โดย สุวัฒน์ สุขสัมฤทธิ์
ฝ่ายสื่อสารองค์กร วิริยะประกันภัย
กระแสตื่นตัวการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(Asean Economics Community:AEC) เริ่มเข้าสู่ภาวะเขื่อนแตก อันเป็นผลมาจากข้อมูลข่าวสารที่ถาโถมสู่สมองคนในชาติ เกิดความตระหนักว่า …AEC คือสิ่งที่จะมาเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปี 2558 อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อผู้คนใน 10 ประเทศประมาณ 600 ล้านคน สามารถเดินทางไปทำมาหากินได้อย่างเสรี ชีวิตจะเปลี่ยนแปลงขนาดไหน เมื่อบัตรเอทีเอ็มเพียงแค่ใบเดียวสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ทั้ง 10 ประเทศ ด้วยระบบเอทีเอ็มพูล
แน่นอน โอกาสสร้างรายได้ย่อมสูงเป็นเงาตามตัวไปด้วย เพราะประเมินกันว่า การค้าจะขยายตัวมากขึ้นถึง 25% และส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ที่ประเทศไทย ด้วยเหตุผลสำคัญสุด...ที่ตั้งของประเทศไทยคือ ไข่แดงอาเซียน
สำหรับอุตสาหกรรมประกันภัย ตามกรอบข้อตกลงระบุว่า ต้องเปิดเสรีภายใน 2563 แต่หลายฝ่ายเชื่อว่า น่าจะเร็วกว่านั้น ด้วยแรงกดดันจากกลุ่มมหาอำนาจทางการเงินที่ต้องการเข้ามาทำกำไรในตลาดการเงินอาเซียน
อย่างไรก็ตาม ในแวดวงอุตสาหกรรมประกันภัยไทยกำลังตั้งคำถามกันว่า...บริษัทประกันภัยไทยจะยืนอยู่ตรงไหนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่า ถ้าวัดถึงศักยภาพอุตสาหกรรมประกันภัยของประเทศต่างๆ ในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศแล้ว มี 3 ประเทศเท่านั้นที่ถือว่าเป็นผู้นำคือ สิงค์โปร์ มาเลเซีย และไทย
“ในอาเซียนเรามีอุตสาหกรรมประกันภัยที่แข็งแรงมาก มีโอกาสมากกว่าประเทศอื่นเพราะเราอยู่ในเอเชียซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีจีดีพีโตเร็วที่สุดในโลก โดยมีจีน และอินเดียเป็นผู้นำ ขณะที่สหรัฐฯ และยุโรปเศรษฐกิจยังมีปัญหาอยู่ ในแง่ภูมิภาคเราเป็นผู้นำโลก ส่วนในแง่ประเทศเราก็แข็งแรงอยู่ในกลุ่มผู้นำของเออีซีอีกเช่นกัน
ถ้าดูตามแผนที่เราตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่ได้เปรียบทั้งสิงคโปร์ และมาเลเซีย เพราะอีก 7 ประเทศที่เหลืออยู่เหนือไทยขึ้นไป หากประกันภัยในสิงคโปร์ และมาเลเซียจะขยายธุรกิจไปยังประเทศเหล่านั้น ต้องมาตั้งฐานที่เมืองไทย ขณะที่เราขยายไปได้ทันที” นายประเวชกล่าว
จากมุมมองของเลขาธิการ คปภ.ย่อมทำให้เกิดมุมที่ต้องมอง อันเป็นเหรียญอีกด้านหนึ่ง เมื่อมีการเข้ามาตั้งฐานที่มันในเมืองไทย ย่อมทำให้อุตสาหกรรมประกันภัยอยู่ในภาวะถูกคุกคามจากบริษัทประกันภัยยักษ์ใหญ่ระดับโลกทันทีเช่นกัน เพราะกลุ่มบริษัทนี้ได้แฝงตัวในบริษัทประกันภัยของประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซียมาเนิ่นนาน
โดยปรากฏการณ์แรกที่จะเกิดขึ้น นั่นก็คือ ปัญหาสมองไหลในอุตสาหกรรมประกันภัยไทย ซึ่งคุณกฤติวิทย์ ศรีพสุธา กรรมการรองกรรมการผู้จัดการบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ทันทีที่มีการเปิดเสรีจะเกิดสงครามแย่งชิงบุคลากร เพราะนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามา มีแต่เม็ดเงิน เทคโนโลยี แต่ไม่มีบุคลากรที่จะทำงานให้ ต้องแย่งชิงคนในอุตสาหกรรม กลุ่มคนที่มีโอกาสจะถูกแย่งตัวมาก คือ สายวิชาชีพ สายบริหารในทุกธุรกิจและหนักที่สุดคื อธุรกิจการเงินและประกันภัย
