ศาลอาญามีคำพิพากษาว่า “วิชัย ชัยสถาพร” อดีตประธานกรรมการ และกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท นิปปอนแพ็ค (ประเทศไทย) มีความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 281/2, 307, 308, 311, 312 และ 313 กรณีทุจริต เบียดบังยักยอกทรัพย์สินของบริษัท รวมถึงปลอมแปลงเอกสาร และลงบัญชีเป็นเท็จ จึงพิพากษาลงโทษจำคุก 20 ปี โดยโทษจำคุกรอลงอาญา 3 ปี และปรับ 2,540,000 บาท
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2553 ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษ นายวิชัย ชัยสถาพร กรณีกระทำผิดหน้าที่โดยทุจริต เบียดบังยักยอกทรัพย์สินของบริษัทมาเป็นของตนเอง และบุคคลอื่น โดยได้ปลอมแปลงเอกสารในการสั่งซื้อหลักทรัพย์ เพื่อลวงให้บริษัทจ่ายเงินออกจากบัญชีให้แก่ตนเอง และบุคคลอื่น และได้ยักยอกหลักทรัพย์ และเงินค่าขายหน่วยลงทุนของบริษัทไปเป็นของตน ทำให้ได้รับประโยชน์เป็นเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 179.6 ล้านบาท จนทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย รวมทั้งได้ปลอมแปลงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัท ทำให้บัญชีของบริษัทแสดงเงินลงทุนในหลักทรัพย์และบัญชีรายได้ไม่ตรงกับความเป็นจริงเพื่อลวงบุคคลอื่น ซึ่งเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 281/2 วรรคสอง ประกอบมาตรา 89/7, 307, 308, 311, 312 และ 313 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ หลังจากที่นายวิชัยได้มาสารภาพความผิดต่อ ก.ล.ต. และ ก.ล.ต. ตรวจพบว่า นายวิชัยได้กระทำความผิดจริง
โดยวานนี้ (7 ส.ค.) ศาลอาญามีคำพิพากษาว่า นายวิชัย ชัยสถาพร มีความผิดตามมาตรา 281/2, 307, 308, 311, 312 และ 313 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ โดยการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามมาตรา 91 ประมวลกฎหมายอาญา โดยลงโทษ (1) ฐานเป็นกรรมการไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต โดยทุจริต รวม 18 กระทง จำคุกกระทงละ 3 ปี และปรับกระทงละ 60,000 บาท รวมเป็นจำคุก 54 ปี และปรับ 1,080,000 บาท (2) ฐานเป็นกรรมการเบียดบังเอาทรัพย์สินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไปโดยทุจริต จำคุก 5 ปี และปรับ 500,000 บาท (3) ฐานเป็นกรรมการกระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใดๆ โดยทุจริต รวม 6 กระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี และปรับกระทงละ 500,000 บาท รวมเป็นจำคุก 30 ปี และปรับ 3,000,000 บาท และ (4) ฐานเป็นกรรมการกระทำการเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และลงข้อความเท็จในบัญชี หรือเอกสาร หรือทำบัญชีไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้อง จำคุก 5 ปี และปรับ 500,000 บาท รวมจำคุก 94 ปี ปรับ 5,080,000 บาท
แต่เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ จึงลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 47 ปี และปรับรวม 2,540,000 บาท แต่เนื่องจากโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 10 ปี จึงลงโทษจำคุกเพียง 20 ปี* ตามมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และเนื่องจากจำเลยเป็นผู้สารภาพผิดต่อ ก.ล.ต. และการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเฉพาะต่อ NIPPON เท่านั้น ยังไม่ปรากฏว่ามีความเสียหายใดๆ ต่อสาธารณชน รวมถึงจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดคืน NIPPON แล้ว การกระทำของจำเลยจึงถือเป็นการสำนึกผิด และได้บรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้นแก่ผู้เสียหายแล้ว โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 3 ปี ตามมาตรา 56 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
นอกจากนี้ ศาลได้มีคำสั่งเพิกถอนการอายัดทรัพย์สินของจำเลย เนื่องจากเห็นว่า จำเลยได้นำเงินมาชำระคืนแก่ผู้เสียหายครบถ้วน และคดีนี้ ศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะอายัดทรัพย์สินของจำเลยอีกต่อไป
นายวสันต์ เทียนหอม รองเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า “ก.ล.ต. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนไทยได้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นแก่ทุกภาคส่วน ซึ่งการดำเนินคดีนี้ เป็นผลสำเร็จ และสามารถเยียวยาค่าเสียหายให้แก่ NIPPON ได้ เกิดจากการประสานความร่วมมือและปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพของบุคลากรเจ้าของสำนวนคดี ได้แก่ พนักงานสอบสวน สำนักคดีการเงินการธนาคาร กรมสอบสวนคดีพิเศษ และพนักงานอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด”
