ASTVผู้จัดการรายวัน - สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างฯ ชี้ครึ่งปีแรกตลาดก่อสร้างยังซบ รัฐบาลยังไร้งบต้องขออนุมัติลงทุนซ่อม-สร้างจากครม. ด้านเอกชนชะลอลงทุนยาวถึงไตรมาส3รอดูนโยบาย-ทิศทางการลงทุนกลุ่มธุรกิจต่างๆ โดยเพาะนิคมอุตลาดหกรรม เชื่อครึ่งปีหลังงานชุก หลังรับบาลเริ่มใช้งบลงทุนได้ มั่นใจปีนี้รับลงทุนโครงการใหม่จำนวนมากหวังฟื้นเศรษฐกิจประเทศ -สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน ดึงกลุ่มนักลงทุนกลับหลังน้ำท่วมทำนักลงทุนลังเล ไม่กล้างลงทุน
นายกฤษดา จันทร์จำรัสแสง เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ปลายปี2554 ที่ผ่านมาตลาดก่อสร้างดอร์ปลงไป3-4เดือน เพราะได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ ส่งผลให้ตลาดชะลอตัวค่อนข้างมาก ขณะที่ปีนี้ทุกคนต่างคาดหวังว่าตลาดจะดีขึ้นจากปีก่อนอย่างมาก เพราะเชื่อว่ารัฐบาลจะมีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่จำนวนมาก ทั้งในส่วนของโครงการซ่อมสร้างระบบสาธารณูปโภค และระบบคมนาคม รวมถึงการลงทุนก่อสร้างระบบรถไฟฟ้า และระบบบริหารจัดการน้ำ
ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งที่รัฐบาลต้องมีการลงทุนก่อสร้างจำนวนมากในปีนี้เพราะ ต้องการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางทเศรษฐกิจและเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนก่อสร้างระบบระบบายน้ำ และระบบบริหารจัดการน้ำ ซึ่งจะเป็นการช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนที่ตั้งฐานผลิตสินค้าในประเทศด้วย
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้นยังคงส่งผลต่อการขาดแคลนวัสดุก่อสร้าง เนื่องจากยังติดปัญหาการขนส่ง นอกจากนี้ในด้านงบประมาณด้านการซ่อม-สร้างของ และลงทุนดครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐในปีนี้ ยังคงต้องใช้ระยะเวลาในการอนุมัติ โดยเฉพาะงบลงทุนของรับบาลในปีงบประมาณ2555 เนื่องจากในช่วงเดือน ต.ค. ซึ่งเป็นช่วงของการจัดทำงบประมาณแผ่นดิน นั้นไม่ได้มีการจัดทำงบประมาณดังกล่าว เพราะาเป้ฯช่วงของการเลือกตั้งทำให้ในปี2555 รัฐบาลยังไม่มีงบประมาณในการลงทุนที่ชัดเจน
และเพื่อแก้ปัญหาเรื่องบประมาณของรัฐบาล จึงต้องขออนุมัติงบประมาณเร่งด่วนผ่านที่ประที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการซ่อมแซม และก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ทั้งนี้ คาดว่าในเรื่องของเงินงบประมาณก่อสร้างต่างๆ ของปีนี้จะสามารถได้ข้อสรุปและขออนุมัติได้ภายในเดือน ก.พ. และกว่าจะผ่านขั้นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างได้คาดว่าในปีนี้รัฐบาลจะเริ่มใช้งบประมาณได้ในเดือน พ.ค.2555 ซึ่งอยู่ในช่วงไตรมาสที่2ของปีแล้ว ดังนั้นเชื่อว่าในช่วงต้นปีนี้ภาคการก่อสร้างรวมจะยังไม่ขยายตัว แต่หลังจากช่วงไตรมาสที่2 เป็นต้นไปจะมีงานก่อสร้างเข้ามาจำนวนมาก
