หลังน้ำลด ยอดเอ็นพีแอลสินเชื่อส่วนบุคคล-ธุรกิจบัตรเครดิตพุ่งกระฉูด สินเชื่อส่วนบุคคลพุ่งถึง 29.42% ขณะที่ยอดขอสินเชื่อเพิ่มขึ้นกว่า 3 หมื่นล้านบาท ส่วนธุรกิจบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 9.21% และมีปริมาณการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของการใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้น 9,269 ล้านบาท และการใช้จ่ายในต่างประเทศเพิ่มขึ้นในแง่สัดส่วนสูงถึง 25.36% แต่การเบิกเงินสดล่วงหน้าร่วงถึง 23.91% ส่วนยอดสินเชื่อเพิ่มขึ้นเกือบ 2 หมื่นล้านบาท
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินได้ประกาศตัวเลขสำคัญของสินเชื่อส่วนบุคคลล่าสุด ณ สิ้นเดือน มิ.ย.ของปีนี้ พบว่า หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในส่วนของธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยข้อมูลล่าสุด สินเชื่อส่วนบุคคลมียอดคงค้างเอ็นพีแอลอยู่ที่ 6,749 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.62% หรือเพิ่มขึ้นมูลค่า 592 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้เป็นการเพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์ถึง 532 ล้านบาท และเมื่อพิจารณาเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นมากถึง 29.42% หรือคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้น 1,534 ล้านบาท
ขณะที่เมื่อพิจารณาปริมาณสินเชื่อส่วนบุคคลมียอดคงค้างทั้งสิ้น 228,173 ล้านบาท ณ สิ้นเดือน มิ.ย.เพิ่มขึ้น 5.19% หรือสินเชื่อส่วนนี้เพิ่มขึ้น 11,263 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นถึง 15.61% หรือ 30,813 ล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์ และผู้ประกอบการธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) 25,357 ล้านบาท และ 8,345 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่สาขาธนาคารต่างชาติกลับลดลง 2,889 ล้านบาท ส่วนจำนวนบัญชีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน เพิ่มขึ้น 243,197 บัญชี เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 613,686 บัญชี หรือคิดเป็น 7.15% เทียบระยะเดียวกันปีก่อน
ส่วนข้อมูลล่าสุดของธุรกิจบัตรเครดิต ณ สิ้นเดือน มิ.ย.ของปี 55 พบว่า ในระบบมียอดคงค้างเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 5,229.92 ล้านบาท แม้เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง 2.56% ซึ่งเป็นผลจากยอดผู้ประกอบการนอนแบงก์ลดลงเป็นสำคัญ แต่ธนาคารพาณิชย์ยังมียอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นอยู่ แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ภาพกลับพลิกกลายเป็นเพิ่มขึ้น 9.21% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากผู้ประกอบการทุกประเภทที่ให้บริการสินเชื่อบัตรเครดิต
เมื่อพิจารณาปริมาณการใช้จ่ายมียอดคงค้างทั้งสิ้น 99,515.25 ล้านบาท โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ลดลง 6.61% หรือลดลง 7,048 ล้านบาท โดยลดลงทั้งการใช้จ่ายภายใน และนอกประเทศ รวมไปถึงยอดการเบิกเงินสดล่วงหน้า แต่ที่ลดลงมากที่สุด คือ การใช้จ่ายในประเทศถึง 6,208 ล้านบาท หรือประมาณ 7.06% ส่วนยอดขอสินเชื่อเพิ่มขึ้น 5,841 ล้านบาท และจำนวนบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 352,069 ใบ
อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับเดือน มิ.ย.ปี 55 กับเดือน มิ.ย.54 พบว่า ตัวปริมาณการใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 7.09% หรือเพิ่มขึ้น 6,590 ล้านบาท ซึ่งในแง่ปริมาณการใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้นมากที่สุด 9,269 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 12.79% เช่นเดียวกับปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง 25.36% ขณะที่การเบิกเงินสดล่วงหน้ากลับสวนกระแส มีสัดส่วนลดลงถึง 23.91% หรือมียอดลดลง 3,815 ล้านบาท ด้านยอดสินเชื่อ และจำนวนบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 19,439 ล้านบาท หรือ 9.62% และ 1,315,173 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8.97%
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินได้ประกาศตัวเลขสำคัญของสินเชื่อส่วนบุคคลล่าสุด ณ สิ้นเดือน มิ.ย.ของปีนี้ พบว่า หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในส่วนของธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยข้อมูลล่าสุด สินเชื่อส่วนบุคคลมียอดคงค้างเอ็นพีแอลอยู่ที่ 6,749 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.62% หรือเพิ่มขึ้นมูลค่า 592 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้เป็นการเพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์ถึง 532 ล้านบาท และเมื่อพิจารณาเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นมากถึง 29.42% หรือคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้น 1,534 ล้านบาท
ขณะที่เมื่อพิจารณาปริมาณสินเชื่อส่วนบุคคลมียอดคงค้างทั้งสิ้น 228,173 ล้านบาท ณ สิ้นเดือน มิ.ย.เพิ่มขึ้น 5.19% หรือสินเชื่อส่วนนี้เพิ่มขึ้น 11,263 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นถึง 15.61% หรือ 30,813 ล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์ และผู้ประกอบการธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) 25,357 ล้านบาท และ 8,345 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่สาขาธนาคารต่างชาติกลับลดลง 2,889 ล้านบาท ส่วนจำนวนบัญชีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน เพิ่มขึ้น 243,197 บัญชี เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 613,686 บัญชี หรือคิดเป็น 7.15% เทียบระยะเดียวกันปีก่อน
ส่วนข้อมูลล่าสุดของธุรกิจบัตรเครดิต ณ สิ้นเดือน มิ.ย.ของปี 55 พบว่า ในระบบมียอดคงค้างเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 5,229.92 ล้านบาท แม้เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง 2.56% ซึ่งเป็นผลจากยอดผู้ประกอบการนอนแบงก์ลดลงเป็นสำคัญ แต่ธนาคารพาณิชย์ยังมียอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นอยู่ แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ภาพกลับพลิกกลายเป็นเพิ่มขึ้น 9.21% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากผู้ประกอบการทุกประเภทที่ให้บริการสินเชื่อบัตรเครดิต
เมื่อพิจารณาปริมาณการใช้จ่ายมียอดคงค้างทั้งสิ้น 99,515.25 ล้านบาท โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ลดลง 6.61% หรือลดลง 7,048 ล้านบาท โดยลดลงทั้งการใช้จ่ายภายใน และนอกประเทศ รวมไปถึงยอดการเบิกเงินสดล่วงหน้า แต่ที่ลดลงมากที่สุด คือ การใช้จ่ายในประเทศถึง 6,208 ล้านบาท หรือประมาณ 7.06% ส่วนยอดขอสินเชื่อเพิ่มขึ้น 5,841 ล้านบาท และจำนวนบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 352,069 ใบ
อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับเดือน มิ.ย.ปี 55 กับเดือน มิ.ย.54 พบว่า ตัวปริมาณการใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 7.09% หรือเพิ่มขึ้น 6,590 ล้านบาท ซึ่งในแง่ปริมาณการใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้นมากที่สุด 9,269 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 12.79% เช่นเดียวกับปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง 25.36% ขณะที่การเบิกเงินสดล่วงหน้ากลับสวนกระแส มีสัดส่วนลดลงถึง 23.91% หรือมียอดลดลง 3,815 ล้านบาท ด้านยอดสินเชื่อ และจำนวนบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 19,439 ล้านบาท หรือ 9.62% และ 1,315,173 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8.97%