อนึ่ง ยังมีพฤติกรรมทุจริตลักษณะทำนองเดียวกันนี้ของนายวิชัย ที่ ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษเพิ่มเติมไปเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2554 อยู่ระหว่างการพิจารณาสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ แต่ NIPPON ได้รับการเยียวยาความเสียหายดังกล่าวแล้ว
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2553 ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษ นายวิชัย ชัยสถาพร กรณีกระทำผิดหน้าที่โดยทุจริต เบียดบังยักยอกทรัพย์สินของบริษัทมาเป็นของตนเอง และบุคคลอื่น โดยได้ปลอมแปลงเอกสารในการสั่งซื้อหลักทรัพย์ เพื่อลวงให้บริษัทจ่ายเงินออกจากบัญชีให้แก่ตนเอง และบุคคลอื่น และได้ยักยอกหลักทรัพย์ และเงินค่าขายหน่วยลงทุนของบริษัทไปเป็นของตน ทำให้ได้รับประโยชน์เป็นเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 179.6 ล้านบาท จนทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย รวมทั้งได้ปลอมแปลงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัท ทำให้บัญชีของบริษัทแสดงเงินลงทุนในหลักทรัพย์และบัญชีรายได้ไม่ตรงกับความเป็นจริงเพื่อลวงบุคคลอื่น ซึ่งเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 281/2 วรรคสอง ประกอบมาตรา 89/7, 307, 308, 311, 312 และ 313 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ หลังจากที่นายวิชัยได้มาสารภาพความผิดต่อ ก.ล.ต. และ ก.ล.ต. ตรวจพบว่า นายวิชัยได้กระทำความผิดจริง
โดยวานนี้ (7 ส.ค.) ศาลอาญามีคำพิพากษาว่า นายวิชัย ชัยสถาพร มีความผิดตามมาตรา 281/2, 307, 308, 311, 312 และ 313 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ โดยการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามมาตรา 91 ประมวลกฎหมายอาญา โดยลงโทษ (1) ฐานเป็นกรรมการไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต โดยทุจริต รวม 18 กระทง จำคุกกระทงละ 3 ปี และปรับกระทงละ 60,000 บาท รวมเป็นจำคุก 54 ปี และปรับ 1,080,000 บาท (2) ฐานเป็นกรรมการเบียดบังเอาทรัพย์สินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไปโดยทุจริต จำคุก 5 ปี และปรับ 500,000 บาท (3) ฐานเป็นกรรมการกระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใดๆ โดยทุจริต รวม 6 กระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี และปรับกระทงละ 500,000 บาท รวมเป็นจำคุก 30 ปี และปรับ 3,000,000 บาท และ (4) ฐานเป็นกรรมการกระทำการเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และลงข้อความเท็จในบัญชี หรือเอกสาร หรือทำบัญชีไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้อง จำคุก 5 ปี และปรับ 500,000 บาท รวมจำคุก 94 ปี ปรับ 5,080,000 บาท
แต่เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ จึงลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 47 ปี และปรับรวม 2,540,000 บาท แต่เนื่องจากโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 10 ปี จึงลงโทษจำคุกเพียง 20 ปี* ตามมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และเนื่องจากจำเลยเป็นผู้สารภาพผิดต่อ ก.ล.ต. และการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเฉพาะต่อ NIPPON เท่านั้น ยังไม่ปรากฏว่ามีความเสียหายใดๆ ต่อสาธารณชน รวมถึงจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดคืน NIPPON แล้ว การกระทำของจำเลยจึงถือเป็นการสำนึกผิด และได้บรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้นแก่ผู้เสียหายแล้ว โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 3 ปี ตามมาตรา 56 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
นอกจากนี้ ศาลได้มีคำสั่งเพิกถอนการอายัดทรัพย์สินของจำเลย เนื่องจากเห็นว่า จำเลยได้นำเงินมาชำระคืนแก่ผู้เสียหายครบถ้วน และคดีนี้ ศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะอายัดทรัพย์สินของจำเลยอีกต่อไป
นายวสันต์ เทียนหอม รองเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า “ก.ล.ต. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนไทยได้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นแก่ทุกภาคส่วน ซึ่งการดำเนินคดีนี้ เป็นผลสำเร็จ และสามารถเยียวยาค่าเสียหายให้แก่ NIPPON ได้ เกิดจากการประสานความร่วมมือและปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพของบุคลากรเจ้าของสำนวนคดี ได้แก่ พนักงานสอบสวน สำนักคดีการเงินการธนาคาร กรมสอบสวนคดีพิเศษ และพนักงานอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด”
อนึ่ง ยังมีพฤติกรรมทุจริตลักษณะทำนองเดียวกันนี้ของนายวิชัย ที่ ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษเพิ่มเติมไปเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2554 อยู่ระหว่างการพิจารณาสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ แต่ NIPPON ได้รับการเยียวยาความเสียหายดังกล่าวแล้ว