“หากรัฐบาลสามารถดำเนินงานเป็นไปตามแผน คือในเดือนต.ค. สามารถจัดทำร่างงบประมาณแผ่นดินประจำปี2556 ออกมาอีก ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้มีการอนุมัติงบก่อสร้างและโครงการสาธารณูปโภค รวมถึงงานก่อสร้างลงทุนโครงการขนาดใหญ่ออกมาเอยะมาก”
นายกฤษดา กล่าวว่า สำหรังงานก่อสร้างในภาคเอกชนนั้น หลังจากชะงักมาช่วงหนึ่ง เพราะการลงทุนตามแผนเดิมของเอกชนได้มีการชะลอออกไป โดยเฉพาะงานก่อสร้างโครงการ และการลงทุนโครงการใหม่ในจังหวัดที่ถูกน้ำท่วมนั้น ภาคเอกชนยังชะลอลงทุนออกไปต่ออีก เพื่อรอดูทิศทางให้ชัดเจนก่อนจะกลับมาลงทุนใหม่ ทำให้ในช่วงครึ่งแรกของปี2555นี้จะมีการลงทุนของภาคเอกชนน้อยมาก เว้นแต่งานซ่อมแซม ซึ่งไม่ใช้งานหลักของผู้ประกอบการก่อสร้าง
ทั้งนี้ คาดว่าการลงทุนก่อสร้างโครงการของภาคเอกชนจะเริ่มกลับมาขยายตัวในช่วงไตรมาสที่3ของปีผ่านไปแล้ว สาเหตุที่เชื่อว่าเอกชนจะเริ่มกลับมาลงทุนในช่วงปลายปีนี้ เนื่องจากการลงทุนของภาคเอกชนนั้นต้องรอดูนโยบายการลงทุนของภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะในกลุ่มโรงานและนิคมอุตสาหกรรมเป็นส่วนประกอบหลัก นอกจากนี้ภาคเอกชนเองหลังประสบปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมาแล้วต้องการรื้อแผนการลงทุนเดิม เพื่อนำกลับมาทบทวนและวางแผนงานใหม่ทั้งหมดด้วย
ส่วนปัจจัยลบในปีนี้เชื่อว่ายังคงเป็นเรื่องของแนวโน้มการปรับตัวของราคาวัสดุก่อสร้าง และปัญหาการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงต้นทุนค่าแรง ซึ่งรัฐบาลจะมีการปรับขึ้นค่าแรงงานข้ำนต่ำเป็น 300บาทต่อวันด้วย โดยในส่วนของปัญหานี้ปัญหาดังกล่าวนั้น จะส่งผลต่องานก่อสร้างโครงการเก่าหรืองานที่มีการประมูลแล้ว เพราะต้องประสบกับปัญหาการปรับขึ้นของต้นทุนใหม่ ส่วนงานก่อสร้างโครงการใหม่นั้นไม่น่ามีปัญหาเพราะสามารถปรับต้นทุนใหม่ก่อนประมูลงานได้ทัน
นายกฤษดา จันทร์จำรัสแสง เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ปลายปี2554 ที่ผ่านมาตลาดก่อสร้างดอร์ปลงไป3-4เดือน เพราะได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ ส่งผลให้ตลาดชะลอตัวค่อนข้างมาก ขณะที่ปีนี้ทุกคนต่างคาดหวังว่าตลาดจะดีขึ้นจากปีก่อนอย่างมาก เพราะเชื่อว่ารัฐบาลจะมีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่จำนวนมาก ทั้งในส่วนของโครงการซ่อมสร้างระบบสาธารณูปโภค และระบบคมนาคม รวมถึงการลงทุนก่อสร้างระบบรถไฟฟ้า และระบบบริหารจัดการน้ำ
ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งที่รัฐบาลต้องมีการลงทุนก่อสร้างจำนวนมากในปีนี้เพราะ ต้องการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางทเศรษฐกิจและเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนก่อสร้างระบบระบบายน้ำ และระบบบริหารจัดการน้ำ ซึ่งจะเป็นการช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนที่ตั้งฐานผลิตสินค้าในประเทศด้วย
