กรมบัญชีกลางชะลอ 1 โรคเรื้อรัง 1 โรงพยาบาล เนื่องจากโรงพยาบาลหลายแห่งยังไม่พร้อม ทั้งระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับข้อกำหนดการใช้ยากลูโคซามีน หลังจากทำการศึกษาแล้วพบว่า เป็นเพียงอาหารเสริม และใช้งบสูงถึง 900 ล้านบาท ยังคงยืนมาตรการเดิม
นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า หลังจากกรมบัญชีกลางส่งหนังสือเวียนไปยังส่วนราชการต่างๆ ในการเดินหน้าโครงการ 1 โรคเรื้อรัง 1 โรงพยาบาล เพื่อให้ข้าราชการลงทะเบียนภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 และเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2555 นััั้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องได้รับยารักษาไม่ซับซ้อน สะดวกต่อการบริหารจัดการในการเบิกจ่ายตรง แต่หลังจากมีข้อเรียกร้องจากกรรมาธิการของสภา กระทรวงสาธารณสุข ผู้ป่วย และข้าราชการระบุว่า โครงการดังกล่าวเป็นการลิดรอนสิทธิจำกัดการรักษา เพราะกำหนดตายตัวอาจเปลี่ยนโรงพยาบาลไม่ได้ คณะกรรมการบริหารสวัสดิการจึงได้ประชุมหารือเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวในวันที่ 24 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา เห็นชอบร่วมกันให้ขยายเวลาออกไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากโรงพยาบาลหลายแห่งยังไม่พร้อม ทั้งระบบคอมพิวเตอร์ จึงเตรียมส่งหนังสือเวียนทบทวนโครงการไปยังส่วนราชการให้รับทราบ
สำหรับข้อกำหนดการใช้ยากลูโคซามีน หลังจากทำการศึกษาแล้วพบว่า เป็นเพียงอาหารเสริม จึงมีคำสั่งให้ส่วนราชการยกเลิกใช้ยานอกในการรักษานั้น ข้อกำหนดดังกล่าวยังคงเดินหน้าไปเหมือนเดิม ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 เพราะกลุ่มยาดังกล่าวใช้งบสูงถึง 900 ล้านบาทต่อปี แต่ขณะนี้ ต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับฝ่ายต่างๆ ที่เี่ยวข้องโดยผู้ที่เตรียมฟ้องร้อง และอาจเป็นเวทีสัมมนาชี้แจงแนวทางดังกล่าวให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น
ส่วนระเบียบกรมบัญชีกลางเกี่ยวกับการใช้ยานอกบัญชีในการรักษานั้น ข้าราชการไม่ต้องกังวล เพราะข้อกำหนดที่ออกมานั้นอนุญาตให้แพทย์ผู้ทำการรักษาพิจารณาใช้ยานอกบัญชีหลักได้ โดยไม่มีการห้ามเพียงแต่ให้อธิบายเหตุผลในการใช้ยาดังกล่าว ส่วนกรณีแพทย์บางรายไม่ยอมใช้ยานอกบัญชีหลักนั้น อาจไม่ต้องการชี้แจงเหตุผลการใช้ยาดังกล่าว ยืนยันว่าไม่ได้ห้ามใช้ยาหลักทั้งหมด
นายมนัส กล่าวว่า สำหรับแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล หลังจากงบประมาณปี 2555 ได้รับจัดสรรงบประมาณ 61,844 ล้านบาท เมื่อขอความร่วมมือให้เบิกจ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ได้มีการเบิกจ่ายจริง 61,587 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 256 ล้านบาท สำหรับงบประมาณปี 2556 ได้รับจัดสรรงบประมาณ 60,000 ล้านบาท กรมบัญชีกลางมีเป้าหมายเบิกจ่ายให้ได้ตามที่งบตั้งไว้
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าเงินที่ประหยัดได้บางส่วนจะนำไปปรับปรุงคุณภาพการให้บริการแก่ข้าราชการผู้ป่วยให้ดีขึ้น เช่น ค่าห้องเบิกจ่ายได้คืนละ 600 บาท คงต้องปรับขึ้นให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน รวมถึงหูเทียม อวัยวะเทียมที่มีราคาสูงขึ้น จึงต้องปรับสวัสดิการต่างๆ เหล่านี้ได้รับการเบิกจ่ายให้สูงขึ้น ทั้งนี้ เพื่อต้องการเข้มงวดการเบิกจ่ายที่ไม่จำเป็น ซ้ำซ้อนในช่วงที่ผ่านมา เพื่อนำเงินไปปรับปรุงสวัสดิการในส่วนที่จำเป็นมากขึ้น
นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า หลังจากกรมบัญชีกลางส่งหนังสือเวียนไปยังส่วนราชการต่างๆ ในการเดินหน้าโครงการ 1 โรคเรื้อรัง 1 โรงพยาบาล เพื่อให้ข้าราชการลงทะเบียนภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 และเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2555 นััั้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องได้รับยารักษาไม่ซับซ้อน สะดวกต่อการบริหารจัดการในการเบิกจ่ายตรง แต่หลังจากมีข้อเรียกร้องจากกรรมาธิการของสภา กระทรวงสาธารณสุข ผู้ป่วย และข้าราชการระบุว่า โครงการดังกล่าวเป็นการลิดรอนสิทธิจำกัดการรักษา เพราะกำหนดตายตัวอาจเปลี่ยนโรงพยาบาลไม่ได้ คณะกรรมการบริหารสวัสดิการจึงได้ประชุมหารือเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวในวันที่ 24 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา เห็นชอบร่วมกันให้ขยายเวลาออกไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากโรงพยาบาลหลายแห่งยังไม่พร้อม ทั้งระบบคอมพิวเตอร์ จึงเตรียมส่งหนังสือเวียนทบทวนโครงการไปยังส่วนราชการให้รับทราบ
สำหรับข้อกำหนดการใช้ยากลูโคซามีน หลังจากทำการศึกษาแล้วพบว่า เป็นเพียงอาหารเสริม จึงมีคำสั่งให้ส่วนราชการยกเลิกใช้ยานอกในการรักษานั้น ข้อกำหนดดังกล่าวยังคงเดินหน้าไปเหมือนเดิม ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 เพราะกลุ่มยาดังกล่าวใช้งบสูงถึง 900 ล้านบาทต่อปี แต่ขณะนี้ ต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับฝ่ายต่างๆ ที่เี่ยวข้องโดยผู้ที่เตรียมฟ้องร้อง และอาจเป็นเวทีสัมมนาชี้แจงแนวทางดังกล่าวให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น
ส่วนระเบียบกรมบัญชีกลางเกี่ยวกับการใช้ยานอกบัญชีในการรักษานั้น ข้าราชการไม่ต้องกังวล เพราะข้อกำหนดที่ออกมานั้นอนุญาตให้แพทย์ผู้ทำการรักษาพิจารณาใช้ยานอกบัญชีหลักได้ โดยไม่มีการห้ามเพียงแต่ให้อธิบายเหตุผลในการใช้ยาดังกล่าว ส่วนกรณีแพทย์บางรายไม่ยอมใช้ยานอกบัญชีหลักนั้น อาจไม่ต้องการชี้แจงเหตุผลการใช้ยาดังกล่าว ยืนยันว่าไม่ได้ห้ามใช้ยาหลักทั้งหมด
นายมนัส กล่าวว่า สำหรับแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล หลังจากงบประมาณปี 2555 ได้รับจัดสรรงบประมาณ 61,844 ล้านบาท เมื่อขอความร่วมมือให้เบิกจ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ได้มีการเบิกจ่ายจริง 61,587 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 256 ล้านบาท สำหรับงบประมาณปี 2556 ได้รับจัดสรรงบประมาณ 60,000 ล้านบาท กรมบัญชีกลางมีเป้าหมายเบิกจ่ายให้ได้ตามที่งบตั้งไว้
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าเงินที่ประหยัดได้บางส่วนจะนำไปปรับปรุงคุณภาพการให้บริการแก่ข้าราชการผู้ป่วยให้ดีขึ้น เช่น ค่าห้องเบิกจ่ายได้คืนละ 600 บาท คงต้องปรับขึ้นให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน รวมถึงหูเทียม อวัยวะเทียมที่มีราคาสูงขึ้น จึงต้องปรับสวัสดิการต่างๆ เหล่านี้ได้รับการเบิกจ่ายให้สูงขึ้น ทั้งนี้ เพื่อต้องการเข้มงวดการเบิกจ่ายที่ไม่จำเป็น ซ้ำซ้อนในช่วงที่ผ่านมา เพื่อนำเงินไปปรับปรุงสวัสดิการในส่วนที่จำเป็นมากขึ้น