“ต่างชาติรุกเราเร็วกว่าเรารุกเขา เขามีความพร้อม เขามองว่าบ้านเราคนทำประกันน้อย อยากจะเข้ามาอยู่แล้ว คนเป็นหัวใจของการทำธุรกิจ” คุณกฤติวิทย์กล่าว
สำหรับวิริยะประกันภัยเอง มีพนักงานกว่า 4,000 คน มีการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรมาระยะหนึ่งแล้ว ด้วยการเปิดอบรมหลักสูตรต่างๆ เช่น หลักสูตรก้าวสู่จุดสุดยอดด้วยพลัง Pro Active หลักสูตรผู้นำทีมที่มีประสิทธิผล ฯลฯ
ด้วยหลักสูตรต่างๆ ที่จะทยอยอบรมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คุณกฤติวิทย์มั่นใจว่า จะทำให้พนักงานของบริษัทมีความผูกพันกับบริษัทมากขึ้น หรือกล่าวได้ว่า เกิดสุขภาวะในที่ทำงานนั้นเอง
นอกจากสร้างความพร้อมในการรับปัญหาสมองไหลแล้ว ในส่วนการดำเนินงานด้านอื่นๆ มิได้อยู่ในความหมายที่ว่า “ตั้งรับ” แต่ได้เปิดเกมรุกมาก่อนหน้านั้นแล้ว ด้วยยุทธการศาสตร์การแสวงหาความร่วมมือ เป็นความร่วมมือที่มิใช่เข้าไปแข่งขันกับบริษัทประกันภัยท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ
อย่างเช่นการจับมือร่วมกันให้บริการด้านประกันภัยกับบริษัท ประกันภัย สปป.ลาว(Assurances Generales du Laos:AGL) ซึ่งได้มีการลงนามร่วมกันให้บริการมาตั้งแต่ 10 ปีก่อน และล่าสุด วิริยะประกันภัยขยับการให้บริการไปอีกก้าวหนึ่งคือ การได้รับอนุญาตจากสำนักงาน คปภ.ให้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดของผู้ขนส่ง(Carrier’s Liability Insurance Policy ) โดยให้ขยายอาณาเขตการรับประกันภัยกินพื้นที่ครอบคลุมไปยังประเทศพม่า ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และ/หรือสาธารณรัฐประชาชนจีน
คุณวิญญู อังศุนิตย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยต่อ V.magazine ว่า วิริยะประกันภัยได้เตรียมการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC มานานแล้ว โดยเริ่มจากการให้บริการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ และล่าสุด ขยับมาให้บริการด้านประกันภัยนอน-มอเตอร์ ให้แก่ธุรกิจลอจิกส์ติกในเรื่องของการขนส่งสินค้าข้ามแดน ด้วยการไปเปิดความร่วมมือกับบริษัทประกันภัยในประเทศนั้นๆ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการไปแล้วที่ สปป.ลาว ด้วยการร่วมมือกับบริษัท AGL
“หลักความร่วมมือไม่ซับซ้อนยุ่งยากอะไรมากนัก และที่สำคัญ ทั้ง 2 บริษัทเปิดความร่วมมือในเรื่องประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจกันมานาน ทั้งนี้ รถยนต์ หรือสินค้าที่ขนส่งไปถ้าเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุ ทางบริษัทประกันภัยลาว AGL จะเข้าไปบริการเคลมประกันภัยแทนบริษัทวิริยะประกันภัยทันที”
ส่วนประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจนั้น คุณกฤษณ์ หิญชีระนันทน์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดบริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวชี้แจงเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือกับบริษัท AGL เป็นไปในลักษณะที่ว่าต่างคนต่างเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านรับประกันภัย และการเคลมสินไหม
