ซี.ไอ.กรุ๊ป ปีนี้ขอปรับปรุงกระบวนการผลิต และระบบการบริหารงานให้คล่อง หวังขัดเกลางบให้สวย หลังตัวเลขขาดทุนสะสมกว่า 100 ล้านบาท คาดล้างขาดทุนสะสมหมดในปี 56 พร้อมสต๊อกวัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด มั่นใจผลงานไตรมาส 2 ดีกว่าไตรมาสแรก เร่งบริหารธุรกิจโรงแรมให้มีกำไร หวังลดภาระ ตั้งเป้ายอดขายไว้ปีนี้ที่ 1,300 ล้านบาท
นายธีระ พุ่มเสนาะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.ไอ.กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CIG เปิดเผยว่าภาพรวมของบริษัทปีนี้ ต้องเร่งแก้ไขต้นทุนการดำเนินงานในการผลิต เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนการบริหารวัตถุดิบที่ซื้อเข้ามาไม่ให้ค้างสต๊อกนานเกินไปด้วย โดยโรงงาน 3 แห่งที่ผลิคอยล์เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบแอร์นั้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างการปรับปรุงฟื้นฟูโรงงานทั้งหมดให้ดีขึ้นจากก่อนหน้า
“ตอนนี้เราต้องปรับปรุงระบบการทำงานหมด เพื่อให้ต้นทุนการดำเนินงาน และการบริหารเข้าที่ครับ เรามีปัญหามาระยะหนึ่งแล้ว ไหนจะเกิดน้ำท่วม เศรษฐกิจที่ชะลอตัวในต่างประเทศ รวมทั้งปัญหาการเมืองในประเทศ กระทบต่อการดำเนินงานของเราหมด ยอดขายก็ตกลงมาจากก่อนหน้า”
โดยตัวเลขผลการดำเนินงานไตรมาสแรกปีนี้ของ CIG มีตัวเลขขาดทุนอยู่ 7 ล้านบาท และมีตัวเลขขาดทุนสะสมอีกกว่า 100 ล้านบาท และคาดว่าผลงานไตรมาส 2 ตัวเลขขาดทุนจะยังคงมีอยู่ แต่คาดว่าจะลดลงจากไตรมาสแรก และค่อยๆ ต่ำลงจนหมดได้ในปลายปี อันจะส่งผลให้ตัวเลขขาดทุนสะสมลดลงตามไปด้วย
อย่างไรก็ดี ผู้บริหารเชื่อว่าภายในปี 56 ตัวเลขขาดทุนสะสมที่มีน่าจะล้างได้หมด เนื่องจากการปรับทิศทางการบริหารและดำเนินงาน ประกอบกับได้หาที่ปรึกษาในการดำเนินงานเพื่อให้บริษัทฟื้นตัวขึ้นมาได้
นายธีระกล่าวว่า ขณะนี้บริษัทมี backlog เข้ามาเรื่อยๆ และทะยอยขายออกซึ่งเป็นออเดอร์หมุนเวียนแบบเดือนต่อเดือนโดยเฉลี่ย ออเดอร์อยู่ที่ประมาณ 40-50 ล้านบาท ดังนั้น จึงเชื่อว่าภาพรวมของเศรษฐกิจในประเทศปีนี้น่าจะดีขี้น และจากฤดูร้อนใน 2 ปีมานี้ ทำให้ยอดขายคอยล์มีเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาวะโลกร้อนที่เพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลให้ยอดจำหน่ายแอร์ก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ประกอบกับภาวะน้ำท่วมที่ผ่านมา ทำให้ผู้ผลิตแอร์เพิ่มปริมาณการผลิตแอร์มากขึ้นตามความต้องการลูกค้าด้วย
ดังนั้น จากออเดอร์ที่มีเข้ามาช่วงไตรมาส 2 ปีนี้พบว่า ผู้ผลิตแอร์ยังต้องเพิ่มปริมาณการผลิตต่อเนื่อง จึงเชื่อว่าผลงานไตรมาส 2 น่าจะออกมาดีกว่าไตรมาสแรก และเชื่อว่าจะดีขึ้นในแต่ละไตรมาส ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ลดทอนผลขาดทุนสะสมที่มีอยู่ได้
นอกจากนี้ ภาระที่หนักอีกทางของ CIG คือ ธุรกิจโรงแรมที่เข้าซื้อคือ โรงแรม สมญญา บูรา ที่หาดละไม ซึ่งก่อนหน้านี้ดูเหมือนจะไปได้ดี แต่หลังจากเกิดสึนามิ และสภาพอากาศที่แปรปรวน รวมถึงสายการบินที่มาถึง ยังเป็นปัญหาในเรื่องการเก็บค่าใช้สนามบินในอัตราที่สูงลิ่ว ทำให้เป็นปัญหาต่อการบริการนักท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้รอความชัดเจนจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร เพื่อเอื้อต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการโรงแรมในพื้นที่ที่จะได้รับอานิสงส์ด้วย
