ASTVผู้จัดการรายวัน-ก.ล.ต.เตรียมประกาศใช้เกณฑ์กำกับดูแลตั๋วเงิน หุ้นกู้ระสั้น 1 ก.ค.นี้ หวังธนาคารพาณิชย์หันมาออกหุ้นกู้ระยะสั้นมากขึ้น แทนตั๋วบีอีจากปีก่อนมียอดรวม1.57 ล้านล้านบาท
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ก.ล.ต. และคณะกรรมการกำกับตลาดทุนให้ความเห็นชอบในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลตั๋วเงิน หุ้นกู้ระยะสั้น และหุ้นกู้ที่มีเงื่อนไขซับซ้อน เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจหันมาระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้แทนตั๋วเงิน โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาสถาบันการเงินระดมทุนจากประชาชนในรูปตั๋วเงินมากขึ้น ซึ่งในปี 2554 ธนาคารพาณิชย์ได้มีการออกตัวเงินระยะสั้น (B/E)รวม 1.57 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น16% ของมูลค่าการระดมทุนของธนาคารพาณิชย์ โดยถือว่าสูงมาก เมื่อเทีบบกับธนาคารต่างประเทศจะมีการระดมทุนโดยการออกB/E เพียง 6% เท่านั้น
“ในปีก่อนธนาคาพาณิชย์ได้มีการออกB/Eรวม1.57 ล้านล้านบาท ซึ่งบางธนาคารพาณิชย์ได้มีการระดมทุนโดยการออกB/Eสูงถึง 70% ของมูลค่าระดมทุนรวม ซึ่งถือว่าสูงมาก ซึ่งจากที่ก.ล.ต.จะมีการปรับปรุงเกณฑ์ดังกล่าวเริ่มมีสัญญาณว่าแบงก์จะหันออกมาออกหุ้นกู้แทนมากขึ้น ซึ่งบางบริษัทแจ้งว่าจะลดการระดมทุนจากB/Eเหลือ 20% จากปีก่อนที่มี 70% ของมูลค่าระดมทุนรวมของแบงก์”
ทั้งนี้การออกตรสารดังกล่าวมีการ มีรูปแบบการจ่ายผลตอบแทนคล้ายเงินฝาก บ้างก็มีอนุพันธ์แฝง การที่สถาบันการเงินออกและขายตั๋วเงินเองอาจทำให้ผู้ลงทุนเข้าใจผิดและคาดหวังการคุ้มครองเช่นเดียวกับเงินฝาก ตั๋วเงินยังมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนที่สลักหลังโอนตั๋วอาจถูกไล่เบี้ยโดยผู้ซื้อในทอดต่อไป รวมทั้งมีลักษณะทางกฎหมายที่ไม่เหมาะกับการออกโดยมีอนุพันธ์แฝง ดังนั้นจึงมองว่าควรได้รับการกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน และเพื่อเป็นการสร้างทางเลือกในการระดมทุนให้แก่ภาคธุรกิจแทนการออกตั๋วเงิน
ดังนั้น ก.ล.ต. จึงปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการออกและเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นและหุ้นกู้ที่มีเงื่อนไขซับซ้อน ให้มีความสะดวกและสามารถตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในส่วนของตั๋วเงิน เพื่อไม่ให้เข้าใจผิดและกระจายสู่รายย่อยในวงกว้าง ก.ล.ต. กำหนดให้ตั๋วเงินที่เสนอขายต่อประชาชนต้องมีมูลค่าหน้าตั๋วขั้นต่ำ 10 ล้านบาท (เว้นแต่เป็นตั๋วเงินที่ระดมทุนในวงแคบ คือ มีจำนวนคงค้างไม่เกิน 10 ฉบับ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง)
นอกจากนี้จะต้องมีคำเตือนว่าไม่ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และเพื่อจำกัดความเสี่ยงให้กับผู้ลงทุน จึงกำหนดให้ตั๋วเงินต้องมีเงื่อนไขห้ามเปลี่ยนมือหรือหากจะไม่กำหนดเงื่อนไขดังกล่าวก็ต้องมีข้อความที่จำกัดความรับผิดของผู้โอน นอกจากนี้ตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ต้องไม่มีอนุพันธ์แฝง รวมทั้งให้เสนอขายผ่านตัวกลางที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ทั้งที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์หรือสถาบันการเงิน เพื่อดูแลให้มีการเสนอขายสินค้าที่เหมาะกับผู้ลงทุน
