ใน Q3/2555 ปตท. และบริษัทย่อยมีส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม จำนวน 13,217 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 195.8 เมื่อเทียบกับ Q3/2554 จากผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจการกลั่น และกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีที่มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น แม้ว่าใน Q3/2555 ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และปัญหาวิกฤตหนี้ยุโรปยังคงยืดเยื้อ แต่อุปทานของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ตึงตัว จากการที่โรงกลั่นน้ำมันปิดดาเนินการทั้งตามแผนและฉุกเฉิน เช่น เหตุไฟไหม้ที่โรงกลั่น Richmond ของ Chevron ในสหรัฐฯ และโรงกลั่น Amuay ของ PDVSA ในเวเนซุเอลา ส่งผลให้ค่าการกลั่น (GRM) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ Q3/2554 ในขณะที่กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีมีผลการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น จากส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบ (Spread Margin) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ Ethylene จากการหยุดการผลิตตามแผนและหยุดฉุกเฉิน รวมทั้งการลดกำลังการผลิตของ Naphtha Cracker ในเอเชีย ทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือลดลง รวมทั้ง Spread Margin ของ Benzene ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากโรงโอเลฟินส์หลายแห่ง โดยเฉพาะในเอเชีย สหรัฐฯ และยุโรป ยังคงลดกาลังการผลิต เนื่องจากความต้องการสารโอเลฟินส์อยู่ในระดับต่ำส่งผลให้สารเบนซีนที่เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ผลิตออกมาสู่ตลาดน้อยลง รวมทั้งมีการปิดซ่อมบำรุงตามแผนใน Q3/2555
 
ขณะเดียวกัน ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 3,408 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 163.6 จาก Q3/2554 ที่มีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 5,362 ล้านบาท รวมทั้ง ใน Q3/2555 ปตท. และบริษัทย่อยมีค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ จำนวน 8,935 ล้านบาท ลดลงจาก Q3/2554 จำนวน 1,443 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 13.9 ส่งผลให้ใน Q3/2555 ปตท. และบริษัทย่อยมี กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 14,583 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.9 จากกำไรสุทธิ 21,471 ล้านบาทใน Q3/2554 (หรือคิดเป็น 7.52 บาทต่อหุ้น) เป็นกำไรสุทธิ 36,054 ล้านบาทใน Q3/2555 (หรือคิดเป็น 12.62 บาทต่อหุ้น)
 

ส่วนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 (9M/2555) ปตท. และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขาย จำนวน 2,060,947 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 9M/2554 ร้อยละ 12.5 เป็นผลมาจากราคาขายผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาเฉลี่ยของน้ำมันดิบดูไบเพิ่มขึ้นจาก 106.1 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลใน 9M/2554 เป็น 109.6 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลใน 9M/2555 ส่งผลให้ EBITDA เพิ่มขึ้น จำนวน 14,755 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากผลประกอบการที่ดีขึ้นของ ปตท.สผ.และหน่วยธุรกิจน้ำมัน ใน 9M/2555 ปตท.
 
ขณะที่บริษัทย่อยมีส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม จำนวน 19,152 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 26.7 เมื่อเทียบกับ 9M/2554 จากผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจการกลั่นที่ลดลง แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับ 9M/2554 แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และปัญหาวิกฤตหนี้ยุโรปที่ยังคงยืดเยื้อ ส่งผลให้ตลาดน้ำมันมีความผันผวน ประกอบกับใน 9M/2554 เป็นช่วงอุปทานตึงตัวจากเหตุการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลาง ทำให้เมื่อเทียบกับ 9M/2554 แล้วงวด 9M/2555 มีกำไรจากสต๊อกน้ำมันลดลง

ส่วนผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีมีผลการดำเนินงานที่ลดลง จาก Spread Margin ที่ปรับตัวลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะ LDPE ที่ราคาผลิตภัณฑ์ยังคงอ่อนตัวลงตามสภาพเศรษฐกิจของยุโรป ซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ใน 9M/2554 ตลาดพาราไซลีนได้รับแรงหนุนจากภาวะอุปทานตึงตัว จากปัญหาการหยุดผลิตของโรงพาราไซลีนหลายแห่ง รวมทั้งอุปสงค์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากจากโรงพีทีเอแห่งใหม่ที่ประเทศจีนซึ่งเข้ามาในระบบอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ 9M/2555 ตลาดพาราไซลีนได้รับแรงกดดันจากโรงพีทีเอหลายแห่งที่ประสบภาวะขาดทุน จนต้องลดกาลังการผลิตลง ส่งผลให้ Spread Margin ของพาราไซลีนลดลง เมื่อเทียบกับ 9M/2554

นอกจากนี้ั  9M/2555 ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 4,038 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 360.1 จาก 9M/2554 ที่มีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน จานวน 1,552 ล้านบาท และ 9M/2555 มีค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ จำนวน 34,061 ล้านบาท ลดลงจาก 9M/2554 จานวน 1,534 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 4.3 อย่างไรก็ตาม ใน 9M/2555 PTTI มีการรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุนใน EMG จำนวน 3,972 ล้านบาท รวมทั้ง ปตท.สผ. มีการรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์แหล่งมอนทารา จำนวน 3,455 ล้านบาท ส่งผลให้ใน 9M/2555 ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิลดลง 6,716 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 7.6 จากกำไรสุทธิ 88,670 ล้านบาทใน 9M/2554 (หรือคิดเป็น 31.09 บาทต่อหุ้น) เป็นกำไรสุทธิ 81,954 ล้านบาทใน 9M/2555 (หรือคิดเป็น 28.69 บาทต่อหุ้น) ทั้งนี้ กำไรสุทธิดังกล่าวเป็นกำไรจากผลประกอบการของ ปตท. ประมาณร้อยละ 46 อีกร้อยละ 54 เป็นผลประกอบการของบริษัทในเครือตามสัดส่วนการลงทุน
กำลังโหลดความคิดเห็น