“ธุรกิจโรงแรมของเรา ยังไม่เติบโตตามแผน และมีปัญหาต่อเนื่องมาครับ หลายอย่างที่บอกไป และเราก็พยายามจะปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่ปัญหาหนักคือเรื่องของดอกเบี้ยที่สูงขึ้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ ด้วย ขณะที่ในงบการเงินรวมเราต้องนำงบของบริษัทย่อยมารวมด้วย ซึ่งก็ให้งบการเงินเราถูกฉุดลงไปด้วย ดังนั้น ปีนี้เราต้องบริหารให้ดีเพื่อให้อยู่รอด”
โดยไตรมาสแรกปีนี้ บริษัทมีรายได้รวม 281 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปี 54 ที่มีรายได้รวมกว่า 307 ล้านบาท หรือโดยการลดลงเป็นผลสืบเนื่องมาจากยอดสั่งซื้อจากลูกค้าลดลง และมีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น และมีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขี้นอีกด้วย จาก 8.45 ล้านบาทในไตรมาสแรกปี 54 เป็น 13.44 ล้านบาท ในไตรมาสแรกปีนี้ และมีค่าใช้จ่ายรวม 287 ล้านบาท ลดลงจากงวดนี้ปีก่อนที่มีค่าใช้จ่ายรวม 313 ล้านบาท
นายธีระกล่าวถึงลูกค้าของบริษัทว่า ยังคงเหนียวแน่นกับ carria york daikin รวมถึงยี่ห้อของญี่ปุ่น และลูกค้าอื่นๆ ด้วย โดยปีนี้ CIG ตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 1,300 ล้านบาท ขณะที่ปี 54 มีรายได้รวม 1,139 ล้านบาท และมีต้นทุนทางการเงิน 44 ล้านบาท ขณะงวดนี้ปีก่อนมีต้นทุนทางการเงิน 33 ล้านบาท ซึ่งต้นทุนทางการเงินถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้บริหารบอกว่าต้องเร่งแก้ไข เนื่องจากเป็นภาระทางการเงินที่ต้องให้กระจ่าง เป็นการปรับงบการเงินให้เข้าสู่ปกติ นั่นคือ การไม่มีตัวเลขขาดทุนสะสม
นายธีระ พุ่มเสนาะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.ไอ.กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CIG เปิดเผยว่าภาพรวมของบริษัทปีนี้ ต้องเร่งแก้ไขต้นทุนการดำเนินงานในการผลิต เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนการบริหารวัตถุดิบที่ซื้อเข้ามาไม่ให้ค้างสต๊อกนานเกินไปด้วย โดยโรงงาน 3 แห่งที่ผลิคอยล์เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบแอร์นั้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างการปรับปรุงฟื้นฟูโรงงานทั้งหมดให้ดีขึ้นจากก่อนหน้า
“ตอนนี้เราต้องปรับปรุงระบบการทำงานหมด เพื่อให้ต้นทุนการดำเนินงาน และการบริหารเข้าที่ครับ เรามีปัญหามาระยะหนึ่งแล้ว ไหนจะเกิดน้ำท่วม เศรษฐกิจที่ชะลอตัวในต่างประเทศ รวมทั้งปัญหาการเมืองในประเทศ กระทบต่อการดำเนินงานของเราหมด ยอดขายก็ตกลงมาจากก่อนหน้า”
โดยตัวเลขผลการดำเนินงานไตรมาสแรกปีนี้ของ CIG มีตัวเลขขาดทุนอยู่ 7 ล้านบาท และมีตัวเลขขาดทุนสะสมอีกกว่า 100 ล้านบาท และคาดว่าผลงานไตรมาส 2 ตัวเลขขาดทุนจะยังคงมีอยู่ แต่คาดว่าจะลดลงจากไตรมาสแรก และค่อยๆ ต่ำลงจนหมดได้ในปลายปี อันจะส่งผลให้ตัวเลขขาดทุนสะสมลดลงตามไปด้วย
อย่างไรก็ดี ผู้บริหารเชื่อว่าภายในปี 56 ตัวเลขขาดทุนสะสมที่มีน่าจะล้างได้หมด เนื่องจากการปรับทิศทางการบริหารและดำเนินงาน ประกอบกับได้หาที่ปรึกษาในการดำเนินงานเพื่อให้บริษัทฟื้นตัวขึ้นมาได้
