ตลาดหลักทรัพย์ฯ แขวนป้าย SP และ NP หุ้น RPC เหตุกรณีผู้สอบบัญชีไม่สามารถให้ความเชื่อมั่นต่องบการเงิน เนื่องจากบริษัทมีข้อพิพาททางการค้า และคดีฟ้องร้องที่สำคัญกับผู้ขายวัตถุดิบรายหลักของบริษัท ขณะแจ้งผลงานไตรมาสแรกปีนี้ขาดทุน 11 ล้านบาท ใจป้ำจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นอัตราหุ้นละ 94 สต.กำหนดจ่าย 15 มิ.ย.55 นี้
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขึ้นเครื่องหมาย SP และ NP กรณีผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 55 ของบริษัท ระยอง เพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) หรือ RPC เนื่องจากบริษัทได้นำส่งงบการเงินไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 55 ฉบับที่ผ่านการสอบทานมายังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยผู้สอบบัญชีไม่อาจให้ข้อสรุปต่องบการเงินของบริษัท เนื่องจากบริษัทมีข้อพิพาททางการค้า และคดีฟ้องร้องที่สำคัญกับผู้ขายวัตถุดิบรายหลักของบริษัท
ขณะนี้ข้อพิพาททางการค้าดังกล่าวอยู่ภายใต้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ และคดีฟ้องร้องอยู่ภายใต้กระบวนการพิจารณาคดีของศาลแพ่ง ผลของข้อพิพาททางการค้า และคดีฟ้องร้องดังกล่าวยังไม่สามารถระบุได้ และขึ้นอยู่กับกระบวนการยุติธรรมในอนาคต ต่อมาผู้ขายวัตถุดิบรายหลักของบริษัทได้หยุดส่งวัตถุดิบให้แก่บริษัทตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 55 ซึ่งทำให้บริษัทต้องหยุดการผลิต เนื่องจากไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบหลักดังกล่าวจากผู้ขายรายอื่น และบริษัทยังอยู่ระหว่างการจัดให้มีการประเมินมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนเพื่อใช้ในการพิจารณาการด้อยค่า และปรับปรุงรายการของบัญชีดังต่อไปนี้ให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป
ทั้งนี้ ผลของความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการและผลการพิจารณาการด้อยค่าของสินทรัพย์ทำให้ตัวเลขผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทที่ปรากฏในงบการเงินอาจไม่แสดงค่าที่แท้จริงของกิจการ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ อาจสั่งการให้บริษัทแก้ไขงบการเงินได้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงขึ้นเครื่องหมาย SP (Suspension) เพื่อห้ามการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของ บริษัทจดทะเบียนดังกล่าวตั้งแต่การซื้อขายรอบเช้าของวันที่ 11 พฤษภาคม 55 เพื่อให้ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปมีเวลาในการพิจารณารายงานของผู้สอบบัญชี ประกอบกับตัวเลขในงบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงินอย่างระมัดระวัง
โดยจะอนุญาตให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของ RPC พร้อมกับการขึ้นเครื่องหมาย NP (Notice Pending) ตั้งแต่การซื้อหรือขายรอบเช้าวันที่ 14 พฤษภาคม 55 จนกว่าบริษัทดังกล่าวจะนำส่งงบการเงินฉบับแก้ไข หรือจนกว่าจะได้ข้อสรุปว่าไม่ต้องแก้ไขงบการเงินดังกล่าว
ขณะที่ RPC แจ้งผลงานไตรมาสแรกปีนี้ว่า บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 11 ล้านบาท ขณะที่งวดนี้ปีก่อนมีกำไรสุทธิ 145 ล้านบาท หรือลดลง 155.56 ล้านบาท คิดเป็น 108% การขาดทุนดังกล่าวเป็นผลจากการที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ได้หยุดส่งวัตถุดิบให้แก่บริษัทฯ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 55 ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาข้อ15.5 ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ในขณะที่เรื่องยังอยู่ระหว่างกระบวนการอนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องปฏิบัติตามสัญญาต่อไป จนกว่าจะมีผลการพิจารณาชี้ขาดจากคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ทำให้บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องหยุดการผลิตลงอย่างไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งได้ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อบริษัทฯ และบริษัทย่อย
ส่งผลให้ในไตรมาส 1 ปี 55 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายทั้งสิ้น 3,719.54 ล้านบาท ลดลง 2,805.79 ล้านบาท หรือ 49% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ที่มีรายได้จากการขาย 6,525.33 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ต้นทุนขายก็ลดลงจากสาเหตุเดียวกันกับที่กล่าวมาข้างต้น กล่าวคือในไตรมาส 1 ปี 55 ต้นทุนขายลดลง 2,547 ล้านบาท คิดเป็น 41% เช่นกัน นอกจากนี้ ปริมาณขายในไตรมาส 1 ปี 55 ลดลงจาก 233 ล้านลิตรในไตรมาส 1 ปี 54 เป็น 136 ล้านลิตร ส่วนค่าใช้จ่ายขายและบริหาร และค่าตอบแทนผู้บริหารลดลง
โดยคณะกรรมการบริษัทประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาลหุ้นละ 0.94 บาท และกำหนดจ่าย 15 มิถุนายน 55
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขึ้นเครื่องหมาย SP และ NP กรณีผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 55 ของบริษัท ระยอง เพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) หรือ RPC เนื่องจากบริษัทได้นำส่งงบการเงินไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 55 ฉบับที่ผ่านการสอบทานมายังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยผู้สอบบัญชีไม่อาจให้ข้อสรุปต่องบการเงินของบริษัท เนื่องจากบริษัทมีข้อพิพาททางการค้า และคดีฟ้องร้องที่สำคัญกับผู้ขายวัตถุดิบรายหลักของบริษัท
ขณะนี้ข้อพิพาททางการค้าดังกล่าวอยู่ภายใต้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ และคดีฟ้องร้องอยู่ภายใต้กระบวนการพิจารณาคดีของศาลแพ่ง ผลของข้อพิพาททางการค้า และคดีฟ้องร้องดังกล่าวยังไม่สามารถระบุได้ และขึ้นอยู่กับกระบวนการยุติธรรมในอนาคต ต่อมาผู้ขายวัตถุดิบรายหลักของบริษัทได้หยุดส่งวัตถุดิบให้แก่บริษัทตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 55 ซึ่งทำให้บริษัทต้องหยุดการผลิต เนื่องจากไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบหลักดังกล่าวจากผู้ขายรายอื่น และบริษัทยังอยู่ระหว่างการจัดให้มีการประเมินมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนเพื่อใช้ในการพิจารณาการด้อยค่า และปรับปรุงรายการของบัญชีดังต่อไปนี้ให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป
ทั้งนี้ ผลของความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการและผลการพิจารณาการด้อยค่าของสินทรัพย์ทำให้ตัวเลขผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทที่ปรากฏในงบการเงินอาจไม่แสดงค่าที่แท้จริงของกิจการ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ อาจสั่งการให้บริษัทแก้ไขงบการเงินได้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงขึ้นเครื่องหมาย SP (Suspension) เพื่อห้ามการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของ บริษัทจดทะเบียนดังกล่าวตั้งแต่การซื้อขายรอบเช้าของวันที่ 11 พฤษภาคม 55 เพื่อให้ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปมีเวลาในการพิจารณารายงานของผู้สอบบัญชี ประกอบกับตัวเลขในงบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงินอย่างระมัดระวัง
โดยจะอนุญาตให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของ RPC พร้อมกับการขึ้นเครื่องหมาย NP (Notice Pending) ตั้งแต่การซื้อหรือขายรอบเช้าวันที่ 14 พฤษภาคม 55 จนกว่าบริษัทดังกล่าวจะนำส่งงบการเงินฉบับแก้ไข หรือจนกว่าจะได้ข้อสรุปว่าไม่ต้องแก้ไขงบการเงินดังกล่าว
ขณะที่ RPC แจ้งผลงานไตรมาสแรกปีนี้ว่า บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 11 ล้านบาท ขณะที่งวดนี้ปีก่อนมีกำไรสุทธิ 145 ล้านบาท หรือลดลง 155.56 ล้านบาท คิดเป็น 108% การขาดทุนดังกล่าวเป็นผลจากการที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ได้หยุดส่งวัตถุดิบให้แก่บริษัทฯ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 55 ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาข้อ15.5 ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ในขณะที่เรื่องยังอยู่ระหว่างกระบวนการอนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องปฏิบัติตามสัญญาต่อไป จนกว่าจะมีผลการพิจารณาชี้ขาดจากคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ทำให้บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องหยุดการผลิตลงอย่างไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งได้ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อบริษัทฯ และบริษัทย่อย
ส่งผลให้ในไตรมาส 1 ปี 55 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายทั้งสิ้น 3,719.54 ล้านบาท ลดลง 2,805.79 ล้านบาท หรือ 49% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ที่มีรายได้จากการขาย 6,525.33 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ต้นทุนขายก็ลดลงจากสาเหตุเดียวกันกับที่กล่าวมาข้างต้น กล่าวคือในไตรมาส 1 ปี 55 ต้นทุนขายลดลง 2,547 ล้านบาท คิดเป็น 41% เช่นกัน นอกจากนี้ ปริมาณขายในไตรมาส 1 ปี 55 ลดลงจาก 233 ล้านลิตรในไตรมาส 1 ปี 54 เป็น 136 ล้านลิตร ส่วนค่าใช้จ่ายขายและบริหาร และค่าตอบแทนผู้บริหารลดลง
โดยคณะกรรมการบริษัทประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาลหุ้นละ 0.94 บาท และกำหนดจ่าย 15 มิถุนายน 55