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้นยังคงส่งผลต่อการขาดแคลนวัสดุก่อสร้าง เนื่องจากยังติดปัญหาการขนส่ง นอกจากนี้ในด้านงบประมาณด้านการซ่อม-สร้างของ และลงทุนดครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐในปีนี้ ยังคงต้องใช้ระยะเวลาในการอนุมัติ โดยเฉพาะงบลงทุนของรับบาลในปีงบประมาณ2555 เนื่องจากในช่วงเดือน ต.ค. ซึ่งเป็นช่วงของการจัดทำงบประมาณแผ่นดิน นั้นไม่ได้มีการจัดทำงบประมาณดังกล่าว เพราะาเป้ฯช่วงของการเลือกตั้งทำให้ในปี2555 รัฐบาลยังไม่มีงบประมาณในการลงทุนที่ชัดเจน
และเพื่อแก้ปัญหาเรื่องบประมาณของรัฐบาล จึงต้องขออนุมัติงบประมาณเร่งด่วนผ่านที่ประที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการซ่อมแซม และก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ทั้งนี้ คาดว่าในเรื่องของเงินงบประมาณก่อสร้างต่างๆ ของปีนี้จะสามารถได้ข้อสรุปและขออนุมัติได้ภายในเดือน ก.พ. และกว่าจะผ่านขั้นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างได้คาดว่าในปีนี้รัฐบาลจะเริ่มใช้งบประมาณได้ในเดือน พ.ค.2555 ซึ่งอยู่ในช่วงไตรมาสที่2ของปีแล้ว ดังนั้นเชื่อว่าในช่วงต้นปีนี้ภาคการก่อสร้างรวมจะยังไม่ขยายตัว แต่หลังจากช่วงไตรมาสที่2 เป็นต้นไปจะมีงานก่อสร้างเข้ามาจำนวนมาก
“หากรัฐบาลสามารถดำเนินงานเป็นไปตามแผน คือในเดือนต.ค. สามารถจัดทำร่างงบประมาณแผ่นดินประจำปี2556 ออกมาอีก ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้มีการอนุมัติงบก่อสร้างและโครงการสาธารณูปโภค รวมถึงงานก่อสร้างลงทุนโครงการขนาดใหญ่ออกมาเอยะมาก”
นายกฤษดา กล่าวว่า สำหรังงานก่อสร้างในภาคเอกชนนั้น หลังจากชะงักมาช่วงหนึ่ง เพราะการลงทุนตามแผนเดิมของเอกชนได้มีการชะลอออกไป โดยเฉพาะงานก่อสร้างโครงการ และการลงทุนโครงการใหม่ในจังหวัดที่ถูกน้ำท่วมนั้น ภาคเอกชนยังชะลอลงทุนออกไปต่ออีก เพื่อรอดูทิศทางให้ชัดเจนก่อนจะกลับมาลงทุนใหม่ ทำให้ในช่วงครึ่งแรกของปี2555นี้จะมีการลงทุนของภาคเอกชนน้อยมาก เว้นแต่งานซ่อมแซม ซึ่งไม่ใช้งานหลักของผู้ประกอบการก่อสร้าง
ทั้งนี้ คาดว่าการลงทุนก่อสร้างโครงการของภาคเอกชนจะเริ่มกลับมาขยายตัวในช่วงไตรมาสที่3ของปีผ่านไปแล้ว สาเหตุที่เชื่อว่าเอกชนจะเริ่มกลับมาลงทุนในช่วงปลายปีนี้ เนื่องจากการลงทุนของภาคเอกชนนั้นต้องรอดูนโยบายการลงทุนของภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะในกลุ่มโรงานและนิคมอุตสาหกรรมเป็นส่วนประกอบหลัก นอกจากนี้ภาคเอกชนเองหลังประสบปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมาแล้วต้องการรื้อแผนการลงทุนเดิม เพื่อนำกลับมาทบทวนและวางแผนงานใหม่ทั้งหมดด้วย
ส่วนปัจจัยลบในปีนี้เชื่อว่ายังคงเป็นเรื่องของแนวโน้มการปรับตัวของราคาวัสดุก่อสร้าง และปัญหาการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงต้นทุนค่าแรง ซึ่งรัฐบาลจะมีการปรับขึ้นค่าแรงงานข้ำนต่ำเป็น 300บาทต่อวันด้วย โดยในส่วนของปัญหานี้ปัญหาดังกล่าวนั้น จะส่งผลต่องานก่อสร้างโครงการเก่าหรืองานที่มีการประมูลแล้ว เพราะต้องประสบกับปัญหาการปรับขึ้นของต้นทุนใหม่ ส่วนงานก่อสร้างโครงการใหม่นั้นไม่น่ามีปัญหาเพราะสามารถปรับต้นทุนใหม่ก่อนประมูลงานได้ทัน