ด้วยวิธีการในการร่วมมือที่ค่อยๆ เรียนรู้ซึ่งกันและกันมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระบบความคุ้มครองด้านประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับบริการอยู่ในภาวะลื่นไหล ไม่เกิดความรู้สึกว่าความคุ้มครองนั้นได้ถูกส่งต่อจากกรมธรรม์หนึ่งสู่กรมธรรม์หนึ่ง อันเป็นผลมาจากฐานของกฎหมายควบคุมแตกต่างกัน
“เมื่อเป็นความร่วมมือที่มีรูปแบบที่ชัดเจน สอดคล้องกับกฎหมายของแต่ละประเทศที่ควบคุมอยู่ ความร่วมมือนี้จะเป็นต้นแบบในการขยายความร่วมมือในการรับประกันภัยไปยังประเทศที่สาม โดยเฉพาะเวียดนาม และกัมพูชา เพราะเส้นทางการเชื่อมโยงที่จะไปทั้ง 2 ประเทศนี้ส่วนใหญ่ต้องใช้เส้นทางผ่านประเทศลาว ในขณะที่ประเทศพม่า ทางวิริยะประกันภัยได้เริ่มเข้าไปประสานงานเพื่อสร้างความร่วมมือในลักษณะเดียวกัน” คุณกฤษณ์กล่าว
นั่นก็หมายความว่า แม้การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยังไม่เปิดตัวอย่างเป็นทางการ แต่วันนี้ วิริยะประกันภัยพร้อมแล้วที่จะให้บริการด้านประกันภัยเพื่อรองรับการเดินทางไปมาหาสู่ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การขนส่งสินค้า ฯลฯ
อีกทั้งเมื่อถึงเวลาเปิดเสรีอย่างเป็นทางการ ปี 2558 คำประกาศวิริยะประกันภัย ที่คนไทยจำกันมั่น “ทุกที่ทั่วไทย วิริยะประกันภัยอยู่ใกล้คุณ” ย่อมเปลี่ยนแปลงไปโดยปริยาย
“ทุกที่ทั่วอาเซียน วิริยะประกันภัยอยู่ใกล้คุณ”
ฝ่ายสื่อสารองค์กร วิริยะประกันภัย
กระแสตื่นตัวการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(Asean Economics Community:AEC) เริ่มเข้าสู่ภาวะเขื่อนแตก อันเป็นผลมาจากข้อมูลข่าวสารที่ถาโถมสู่สมองคนในชาติ เกิดความตระหนักว่า …AEC คือสิ่งที่จะมาเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปี 2558 อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อผู้คนใน 10 ประเทศประมาณ 600 ล้านคน สามารถเดินทางไปทำมาหากินได้อย่างเสรี ชีวิตจะเปลี่ยนแปลงขนาดไหน เมื่อบัตรเอทีเอ็มเพียงแค่ใบเดียวสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ทั้ง 10 ประเทศ ด้วยระบบเอทีเอ็มพูล
แน่นอน โอกาสสร้างรายได้ย่อมสูงเป็นเงาตามตัวไปด้วย เพราะประเมินกันว่า การค้าจะขยายตัวมากขึ้นถึง 25% และส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ที่ประเทศไทย ด้วยเหตุผลสำคัญสุด...ที่ตั้งของประเทศไทยคือ ไข่แดงอาเซียน
สำหรับอุตสาหกรรมประกันภัย ตามกรอบข้อตกลงระบุว่า ต้องเปิดเสรีภายใน 2563 แต่หลายฝ่ายเชื่อว่า น่าจะเร็วกว่านั้น ด้วยแรงกดดันจากกลุ่มมหาอำนาจทางการเงินที่ต้องการเข้ามาทำกำไรในตลาดการเงินอาเซียน
อย่างไรก็ตาม ในแวดวงอุตสาหกรรมประกันภัยไทยกำลังตั้งคำถามกันว่า...บริษัทประกันภัยไทยจะยืนอยู่ตรงไหนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่า ถ้าวัดถึงศักยภาพอุตสาหกรรมประกันภัยของประเทศต่างๆ ในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศแล้ว มี 3 ประเทศเท่านั้นที่ถือว่าเป็นผู้นำคือ สิงค์โปร์ มาเลเซีย และไทย