นายธีระกล่าวว่า ขณะนี้บริษัทมี backlog เข้ามาเรื่อยๆ และทะยอยขายออกซึ่งเป็นออเดอร์หมุนเวียนแบบเดือนต่อเดือนโดยเฉลี่ย ออเดอร์อยู่ที่ประมาณ 40-50 ล้านบาท ดังนั้น จึงเชื่อว่าภาพรวมของเศรษฐกิจในประเทศปีนี้น่าจะดีขี้น และจากฤดูร้อนใน 2 ปีมานี้ ทำให้ยอดขายคอยล์มีเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาวะโลกร้อนที่เพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลให้ยอดจำหน่ายแอร์ก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ประกอบกับภาวะน้ำท่วมที่ผ่านมา ทำให้ผู้ผลิตแอร์เพิ่มปริมาณการผลิตแอร์มากขึ้นตามความต้องการลูกค้าด้วย
ดังนั้น จากออเดอร์ที่มีเข้ามาช่วงไตรมาส 2 ปีนี้พบว่า ผู้ผลิตแอร์ยังต้องเพิ่มปริมาณการผลิตต่อเนื่อง จึงเชื่อว่าผลงานไตรมาส 2 น่าจะออกมาดีกว่าไตรมาสแรก และเชื่อว่าจะดีขึ้นในแต่ละไตรมาส ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ลดทอนผลขาดทุนสะสมที่มีอยู่ได้
นอกจากนี้ ภาระที่หนักอีกทางของ CIG คือ ธุรกิจโรงแรมที่เข้าซื้อคือ โรงแรม สมญญา บูรา ที่หาดละไม ซึ่งก่อนหน้านี้ดูเหมือนจะไปได้ดี แต่หลังจากเกิดสึนามิ และสภาพอากาศที่แปรปรวน รวมถึงสายการบินที่มาถึง ยังเป็นปัญหาในเรื่องการเก็บค่าใช้สนามบินในอัตราที่สูงลิ่ว ทำให้เป็นปัญหาต่อการบริการนักท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้รอความชัดเจนจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร เพื่อเอื้อต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการโรงแรมในพื้นที่ที่จะได้รับอานิสงส์ด้วย
“ธุรกิจโรงแรมของเรา ยังไม่เติบโตตามแผน และมีปัญหาต่อเนื่องมาครับ หลายอย่างที่บอกไป และเราก็พยายามจะปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่ปัญหาหนักคือเรื่องของดอกเบี้ยที่สูงขึ้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ ด้วย ขณะที่ในงบการเงินรวมเราต้องนำงบของบริษัทย่อยมารวมด้วย ซึ่งก็ให้งบการเงินเราถูกฉุดลงไปด้วย ดังนั้น ปีนี้เราต้องบริหารให้ดีเพื่อให้อยู่รอด”
โดยไตรมาสแรกปีนี้ บริษัทมีรายได้รวม 281 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปี 54 ที่มีรายได้รวมกว่า 307 ล้านบาท หรือโดยการลดลงเป็นผลสืบเนื่องมาจากยอดสั่งซื้อจากลูกค้าลดลง และมีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น และมีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขี้นอีกด้วย จาก 8.45 ล้านบาทในไตรมาสแรกปี 54 เป็น 13.44 ล้านบาท ในไตรมาสแรกปีนี้ และมีค่าใช้จ่ายรวม 287 ล้านบาท ลดลงจากงวดนี้ปีก่อนที่มีค่าใช้จ่ายรวม 313 ล้านบาท
นายธีระกล่าวถึงลูกค้าของบริษัทว่า ยังคงเหนียวแน่นกับ carria york daikin รวมถึงยี่ห้อของญี่ปุ่น และลูกค้าอื่นๆ ด้วย โดยปีนี้ CIG ตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 1,300 ล้านบาท ขณะที่ปี 54 มีรายได้รวม 1,139 ล้านบาท และมีต้นทุนทางการเงิน 44 ล้านบาท ขณะงวดนี้ปีก่อนมีต้นทุนทางการเงิน 33 ล้านบาท ซึ่งต้นทุนทางการเงินถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้บริหารบอกว่าต้องเร่งแก้ไข เนื่องจากเป็นภาระทางการเงินที่ต้องให้กระจ่าง เป็นการปรับงบการเงินให้เข้าสู่ปกติ นั่นคือ การไม่มีตัวเลขขาดทุนสะสม