นายวรพล กล่าวว่า เพื่อเป็นการให้ความสะดวกแก่ผุ้ออกหุ้นกู้และตั๋วเงินระยะสั้น ก.ล.ต. ได้ผ่อนคลายหลักเกณฑ์ในการให้สถาบันการเงินผู้ออกสามารถใช้งบการเงินตามมาตรฐานบัญชีและจัดส่งตามรอบระยะเวลาที่หน่วยงานกำกับดูแลหลักกำหนดได้ หากผู้ออกเป็นสาขาธนาคารต่างประเทศและไม่มีข้อจำกัดความรับผิดของธนาคารแม่ในต่างประเทศ สามารถใช้ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารแม่ในต่างประเทศได้ และตั๋วเงินและหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกโดยสถาบันการเงินและบริษัททั่วไปไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังอยู่ระหว่างดำเนินการผ่อนคลายหลักเกณฑ์อีกหลายเรื่อง ซึ่งจะทยอยประกาศให้ทราบต่อไป
นอกจากนี้เพื่อให้การออกและเสนอขายตราสารที่มีอนุพันธ์แฝงมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ก.ล.ต. ได้ออกหลักเกณฑ์รองรับการออกหุ้นกู้ที่มีเงื่อนไขซับซ้อนเพิ่มเติมจากหลักเกณฑ์การออกหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยกำหนดกระบวนการและกรอบเวลาในการขออนุญาตรวมทั้งรูปแบบและเนื้อหาในการเปิดเผยข้อมูลที่กระชับ รวดเร็ว และสะดวกมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีลักษณะของตราสารและปัจจัยอ้างอิง ตลอดจนข้อจำกัดความเสี่ยงของตราสาร ครอบคลุมและสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของสถาบันการเงินในปัจจุบัน
สำหรับการแก้ไขเกณฑ์ครั้งนี้เชื่อว่าจะทำให้ธนาคารพาณิชย์หันมาออกหุ้นกู้มากขึ้น แทนการออกตั๋วเงินระยะสั้นจากปีก่อนที่มีการออกสูงถึง 1.57 ล้านล้านบาท และการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการเก็บค่าธรรมเนียมการออกตั๋วเงินระยะสั้นอัตรา 0.47% ก็จะยิ่งทำให้มูลค่าการเสนอขายหุ้นกู้มีการเติบโตมากขึ้น
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ก.ล.ต. และคณะกรรมการกำกับตลาดทุนให้ความเห็นชอบในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลตั๋วเงิน หุ้นกู้ระยะสั้น และหุ้นกู้ที่มีเงื่อนไขซับซ้อน เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจหันมาระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้แทนตั๋วเงิน โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาสถาบันการเงินระดมทุนจากประชาชนในรูปตั๋วเงินมากขึ้น ซึ่งในปี 2554 ธนาคารพาณิชย์ได้มีการออกตัวเงินระยะสั้น (B/E)รวม 1.57 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น16% ของมูลค่าการระดมทุนของธนาคารพาณิชย์ โดยถือว่าสูงมาก เมื่อเทีบบกับธนาคารต่างประเทศจะมีการระดมทุนโดยการออกB/E เพียง 6% เท่านั้น
“ในปีก่อนธนาคาพาณิชย์ได้มีการออกB/Eรวม1.57 ล้านล้านบาท ซึ่งบางธนาคารพาณิชย์ได้มีการระดมทุนโดยการออกB/Eสูงถึง 70% ของมูลค่าระดมทุนรวม ซึ่งถือว่าสูงมาก ซึ่งจากที่ก.ล.ต.จะมีการปรับปรุงเกณฑ์ดังกล่าวเริ่มมีสัญญาณว่าแบงก์จะหันออกมาออกหุ้นกู้แทนมากขึ้น ซึ่งบางบริษัทแจ้งว่าจะลดการระดมทุนจากB/Eเหลือ 20% จากปีก่อนที่มี 70% ของมูลค่าระดมทุนรวมของแบงก์”
ทั้งนี้การออกตรสารดังกล่าวมีการ มีรูปแบบการจ่ายผลตอบแทนคล้ายเงินฝาก บ้างก็มีอนุพันธ์แฝง การที่สถาบันการเงินออกและขายตั๋วเงินเองอาจทำให้ผู้ลงทุนเข้าใจผิดและคาดหวังการคุ้มครองเช่นเดียวกับเงินฝาก ตั๋วเงินยังมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนที่สลักหลังโอนตั๋วอาจถูกไล่เบี้ยโดยผู้ซื้อในทอดต่อไป รวมทั้งมีลักษณะทางกฎหมายที่ไม่เหมาะกับการออกโดยมีอนุพันธ์แฝง ดังนั้นจึงมองว่าควรได้รับการกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน และเพื่อเป็นการสร้างทางเลือกในการระดมทุนให้แก่ภาคธุรกิจแทนการออกตั๋วเงิน