“ในอาเซียนเรามีอุตสาหกรรมประกันภัยที่แข็งแรงมาก มีโอกาสมากกว่าประเทศอื่นเพราะเราอยู่ในเอเชียซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีจีดีพีโตเร็วที่สุดในโลก โดยมีจีน และอินเดียเป็นผู้นำ ขณะที่สหรัฐฯ และยุโรปเศรษฐกิจยังมีปัญหาอยู่ ในแง่ภูมิภาคเราเป็นผู้นำโลก ส่วนในแง่ประเทศเราก็แข็งแรงอยู่ในกลุ่มผู้นำของเออีซีอีกเช่นกัน
ถ้าดูตามแผนที่เราตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่ได้เปรียบทั้งสิงคโปร์ และมาเลเซีย เพราะอีก 7 ประเทศที่เหลืออยู่เหนือไทยขึ้นไป หากประกันภัยในสิงคโปร์ และมาเลเซียจะขยายธุรกิจไปยังประเทศเหล่านั้น ต้องมาตั้งฐานที่เมืองไทย ขณะที่เราขยายไปได้ทันที” นายประเวชกล่าว
จากมุมมองของเลขาธิการ คปภ.ย่อมทำให้เกิดมุมที่ต้องมอง อันเป็นเหรียญอีกด้านหนึ่ง เมื่อมีการเข้ามาตั้งฐานที่มันในเมืองไทย ย่อมทำให้อุตสาหกรรมประกันภัยอยู่ในภาวะถูกคุกคามจากบริษัทประกันภัยยักษ์ใหญ่ระดับโลกทันทีเช่นกัน เพราะกลุ่มบริษัทนี้ได้แฝงตัวในบริษัทประกันภัยของประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซียมาเนิ่นนาน
โดยปรากฏการณ์แรกที่จะเกิดขึ้น นั่นก็คือ ปัญหาสมองไหลในอุตสาหกรรมประกันภัยไทย ซึ่งคุณกฤติวิทย์ ศรีพสุธา กรรมการรองกรรมการผู้จัดการบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ทันทีที่มีการเปิดเสรีจะเกิดสงครามแย่งชิงบุคลากร เพราะนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามา มีแต่เม็ดเงิน เทคโนโลยี แต่ไม่มีบุคลากรที่จะทำงานให้ ต้องแย่งชิงคนในอุตสาหกรรม กลุ่มคนที่มีโอกาสจะถูกแย่งตัวมาก คือ สายวิชาชีพ สายบริหารในทุกธุรกิจและหนักที่สุดคื อธุรกิจการเงินและประกันภัย
“ต่างชาติรุกเราเร็วกว่าเรารุกเขา เขามีความพร้อม เขามองว่าบ้านเราคนทำประกันน้อย อยากจะเข้ามาอยู่แล้ว คนเป็นหัวใจของการทำธุรกิจ” คุณกฤติวิทย์กล่าว
สำหรับวิริยะประกันภัยเอง มีพนักงานกว่า 4,000 คน มีการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรมาระยะหนึ่งแล้ว ด้วยการเปิดอบรมหลักสูตรต่างๆ เช่น หลักสูตรก้าวสู่จุดสุดยอดด้วยพลัง Pro Active หลักสูตรผู้นำทีมที่มีประสิทธิผล ฯลฯ
ด้วยหลักสูตรต่างๆ ที่จะทยอยอบรมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คุณกฤติวิทย์มั่นใจว่า จะทำให้พนักงานของบริษัทมีความผูกพันกับบริษัทมากขึ้น หรือกล่าวได้ว่า เกิดสุขภาวะในที่ทำงานนั้นเอง
นอกจากสร้างความพร้อมในการรับปัญหาสมองไหลแล้ว ในส่วนการดำเนินงานด้านอื่นๆ มิได้อยู่ในความหมายที่ว่า “ตั้งรับ” แต่ได้เปิดเกมรุกมาก่อนหน้านั้นแล้ว ด้วยยุทธการศาสตร์การแสวงหาความร่วมมือ เป็นความร่วมมือที่มิใช่เข้าไปแข่งขันกับบริษัทประกันภัยท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ
อย่างเช่นการจับมือร่วมกันให้บริการด้านประกันภัยกับบริษัท ประกันภัย สปป.ลาว(Assurances Generales du Laos:AGL) ซึ่งได้มีการลงนามร่วมกันให้บริการมาตั้งแต่ 10 ปีก่อน และล่าสุด วิริยะประกันภัยขยับการให้บริการไปอีกก้าวหนึ่งคือ การได้รับอนุญาตจากสำนักงาน คปภ.ให้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดของผู้ขนส่ง(Carrier’s Liability Insurance Policy ) โดยให้ขยายอาณาเขตการรับประกันภัยกินพื้นที่ครอบคลุมไปยังประเทศพม่า ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และ/หรือสาธารณรัฐประชาชนจีน
