ASTVผู้จัดการรายวัน - “ช.การช่าง” ยอมรับสนใจเข้ารับงานในพม่า คาดปีนี้รายได้-กำไรเติบโตเพิ่มจากปี 54 หลังการลงทุนทุกด้านสร้างผลตอบแทนกลับมาสวย อีกทั้งมีงานในมือสูงถึง 1.4 แสนล้านบาท คาด “ซีเค พาวเวอร์” กระจายหุ้นในตลาด Q4 ส่วน BMCL เชื่อแก้ขาดทุนได้ใน 3 ปี
นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ช.การช่าง (CK) เปิดเผยถึงแนวโน้มธุรกิจในปี 2555 ว่า จะมีรายได้ประมาณ 15,000 ล้านบาท หรือเติบโต 15% จากปี 2554 โดยส่วนใหญ่มาจากการรับรู้งานคงค้างในมือที่มีอยู่ 140,0000 ล้านบาท และเชื่อว่ากำไรในปีนี้ต่อเนื่องถึงปีหน้า จะไม่น้อยกว่าปีก่อน จากการที่บริษัทมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น และกิจการที่เข้าไปลงทุนมีเงินปันผลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมูลค่าหุ้นปรับเพิ่มขึ้น
“รายได้ของ CK ในไตรมาสแรกนี้เชื่อว่าจะดีขึ้นกว่าไตรมาสสุดท้ายปี 54 ที่งานก่อสร้างหลายโครงการหยุดไป 1-2 เดือนจากภัยน้ำท่วม และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อนก็เชื่อว่า รายได้และกำไรจะเติบโตขึ้นด้วย จากการรับรู้มูลค่างงานคงค้างในมือที่มีสูง และมีอัตรากำไรขั้นต้นสูง โดยบริษัทตั้งเป้าหมายจะรับงานในอนาคตที่มีอัตรากำไรขั้นต้นมากกว่า 10% โดยบริษัทยังมีงานที่คาดว่าจะเซ็นสัญญาเร็วๆ นี้ คือ โครงการทางด่วนศรีรัช มูลค่างาน 25,000 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า SPP นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน 5,000 ล้านบาท ทำให้คาดว่า backlog ณ สิ้นปี 55 จะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 17,000 ล้านบาท”
สำหรับโครงการเขื่อนและโรงไฟฟ้าไซยะบุรี มูลค่าสัญญา 76,000 ล้านบาท CK ยืนยันว่าจะเดินหน้าก่อสร้างตามสัญญาที่ได้ลงนามรับงานไว้ โดยคาดว่าผลประโยชน์ที่ได้รับจะสร้างผลตอบแทนไม่น้อยกว่า 10% และหลังจากงานก่อสร้างแล้วเสร็จ บริษัทยังได้สัมปทานอีก 9 ปี ซึ่งคาดว่า มีผลตอบแทนการลงทุนที่ 12-13% จากสัดส่วนที่ CK ถือหุ้นในไซยะบุรีอยู่ 30%
ขณะเดียวกัน คาดว่า บมจ.ซีเค พาวเวอร์ จะมีแผนยื่นไฟลิ่งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในปลายไตรมาส 3/55 ซึ่งหากอนุมัติคาดว่าจะเปิดขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ได้ในช่วงไตรมาส 4/55
นอกจากนี้ ซีอีโอ CK ยอมรับว่า บริษัทสนใจการลงทุนในโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการทวาย รวมทั้งการเข้ารับงานระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า และระบบถนนในประเทศพม่า แต่ต้องศึกษาเป็นรายโครงการไป โดยต้องมั่นใจว่าโครงการดังกล่าวจะสร้างกำไรให้แก่บริษัท ส่วนการถือหุ้นใน บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ที่ยังประสบปัญหาขาดทุน เชื่อว่าหลังจากโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน สีม่วง และสีเขียวแล้วเสร็จ จะทำให้มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ BMCL สามารถแก้ปัญหาการขาดทุนได้อย่างเบ็ดเสร็จภายใน 3 ปี
นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ช.การช่าง (CK) เปิดเผยถึงแนวโน้มธุรกิจในปี 2555 ว่า จะมีรายได้ประมาณ 15,000 ล้านบาท หรือเติบโต 15% จากปี 2554 โดยส่วนใหญ่มาจากการรับรู้งานคงค้างในมือที่มีอยู่ 140,0000 ล้านบาท และเชื่อว่ากำไรในปีนี้ต่อเนื่องถึงปีหน้า จะไม่น้อยกว่าปีก่อน จากการที่บริษัทมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น และกิจการที่เข้าไปลงทุนมีเงินปันผลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมูลค่าหุ้นปรับเพิ่มขึ้น
“รายได้ของ CK ในไตรมาสแรกนี้เชื่อว่าจะดีขึ้นกว่าไตรมาสสุดท้ายปี 54 ที่งานก่อสร้างหลายโครงการหยุดไป 1-2 เดือนจากภัยน้ำท่วม และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อนก็เชื่อว่า รายได้และกำไรจะเติบโตขึ้นด้วย จากการรับรู้มูลค่างงานคงค้างในมือที่มีสูง และมีอัตรากำไรขั้นต้นสูง โดยบริษัทตั้งเป้าหมายจะรับงานในอนาคตที่มีอัตรากำไรขั้นต้นมากกว่า 10% โดยบริษัทยังมีงานที่คาดว่าจะเซ็นสัญญาเร็วๆ นี้ คือ โครงการทางด่วนศรีรัช มูลค่างาน 25,000 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า SPP นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน 5,000 ล้านบาท ทำให้คาดว่า backlog ณ สิ้นปี 55 จะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 17,000 ล้านบาท”
สำหรับโครงการเขื่อนและโรงไฟฟ้าไซยะบุรี มูลค่าสัญญา 76,000 ล้านบาท CK ยืนยันว่าจะเดินหน้าก่อสร้างตามสัญญาที่ได้ลงนามรับงานไว้ โดยคาดว่าผลประโยชน์ที่ได้รับจะสร้างผลตอบแทนไม่น้อยกว่า 10% และหลังจากงานก่อสร้างแล้วเสร็จ บริษัทยังได้สัมปทานอีก 9 ปี ซึ่งคาดว่า มีผลตอบแทนการลงทุนที่ 12-13% จากสัดส่วนที่ CK ถือหุ้นในไซยะบุรีอยู่ 30%
ขณะเดียวกัน คาดว่า บมจ.ซีเค พาวเวอร์ จะมีแผนยื่นไฟลิ่งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในปลายไตรมาส 3/55 ซึ่งหากอนุมัติคาดว่าจะเปิดขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ได้ในช่วงไตรมาส 4/55
นอกจากนี้ ซีอีโอ CK ยอมรับว่า บริษัทสนใจการลงทุนในโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการทวาย รวมทั้งการเข้ารับงานระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า และระบบถนนในประเทศพม่า แต่ต้องศึกษาเป็นรายโครงการไป โดยต้องมั่นใจว่าโครงการดังกล่าวจะสร้างกำไรให้แก่บริษัท ส่วนการถือหุ้นใน บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ที่ยังประสบปัญหาขาดทุน เชื่อว่าหลังจากโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน สีม่วง และสีเขียวแล้วเสร็จ จะทำให้มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ BMCL สามารถแก้ปัญหาการขาดทุนได้อย่างเบ็ดเสร็จภายใน 3 ปี