ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ทฯ ไตรมาส 3 กำไร 129 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 118 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่ม
ขึ้น 1,089% ผลจากยอดขายเพิ่ม ขณะที่ต้นทุนต่ำลงดันตัวเลขมาร์จิ้นพุ่ง อีกทั้งรับเงินชดเชยจากภาวะน้ำท่วม
นายไมตรี ตั้งษณกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SPPT แจ้งผลงานไตรมาส 3 ปีนี้พบว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 128.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 10.82 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 117.89 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้น 1,089.55% ผลจากยอดขายที่เติบโต และต้นทุนต่ำลง อีกทั้งรับเงินชดเชยจากน้ำท่วม
โดยไตรมาสนี้ บริษัทมีรายได้รวมของบริษัท และบริษัทย่อย Q3/55 จำนวน 245.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดบัญชีเดียวกันของปีก่อน 62.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 33.8% ทั้งรายได้จากการขาย การรับจ้าง และค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 123.1 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 53.2 ล้านบาท หรือลดลง 30.2% เกิดจากรายได้จากการขายกลุ่มสินค้าConsumer Electronic & Entertainment (CE&E) 42.5 ล้านบาท ลดลง 23.6 ล้านบาท หรือลดลง 35.7% และรายได้จากการขายของกลุ่มสินค้า Auto & Machine Parts จำ 8.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 27.3% และรายได้จากการขายของกลุ่มธุรกิจ Hard Disk Drive (HDD) จำนวน 55.5 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 16 ล้านบาท หรือ ลดลง 22.4% ไม่มีรายได้จากสายงานการประกอบ และขายวัตถุดิบในงวดบัญชีนี้ รายได้จากค่าเช่า และจากการขายของบริษัทย่อยในงวดบัญชีนี้ 17 ล้านบาท ลดลง 15.3 ล้านบาท หรือลดลง 47.4% จากปีก่อน ส่วนรายได้อื่นซึ่งมาจากการขายเศษวัตถุดิบที่เกิดจากกระบวนการผลิต ทั้งทองเหลือง และสเตนเลส เงินชดเชยจากเหตุการณ์อุทกภัย กำไรจากหลักทรัพย์เพื่อค้า กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ล้วนเพิ่มขึ้น
สำหรับต้นทุนขายไตรมาสนี้ ลดลงจากงวดนี้ปีก่อน ผลจากเงินเดือน และค่าจ้างการผลิตลดลงเนื่องจากการเลิกจ้างพนักงานในสายงานการผลิตตั้งแต่ Q4/54 และ Q1/55 และมีผลกระทบต่อเนื่องมาในงวดปัจจุบัน ต้นทุนประจำ และค่าเสื่อมราคาเครืองจักร และอุปกรณ์การผลิตลดลงมาก เนื่องจากการตัดบัญชีสินทรัพย์ที่เสียหายจากอุทกภัย กอปรกับปริมาณการผลิตลดลงโดยรวม ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่มีอัตรากำไรขั้นต้นของไตรมาส 3 ปีนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 10% เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่เป็นต้นทุนคงที่ (Fixed Plant Cost) จากเงินเดือน และค่าจ้างการผลิต และค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร และอุปกรณ์ลดลงจำนวนมาก จากการตัดบัญชีสินทรัพย์ที่เสียหายจากอุทกภัย และประสิทธิภาพในการบริหารและการควบคุมการใช้ และต้นทุนวัตถุดิบได้ดี
ขึ้น 1,089% ผลจากยอดขายเพิ่ม ขณะที่ต้นทุนต่ำลงดันตัวเลขมาร์จิ้นพุ่ง อีกทั้งรับเงินชดเชยจากภาวะน้ำท่วม
นายไมตรี ตั้งษณกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SPPT แจ้งผลงานไตรมาส 3 ปีนี้พบว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 128.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 10.82 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 117.89 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้น 1,089.55% ผลจากยอดขายที่เติบโต และต้นทุนต่ำลง อีกทั้งรับเงินชดเชยจากน้ำท่วม
โดยไตรมาสนี้ บริษัทมีรายได้รวมของบริษัท และบริษัทย่อย Q3/55 จำนวน 245.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดบัญชีเดียวกันของปีก่อน 62.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 33.8% ทั้งรายได้จากการขาย การรับจ้าง และค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 123.1 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 53.2 ล้านบาท หรือลดลง 30.2% เกิดจากรายได้จากการขายกลุ่มสินค้าConsumer Electronic & Entertainment (CE&E) 42.5 ล้านบาท ลดลง 23.6 ล้านบาท หรือลดลง 35.7% และรายได้จากการขายของกลุ่มสินค้า Auto & Machine Parts จำ 8.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 27.3% และรายได้จากการขายของกลุ่มธุรกิจ Hard Disk Drive (HDD) จำนวน 55.5 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 16 ล้านบาท หรือ ลดลง 22.4% ไม่มีรายได้จากสายงานการประกอบ และขายวัตถุดิบในงวดบัญชีนี้ รายได้จากค่าเช่า และจากการขายของบริษัทย่อยในงวดบัญชีนี้ 17 ล้านบาท ลดลง 15.3 ล้านบาท หรือลดลง 47.4% จากปีก่อน ส่วนรายได้อื่นซึ่งมาจากการขายเศษวัตถุดิบที่เกิดจากกระบวนการผลิต ทั้งทองเหลือง และสเตนเลส เงินชดเชยจากเหตุการณ์อุทกภัย กำไรจากหลักทรัพย์เพื่อค้า กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ล้วนเพิ่มขึ้น
สำหรับต้นทุนขายไตรมาสนี้ ลดลงจากงวดนี้ปีก่อน ผลจากเงินเดือน และค่าจ้างการผลิตลดลงเนื่องจากการเลิกจ้างพนักงานในสายงานการผลิตตั้งแต่ Q4/54 และ Q1/55 และมีผลกระทบต่อเนื่องมาในงวดปัจจุบัน ต้นทุนประจำ และค่าเสื่อมราคาเครืองจักร และอุปกรณ์การผลิตลดลงมาก เนื่องจากการตัดบัญชีสินทรัพย์ที่เสียหายจากอุทกภัย กอปรกับปริมาณการผลิตลดลงโดยรวม ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่มีอัตรากำไรขั้นต้นของไตรมาส 3 ปีนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 10% เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่เป็นต้นทุนคงที่ (Fixed Plant Cost) จากเงินเดือน และค่าจ้างการผลิต และค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร และอุปกรณ์ลดลงจำนวนมาก จากการตัดบัญชีสินทรัพย์ที่เสียหายจากอุทกภัย และประสิทธิภาพในการบริหารและการควบคุมการใช้ และต้นทุนวัตถุดิบได้ดี