เคทีซีมั่นใจไตรมาส 2 พลิกผลประกอบการกลับเป็นกำไรได้ตามแผน แต่อาจไม่มากนัก เหตุรับภาระจ่ายชดเชยเลิกจ้างเอาต์ซอร์ส ระบุ กรณี พ.ร.บ.ธุรกิจบัตรเครดิตไม่กระทบเพราะส่วนใหญ่ปฏิบัติอยู่แล้ว
นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTC) เปิดเผยว่า บริษัทมั่นใจว่าในปีนี้ ผลประกอบการจะสามารถพลิกกลับมาเป็นกำไรได้ โดยจะเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นไป จากที่ไตรมาสแรกของปีนี้มีผลการดำเนินงานที่ขาดทุน แต่ตัวเลขกำไรอาจยังไม่มากนัก เนื่องจากมีภาระต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่บริษัทภายนอกที่ได้ว่าจ้างดำเนินธุรกิจ (out source) ที่ได้บอกเลิกจ้างไป ซึ่งทำให้ปัจจุบัน บริษัทมีเอาต์ซอร์สเหลือเพียง 2-5 รายเท่านั้น จากเดิมที่มีกว่า 20 ราย
“หลังจากมีการชดเชยวงเงินให้บริษัทต่างๆ เสร็จสิ้น ผลประกอบการจะกลับมาดีขึ้นอย่างชัดเจนในไตรมาส 3 และต่อเนื่องไปยังไตรมาส 4 ซึ่งผลกำไรในไตรมาสสุดท้ายจะเพิ่มขึ้นเป็นระดับสูงสุดของปีได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการออกโปรโมชันใหม่ หากมีต้นทุนมาก ตัวเลขกำไรก็อาจจะเพิ่มขึ้นไม่มาก”
ด้านต้นทุนการดำเนินงานที่บริษัทตั้งเป้าหมายว่าจะลดลงเหลือ 40% ในสิ้นปีนี้ เชื่อว่าจะสามารถทำได้ตามแผนที่วางไว้ โดยปัจจุบัน ต้นทุนดังกล่าวเริ่มลดลงจากเมื่อต้นปีที่ผ่านมาที่อยู่ 46%
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปีนี้ภาวะเศรษฐกิจอาจจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกบางส่วน ประกอบกับในช่วงต้นไตรมาส 2 ลูกค้ามีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเปิดภาคเรียนค่อนข้างสูง ส่งผลให้การใช้จ่ายผ่านบัตรชะลอลงเล็กน้อย แต่ทั้งนี้เชื่อว่า จะกลับมาสู่ภาวะปกติ และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ในช่วงที่เหลือของปี โดยบริษัทยังคงเป้าหมายการเติบโตของยอดใช้จ่ายผ่านบัตรในปีนี้ที่ 10% เพิ่มขึ้นจากยอดใช้จ่ายผ่านบัตรปีก่อนที่มีมูลค่ารวม 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา มียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น 8-10%
สำหรับกรณีที่สภาอนุมัติผ่านร่างพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจบัตรเครดิต นายระเฑียรกล่าวว่า เท่าที่ดูคร่าวๆ แล้ว ไม่มีผลกระทบต่อบริษัท เพราะเป็นสิ่งที่เราดำเนินการอยู่แล้ว เช่น ขอความร่วมมือในการดูแลรายชื่อลูกค้าให้ดี หรือห้ามเรียกเก็บเงินก่อน ซึ่งปกติก็ไม่เคยทำ เป็นต้น
ส่วนกรณีของการขึ้นบัญชีดำประเทศไทยทางด้านเครดิต (FATF) นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานผลกระทบที่เกิดขึ้นกับลูกค้า หรือผลกระทบในเชิงธุรกิจแต่อย่างใด ทั้งนี้ ประเมินว่าการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในต่างประเทศจะยังคงเกิดขึ้นได้อย่างปกติ เนื่องจากยังมีจำนวนการบัตรใช้แทนเงินสดไม่มาก แต่ในกรณีที่มีการเบิกถอนเงินสดที่มีจำนวนสูงก็อาจได้รับผลกระทบในแง่ของความไว้วางใจ ดังนั้น หากรัฐบาลไทยมีการดำเนินการทางด้านกฎหมายต่างๆ ซึ่งจะช่วยส่งผลดีต่อชื่อเสียงประเทศได้
นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTC) เปิดเผยว่า บริษัทมั่นใจว่าในปีนี้ ผลประกอบการจะสามารถพลิกกลับมาเป็นกำไรได้ โดยจะเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นไป จากที่ไตรมาสแรกของปีนี้มีผลการดำเนินงานที่ขาดทุน แต่ตัวเลขกำไรอาจยังไม่มากนัก เนื่องจากมีภาระต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่บริษัทภายนอกที่ได้ว่าจ้างดำเนินธุรกิจ (out source) ที่ได้บอกเลิกจ้างไป ซึ่งทำให้ปัจจุบัน บริษัทมีเอาต์ซอร์สเหลือเพียง 2-5 รายเท่านั้น จากเดิมที่มีกว่า 20 ราย
“หลังจากมีการชดเชยวงเงินให้บริษัทต่างๆ เสร็จสิ้น ผลประกอบการจะกลับมาดีขึ้นอย่างชัดเจนในไตรมาส 3 และต่อเนื่องไปยังไตรมาส 4 ซึ่งผลกำไรในไตรมาสสุดท้ายจะเพิ่มขึ้นเป็นระดับสูงสุดของปีได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการออกโปรโมชันใหม่ หากมีต้นทุนมาก ตัวเลขกำไรก็อาจจะเพิ่มขึ้นไม่มาก”
ด้านต้นทุนการดำเนินงานที่บริษัทตั้งเป้าหมายว่าจะลดลงเหลือ 40% ในสิ้นปีนี้ เชื่อว่าจะสามารถทำได้ตามแผนที่วางไว้ โดยปัจจุบัน ต้นทุนดังกล่าวเริ่มลดลงจากเมื่อต้นปีที่ผ่านมาที่อยู่ 46%
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปีนี้ภาวะเศรษฐกิจอาจจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกบางส่วน ประกอบกับในช่วงต้นไตรมาส 2 ลูกค้ามีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเปิดภาคเรียนค่อนข้างสูง ส่งผลให้การใช้จ่ายผ่านบัตรชะลอลงเล็กน้อย แต่ทั้งนี้เชื่อว่า จะกลับมาสู่ภาวะปกติ และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ในช่วงที่เหลือของปี โดยบริษัทยังคงเป้าหมายการเติบโตของยอดใช้จ่ายผ่านบัตรในปีนี้ที่ 10% เพิ่มขึ้นจากยอดใช้จ่ายผ่านบัตรปีก่อนที่มีมูลค่ารวม 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา มียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น 8-10%
สำหรับกรณีที่สภาอนุมัติผ่านร่างพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจบัตรเครดิต นายระเฑียรกล่าวว่า เท่าที่ดูคร่าวๆ แล้ว ไม่มีผลกระทบต่อบริษัท เพราะเป็นสิ่งที่เราดำเนินการอยู่แล้ว เช่น ขอความร่วมมือในการดูแลรายชื่อลูกค้าให้ดี หรือห้ามเรียกเก็บเงินก่อน ซึ่งปกติก็ไม่เคยทำ เป็นต้น
ส่วนกรณีของการขึ้นบัญชีดำประเทศไทยทางด้านเครดิต (FATF) นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานผลกระทบที่เกิดขึ้นกับลูกค้า หรือผลกระทบในเชิงธุรกิจแต่อย่างใด ทั้งนี้ ประเมินว่าการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในต่างประเทศจะยังคงเกิดขึ้นได้อย่างปกติ เนื่องจากยังมีจำนวนการบัตรใช้แทนเงินสดไม่มาก แต่ในกรณีที่มีการเบิกถอนเงินสดที่มีจำนวนสูงก็อาจได้รับผลกระทบในแง่ของความไว้วางใจ ดังนั้น หากรัฐบาลไทยมีการดำเนินการทางด้านกฎหมายต่างๆ ซึ่งจะช่วยส่งผลดีต่อชื่อเสียงประเทศได้