ดังนั้น ก.ล.ต. จึงปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการออกและเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นและหุ้นกู้ที่มีเงื่อนไขซับซ้อน ให้มีความสะดวกและสามารถตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในส่วนของตั๋วเงิน เพื่อไม่ให้เข้าใจผิดและกระจายสู่รายย่อยในวงกว้าง ก.ล.ต. กำหนดให้ตั๋วเงินที่เสนอขายต่อประชาชนต้องมีมูลค่าหน้าตั๋วขั้นต่ำ 10 ล้านบาท (เว้นแต่เป็นตั๋วเงินที่ระดมทุนในวงแคบ คือ มีจำนวนคงค้างไม่เกิน 10 ฉบับ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง)
นอกจากนี้จะต้องมีคำเตือนว่าไม่ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และเพื่อจำกัดความเสี่ยงให้กับผู้ลงทุน จึงกำหนดให้ตั๋วเงินต้องมีเงื่อนไขห้ามเปลี่ยนมือหรือหากจะไม่กำหนดเงื่อนไขดังกล่าวก็ต้องมีข้อความที่จำกัดความรับผิดของผู้โอน นอกจากนี้ตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ต้องไม่มีอนุพันธ์แฝง รวมทั้งให้เสนอขายผ่านตัวกลางที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ทั้งที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์หรือสถาบันการเงิน เพื่อดูแลให้มีการเสนอขายสินค้าที่เหมาะกับผู้ลงทุน
นายวรพล กล่าวว่า เพื่อเป็นการให้ความสะดวกแก่ผุ้ออกหุ้นกู้และตั๋วเงินระยะสั้น ก.ล.ต. ได้ผ่อนคลายหลักเกณฑ์ในการให้สถาบันการเงินผู้ออกสามารถใช้งบการเงินตามมาตรฐานบัญชีและจัดส่งตามรอบระยะเวลาที่หน่วยงานกำกับดูแลหลักกำหนดได้ หากผู้ออกเป็นสาขาธนาคารต่างประเทศและไม่มีข้อจำกัดความรับผิดของธนาคารแม่ในต่างประเทศ สามารถใช้ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารแม่ในต่างประเทศได้ และตั๋วเงินและหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกโดยสถาบันการเงินและบริษัททั่วไปไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังอยู่ระหว่างดำเนินการผ่อนคลายหลักเกณฑ์อีกหลายเรื่อง ซึ่งจะทยอยประกาศให้ทราบต่อไป
นอกจากนี้เพื่อให้การออกและเสนอขายตราสารที่มีอนุพันธ์แฝงมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ก.ล.ต. ได้ออกหลักเกณฑ์รองรับการออกหุ้นกู้ที่มีเงื่อนไขซับซ้อนเพิ่มเติมจากหลักเกณฑ์การออกหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยกำหนดกระบวนการและกรอบเวลาในการขออนุญาตรวมทั้งรูปแบบและเนื้อหาในการเปิดเผยข้อมูลที่กระชับ รวดเร็ว และสะดวกมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีลักษณะของตราสารและปัจจัยอ้างอิง ตลอดจนข้อจำกัดความเสี่ยงของตราสาร ครอบคลุมและสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของสถาบันการเงินในปัจจุบัน
สำหรับการแก้ไขเกณฑ์ครั้งนี้เชื่อว่าจะทำให้ธนาคารพาณิชย์หันมาออกหุ้นกู้มากขึ้น แทนการออกตั๋วเงินระยะสั้นจากปีก่อนที่มีการออกสูงถึง 1.57 ล้านล้านบาท และการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการเก็บค่าธรรมเนียมการออกตั๋วเงินระยะสั้นอัตรา 0.47% ก็จะยิ่งทำให้มูลค่าการเสนอขายหุ้นกู้มีการเติบโตมากขึ้น