คุณวิญญู อังศุนิตย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยต่อ V.magazine ว่า วิริยะประกันภัยได้เตรียมการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC มานานแล้ว โดยเริ่มจากการให้บริการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ และล่าสุด ขยับมาให้บริการด้านประกันภัยนอน-มอเตอร์ ให้แก่ธุรกิจลอจิกส์ติกในเรื่องของการขนส่งสินค้าข้ามแดน ด้วยการไปเปิดความร่วมมือกับบริษัทประกันภัยในประเทศนั้นๆ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการไปแล้วที่ สปป.ลาว ด้วยการร่วมมือกับบริษัท AGL
“หลักความร่วมมือไม่ซับซ้อนยุ่งยากอะไรมากนัก และที่สำคัญ ทั้ง 2 บริษัทเปิดความร่วมมือในเรื่องประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจกันมานาน ทั้งนี้ รถยนต์ หรือสินค้าที่ขนส่งไปถ้าเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุ ทางบริษัทประกันภัยลาว AGL จะเข้าไปบริการเคลมประกันภัยแทนบริษัทวิริยะประกันภัยทันที”
ส่วนประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจนั้น คุณกฤษณ์ หิญชีระนันทน์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดบริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวชี้แจงเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือกับบริษัท AGL เป็นไปในลักษณะที่ว่าต่างคนต่างเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านรับประกันภัย และการเคลมสินไหม
ด้วยวิธีการในการร่วมมือที่ค่อยๆ เรียนรู้ซึ่งกันและกันมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระบบความคุ้มครองด้านประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับบริการอยู่ในภาวะลื่นไหล ไม่เกิดความรู้สึกว่าความคุ้มครองนั้นได้ถูกส่งต่อจากกรมธรรม์หนึ่งสู่กรมธรรม์หนึ่ง อันเป็นผลมาจากฐานของกฎหมายควบคุมแตกต่างกัน
“เมื่อเป็นความร่วมมือที่มีรูปแบบที่ชัดเจน สอดคล้องกับกฎหมายของแต่ละประเทศที่ควบคุมอยู่ ความร่วมมือนี้จะเป็นต้นแบบในการขยายความร่วมมือในการรับประกันภัยไปยังประเทศที่สาม โดยเฉพาะเวียดนาม และกัมพูชา เพราะเส้นทางการเชื่อมโยงที่จะไปทั้ง 2 ประเทศนี้ส่วนใหญ่ต้องใช้เส้นทางผ่านประเทศลาว ในขณะที่ประเทศพม่า ทางวิริยะประกันภัยได้เริ่มเข้าไปประสานงานเพื่อสร้างความร่วมมือในลักษณะเดียวกัน” คุณกฤษณ์กล่าว
นั่นก็หมายความว่า แม้การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยังไม่เปิดตัวอย่างเป็นทางการ แต่วันนี้ วิริยะประกันภัยพร้อมแล้วที่จะให้บริการด้านประกันภัยเพื่อรองรับการเดินทางไปมาหาสู่ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การขนส่งสินค้า ฯลฯ
อีกทั้งเมื่อถึงเวลาเปิดเสรีอย่างเป็นทางการ ปี 2558 คำประกาศวิริยะประกันภัย ที่คนไทยจำกันมั่น “ทุกที่ทั่วไทย วิริยะประกันภัยอยู่ใกล้คุณ” ย่อมเปลี่ยนแปลงไปโดยปริยาย
“ทุกที่ทั่วอาเซียน วิริยะประกันภัยอยู่ใกล้คุณ”