บิ๊กแบงก์ชาติปลื้ม ธนาคารพาณิชย์เอากำไรมากันสำรองเพิ่ม เตรียมรับมือวิกฤตหนี้ยูโร และเศรษฐกิจโลกชะลอตัว คาดสิ้นปีนี้จะมีแบงก์กันสำรองเพิ่ม ส่วนสินเชื่อโตขึ้นไม่ใช่ฟองสบู่ แต่จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ผู้บริหารตลาดการเงินเผย ต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาลงทุนตราสารหนี้ไทยเพิ่มขึ้น
นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.เริ่มเห็นการกันสำรองของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะงวดเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา หลังจากที่ ธปท.ได้หารือร่วมกับธนาคารพาณิชย์ เพื่อรองรับวิกฤตยูโรโซน และการชะลอตัวเศรษฐกิจโลกเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยนำในส่วนของกำไรมาตั้งเป็นเงินสำรองเพิ่มเติมแทนที่จะมีการจ่ายปันผล เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง พร้อมทั้งลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)
ทั้งนี้ จากการหารือร่วมกันผู้บริหารธนาคารพาณิชย์เห็นด้วยว่า ความเสี่ยงจากตะวันตกมีมากขึ้น จึงมีแนวคิดที่จะให้เพิ่มสัดส่วนการกันสำรองเป็นทั้งระบบ ซึ่งแต่ละธนาคารจะมีสัดส่วนการกันสำรองที่ไม่เท่ากัน ขึ้นกับฐานะ และวงเงินกันสำรองเดิมที่มีอยู่ และคาดว่าช่วงสิ้นปีนี้จะเห็นสัดส่วนการกันสำรองเพิ่มขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่ ธปท.ไม่เลือกวิธีการเพิ่มทุน เพราะเห็นว่าขณะนี้ ธนาคารพาณิชย์ไทยมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส เรโช) ถึง 15% ถือว่าอยู่ในระดับสูง จึงใช้วิธีเพิ่มการกันสำรองแทน เพราะหากเกิดหนี้เสียเพิ่มก็จะหักจากส่วนนี้ได้โดยไม่ต้องกินทุน
สำหรับกรณีที่สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในสัดส่วนสูง และล่าสุด เดือน พ.ค.อยู่ที่ระดับ 16.8% นั้น รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า เท่าที่สำรวจพบว่า สินเชื่อที่ขยายตัวได้สูง คือ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่ขยายตัวถึง 20% จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากปัญหาน้ำท่วม ทำให้มีการซื้อรถใหม่เพิ่มขึ้น ประกอบกับโครงการรถยนต์คันแรกของรัฐ ทำให้สินเชื่อประเภทนี้ค่อนข้างสูง ขณะที่สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตขยายตัวประมาณ 10% จากเดิม 6-8% ถือว่าไม่สูงมากนัก
ทั้งนี้ ยอมรับว่า การเติบโตสินเชื่อโดยรวมโตผิดปกติ ทำให้มีการตรวจสอบและพบว่า การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อมาจาก 3 แหล่งสำคัญรองรับเหตุผลดังกล่าว คือ 1.การนำเงินไปซื้อธุรกิจในยุโรป ซึ่งเผชิญวิกฤตทำให้ต้องขายกิจการในราคาถูก ส่วนนี้บริษัทไทยจำนวนหนึ่งกู้เงินออกไปซื้อ 2.การขอสินเชื่อเพื่อซื้อเครื่องจักรทดแทนจากน้ำท่วม และ 3.การขอสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตเพิ่ม หลังจากที่สต๊อกลดไปมากในช่วงน้ำท่วม
“ยืนยันว่าขณะนี้ ยังไม่เห็นการเกิดฟองสบู่ หรือลักษณะการเก็งกำไร แต่ ธปท.จะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด โดยในช่วงต่อไป หากเป็นไปตามที่ ธปท.คาด การขยายตัวของสินเชื่ออาจจะชะลอลงบ้างจากในขณะนี้ แต่ยังขยายตัวได้ดีตามภาพของเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่หากขยายตัวสูงต่อเนื่องไม่ลด ก็คงต้องให้ดูว่าเกิดขึ้นจากอะไร และมีความเสี่ยงหรือไม่”
เงินไหลกลับเข้าตราสารหนี้ไทย
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้ นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาซื้อตราสารหนี้ของไทยอีกครั้ง หลังจากที่มีการขายออกไปในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากในขณะนี้ เริ่มมีข่าวดีบ้างในการแก้ไขปัญหาวิกฤตในยูโรโซน ทำให้นักลงทุนเริ่มออกจากสินทรัพย์สกุลดอลลาร์มาลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนที่สูงกว่ามากขึ้น
นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.เริ่มเห็นการกันสำรองของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะงวดเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา หลังจากที่ ธปท.ได้หารือร่วมกับธนาคารพาณิชย์ เพื่อรองรับวิกฤตยูโรโซน และการชะลอตัวเศรษฐกิจโลกเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยนำในส่วนของกำไรมาตั้งเป็นเงินสำรองเพิ่มเติมแทนที่จะมีการจ่ายปันผล เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง พร้อมทั้งลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)
ทั้งนี้ จากการหารือร่วมกันผู้บริหารธนาคารพาณิชย์เห็นด้วยว่า ความเสี่ยงจากตะวันตกมีมากขึ้น จึงมีแนวคิดที่จะให้เพิ่มสัดส่วนการกันสำรองเป็นทั้งระบบ ซึ่งแต่ละธนาคารจะมีสัดส่วนการกันสำรองที่ไม่เท่ากัน ขึ้นกับฐานะ และวงเงินกันสำรองเดิมที่มีอยู่ และคาดว่าช่วงสิ้นปีนี้จะเห็นสัดส่วนการกันสำรองเพิ่มขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่ ธปท.ไม่เลือกวิธีการเพิ่มทุน เพราะเห็นว่าขณะนี้ ธนาคารพาณิชย์ไทยมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส เรโช) ถึง 15% ถือว่าอยู่ในระดับสูง จึงใช้วิธีเพิ่มการกันสำรองแทน เพราะหากเกิดหนี้เสียเพิ่มก็จะหักจากส่วนนี้ได้โดยไม่ต้องกินทุน
สำหรับกรณีที่สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในสัดส่วนสูง และล่าสุด เดือน พ.ค.อยู่ที่ระดับ 16.8% นั้น รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า เท่าที่สำรวจพบว่า สินเชื่อที่ขยายตัวได้สูง คือ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่ขยายตัวถึง 20% จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากปัญหาน้ำท่วม ทำให้มีการซื้อรถใหม่เพิ่มขึ้น ประกอบกับโครงการรถยนต์คันแรกของรัฐ ทำให้สินเชื่อประเภทนี้ค่อนข้างสูง ขณะที่สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตขยายตัวประมาณ 10% จากเดิม 6-8% ถือว่าไม่สูงมากนัก
ทั้งนี้ ยอมรับว่า การเติบโตสินเชื่อโดยรวมโตผิดปกติ ทำให้มีการตรวจสอบและพบว่า การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อมาจาก 3 แหล่งสำคัญรองรับเหตุผลดังกล่าว คือ 1.การนำเงินไปซื้อธุรกิจในยุโรป ซึ่งเผชิญวิกฤตทำให้ต้องขายกิจการในราคาถูก ส่วนนี้บริษัทไทยจำนวนหนึ่งกู้เงินออกไปซื้อ 2.การขอสินเชื่อเพื่อซื้อเครื่องจักรทดแทนจากน้ำท่วม และ 3.การขอสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตเพิ่ม หลังจากที่สต๊อกลดไปมากในช่วงน้ำท่วม
“ยืนยันว่าขณะนี้ ยังไม่เห็นการเกิดฟองสบู่ หรือลักษณะการเก็งกำไร แต่ ธปท.จะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด โดยในช่วงต่อไป หากเป็นไปตามที่ ธปท.คาด การขยายตัวของสินเชื่ออาจจะชะลอลงบ้างจากในขณะนี้ แต่ยังขยายตัวได้ดีตามภาพของเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่หากขยายตัวสูงต่อเนื่องไม่ลด ก็คงต้องให้ดูว่าเกิดขึ้นจากอะไร และมีความเสี่ยงหรือไม่”
เงินไหลกลับเข้าตราสารหนี้ไทย
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้ นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาซื้อตราสารหนี้ของไทยอีกครั้ง หลังจากที่มีการขายออกไปในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากในขณะนี้ เริ่มมีข่าวดีบ้างในการแก้ไขปัญหาวิกฤตในยูโรโซน ทำให้นักลงทุนเริ่มออกจากสินทรัพย์สกุลดอลลาร์มาลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนที่สูงกว่ามากขึ้น