ASTVผู้จัดการรายวัน - เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ เผย อุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มควบรวมมากขึ้น คือกลุ่ม บริการ อาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ พลังงาน คาดปีนี้มีบริษัทควบรวมกิจการมากขึ้นจากปีก่อนมี 156 ดีล มูลค่ารวม 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างรายได้กำไรเติบโตมากขึ้น
นายกิตติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด เปิดเผยว่า แนวโน้มการควบรวมกิจการของไทยในปี 2555 คาดว่าจะมากกว่าปี 2554 มีจำนวน 156 ดีล มูลค่า 2.02 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก บริษัทมีเงินสดเหลือทำให้ต้องซื้อกิจการเพิ่มเพื่อขยายธุรกิจมากขึ้น ทำให้บริษัทมีรายได้และกำไรเติบโตมากขึ้น และปัจจุบันบริษัทมีงานเกี่ยวกับการควบรวมกิจการพอสมควร
สำหรับอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มที่จะมีการควบรวมจำนวนมาก คือ อุตสาหกรรมบริการ พลังงาน อาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ จากธุรกิจดังกล่าวนั้นประเทศไทยมีจุดแข็ง ทำให้ต่างประเทศสนใจที่จะเข้ามาลงทุน และจากการที่จะมีการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน (AEC) นั้นทำให้นักลงทุนต่างประเทศแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา สนใจที่จะเข้ามาลงทุน เพื่อที่จะได้เข้าไปลงทุนในแถบอาเซียนด้วย
“ประเทศไทยมีเชื่อเสียงทางด้านโรงพยาบาล โรงแรม เป็นที่สนใจของต่างประเทศที่จะเข้ามาซื้อ ขณะที่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนนั้นประเทศไทย เป็นศูนย์กลางในการผลิตรถยนต์ทำให้ต่างประเทศสนใจแทนที่จะเข้ามาทำเองก็ซื้อบริษัทไทยดีกว่า” นายกิตติพงศ์ กล่าว
ทั้งนี้ บริษัทไทยโดยเฉพาะบริษัทขนาดกลางและเล็กควรมีการเตรียมตัวรองรับเรื่องดังกล่าวเพื่อให้สามารถแข่งขันได้จากที่จะมีการเปิดเสรีฯ ในอนาคต เพราะหากไม่เตรียมตัว จะมีบริษัทจากต่างประเทศเข้ามาซื้อกิจการบริษัทที่ดีไปก่อน ซึ่งรัฐบาลควรช่วยสนับสนุนในเรื่องการลดข้ออุปสรรคต่างๆ ด้วย
โดยขณะนี้ พระราชบัญญัติการควบรวมกิจการอยู่ระหว่างการพิจารณาของกฤกษฎีกา หากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ เชื่อว่าจะมีการควบรวมมากขึ้น จากปัจจุบัน บริษัทมีลูกค้าที่มีการเตรียมความพร้อมอยู่ โดยที่ผ่านมาสาเหตุหลักที่บริษัทไทยไม่ค่อยมีการควบรวมกิจการกัน เนื่องจากหวงความเป็นเจ้าของ
นายกิตติพงศ์ กล่าวว่า การรวบกิจการเกิดจากปัจจัย 14 ข้อดังนี้ คือ 1.เพื่อขยายธุรกิจ 2 เพื่อกระจายความเสี่ยงจากมีกิจการหลากหลาย 3.เพิ่มรายได้และส่วนแบ่งการตลาด 4.เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินในการประกอบธุรกิจ 5.เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจ 6. เพื่อให้มีอำนาจควบคุมกิจการเป้าหมาย 7.เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี 8.มีผลดีด้านการระดมทุน 9.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหาร 10.ประหยัดต่อขนาด 11.หาพันธมิตรทางธุรกิจ 12.ป้องกันไม่ให้มีคู่แข่งมากเกินไป 13. ความเสี่ยงต่ำกว่าการเริ่มธุรกิจใหม่เอง และ 14.สิทธิประโยชน์ทางภาษี
นายกิตติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด เปิดเผยว่า แนวโน้มการควบรวมกิจการของไทยในปี 2555 คาดว่าจะมากกว่าปี 2554 มีจำนวน 156 ดีล มูลค่า 2.02 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก บริษัทมีเงินสดเหลือทำให้ต้องซื้อกิจการเพิ่มเพื่อขยายธุรกิจมากขึ้น ทำให้บริษัทมีรายได้และกำไรเติบโตมากขึ้น และปัจจุบันบริษัทมีงานเกี่ยวกับการควบรวมกิจการพอสมควร
สำหรับอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มที่จะมีการควบรวมจำนวนมาก คือ อุตสาหกรรมบริการ พลังงาน อาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ จากธุรกิจดังกล่าวนั้นประเทศไทยมีจุดแข็ง ทำให้ต่างประเทศสนใจที่จะเข้ามาลงทุน และจากการที่จะมีการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน (AEC) นั้นทำให้นักลงทุนต่างประเทศแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา สนใจที่จะเข้ามาลงทุน เพื่อที่จะได้เข้าไปลงทุนในแถบอาเซียนด้วย
“ประเทศไทยมีเชื่อเสียงทางด้านโรงพยาบาล โรงแรม เป็นที่สนใจของต่างประเทศที่จะเข้ามาซื้อ ขณะที่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนนั้นประเทศไทย เป็นศูนย์กลางในการผลิตรถยนต์ทำให้ต่างประเทศสนใจแทนที่จะเข้ามาทำเองก็ซื้อบริษัทไทยดีกว่า” นายกิตติพงศ์ กล่าว
ทั้งนี้ บริษัทไทยโดยเฉพาะบริษัทขนาดกลางและเล็กควรมีการเตรียมตัวรองรับเรื่องดังกล่าวเพื่อให้สามารถแข่งขันได้จากที่จะมีการเปิดเสรีฯ ในอนาคต เพราะหากไม่เตรียมตัว จะมีบริษัทจากต่างประเทศเข้ามาซื้อกิจการบริษัทที่ดีไปก่อน ซึ่งรัฐบาลควรช่วยสนับสนุนในเรื่องการลดข้ออุปสรรคต่างๆ ด้วย
โดยขณะนี้ พระราชบัญญัติการควบรวมกิจการอยู่ระหว่างการพิจารณาของกฤกษฎีกา หากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ เชื่อว่าจะมีการควบรวมมากขึ้น จากปัจจุบัน บริษัทมีลูกค้าที่มีการเตรียมความพร้อมอยู่ โดยที่ผ่านมาสาเหตุหลักที่บริษัทไทยไม่ค่อยมีการควบรวมกิจการกัน เนื่องจากหวงความเป็นเจ้าของ
นายกิตติพงศ์ กล่าวว่า การรวบกิจการเกิดจากปัจจัย 14 ข้อดังนี้ คือ 1.เพื่อขยายธุรกิจ 2 เพื่อกระจายความเสี่ยงจากมีกิจการหลากหลาย 3.เพิ่มรายได้และส่วนแบ่งการตลาด 4.เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินในการประกอบธุรกิจ 5.เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจ 6. เพื่อให้มีอำนาจควบคุมกิจการเป้าหมาย 7.เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี 8.มีผลดีด้านการระดมทุน 9.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหาร 10.ประหยัดต่อขนาด 11.หาพันธมิตรทางธุรกิจ 12.ป้องกันไม่ให้มีคู่แข่งมากเกินไป 13. ความเสี่ยงต่ำกว่าการเริ่มธุรกิจใหม่เอง และ 14.สิทธิประโยชน์ทางภาษี