ธปท.เผยการนำเงินทุนสำรองฯไปใช้แก้วิกฤตต่างๆ ต้องคำนึงถึงวินัยทางการเงิน และความน่าเชื่อถือด้วย แนะรัฐออกพันธบัตรมาแลกเงินทุนสำรอง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการออกพันธบัตรธปท.ในการทำหน้าที่ดูดซับสภาพคล่องในระบบได้และเงินที่ได้ควรต้องนำไปพัฒนาศักยภาพของประเทศ
นางสุชาดา กิระกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ให้สัมภาษณ์เปิดใจ หลังจากฝั่งรัฐบาลพยายามกดดันให้นำเงินทุนสำรองทางการระหว่างประเทศมาใช้ทั้งเหตุผลในการช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่เหลืออยู่ 1.14 ล้านล้านบาท รวมไปถึงการขอเงินส่วนนี้มาฟื้นฟูประเทศในช่วงเกิดปัญหาน้ำท่วมว่าแม้ว่า จะเกิดวิกฤตอะไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าธนาคารกลางไม่อยากจะช่วย แต่เครื่องมือของธนาคารกลางทั่วโลก คือ ผ่านนโยบายการเงิน ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของธปท.ที่ต้องดูแลหลายอย่าง
"ในปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับ 3.50%ต่อปี เหมือนมีช่องว่างในการทำนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจได้อยู่ แต่เมื่อไรที่แบงก์ชาติเสียวินัยทางการเงินก็จะมีผลให้ขาดความน่าเชื่อถือได้ ฉะนั้น การทำหน้าที่ของธนาคารกลางควรทำให้มีความน่าเชื่อและเราพยายามอย่างเต็มที่ แต่การเอาเงินสำรองทางการระหว่างประเทศไปใช้หรือจะหาเงินที่ต้นทุนต่ำจากธนาคารกลาง ซึ่งดูแล้วเหมือนไม่ใช่วิธีการที่ได้รับความน่าเชื่อถือนัก"
ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาหนี้สินกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นเรื่องที่ทางรัฐบาลและธปท.ได้ตกลงรับผิดชอบร่วมกันผ่านคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นว่าเป็นหนี้สาธารณะ ซึ่งเป็นหนี้ของประเทศ และเมื่อไรที่มีกำไรก็จะส่งกำไรให้รัฐ ถือเป็นเรื่องปกติของธนาคารกลางทั่วโลกที่ทำอยู่แล้ว
ส่วนการสลับหน้าที่รับผิดชอบให้ธปท.ดูแลดอกเบี้ยและคลังดูแลในส่วนเงินต้นของหนี้สินดังกล่าวต้องคำนึงด้วยว่าธนาคารกลางมีหน้าที่ดูแลนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญของธปท.ที่ย่อมมีต้นทุนการดำเนินการด้วย อย่างไรก็ตามธปท.เชื่อว่าปีนี้ จะมีดอกผลที่สามารถส่งกำไรให้รัฐได้
ส่วนการนำเงินสำรองฯ ไปฟื้นฟูประเทศต้องคิดกลับกันด้วยว่าหากให้ไปแล้วเกิดสร้างแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นและในที่สุดมีผลต่อแรงกดดันต่ออัตราดอกเบี้ยด้วย ซึ่งก็จะกลายเป็นการเก็บภาษีจากประชาชนทุกคน คนจนก็โดน เพราะต้องซื้อของที่แพงขึ้น อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาต้องพิจารณาถึงระยะยาวด้วย โดยมองว่าแม้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป แต่ตัวรัฐบาลไม่ได้เปลี่ยนแปลงก็สามารถตั้งงบประมาณใหม่ได้ ซึ่งอาจมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการต่างๆ ที่จะดำเนินการได้
รองผู้ว่าการธปท.กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ขณะนี้ยังไม่ทราบวิธีการนำเงินทุนสำรองฯ ไปใช้อย่างไร แต่มองว่าหากรัฐบาลออกพันธบัตรมาแลกเงินทุนสำรองแล้วนำเงินที่ได้ไปเพิ่มศักยภาพการผลิตและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศหรือเป็นการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนระยะยาวก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ในทางกลับกันต้องคิดด้วยว่าหากรัฐบาลออกพันธบัตรมาเยอะอาจสร้างความผันผวนในตลาดได้ เพราะผลตอบแทนสูงขึ้น ราคาลดลง ซึ่งการเข้าไปดูแลของธนาคารกลางลักษณะนี้ดูไม่ดีในสายตาของผู้เล่นในตลาดด้วย
"หากรัฐบาลเองออกพันธบัตรมาแลกเงินตราต่างประเทศจากธปท. เราก็นำพันธบัตรรัฐบาลตัวนี้สามารถใช้ดูดซับสภาพคล่องในระบบได้ ทำให้ธปท.ลดการออกพันธบัตรธปท. เพราะใช้พันธบัตรรัฐบาลดูดแทน อีกทั้งในส่วนของหนี้ของธปท.ก็ลดเช่นกัน ซึ่งพันธบัตรที่รัฐบาลจะออกมาเป็นรูปเงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศก็ได้ เพราะสามารถใช้วิธีเทียบเคียงอัตราแลกเปลี่ยนวันที่แลกไปได้ แต่หากจะตัดเงินสำรองฯออกไปเฉยๆ ไม่ได้ เพราะต้องคำนึงว่า แม้เรามีสินทรัพย์ แต่ก็มีภาระหนี้สินอยู่ด้วย"นางสุชาดากล่าว
นางสุชาดา กิระกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ให้สัมภาษณ์เปิดใจ หลังจากฝั่งรัฐบาลพยายามกดดันให้นำเงินทุนสำรองทางการระหว่างประเทศมาใช้ทั้งเหตุผลในการช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่เหลืออยู่ 1.14 ล้านล้านบาท รวมไปถึงการขอเงินส่วนนี้มาฟื้นฟูประเทศในช่วงเกิดปัญหาน้ำท่วมว่าแม้ว่า จะเกิดวิกฤตอะไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าธนาคารกลางไม่อยากจะช่วย แต่เครื่องมือของธนาคารกลางทั่วโลก คือ ผ่านนโยบายการเงิน ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของธปท.ที่ต้องดูแลหลายอย่าง
"ในปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับ 3.50%ต่อปี เหมือนมีช่องว่างในการทำนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจได้อยู่ แต่เมื่อไรที่แบงก์ชาติเสียวินัยทางการเงินก็จะมีผลให้ขาดความน่าเชื่อถือได้ ฉะนั้น การทำหน้าที่ของธนาคารกลางควรทำให้มีความน่าเชื่อและเราพยายามอย่างเต็มที่ แต่การเอาเงินสำรองทางการระหว่างประเทศไปใช้หรือจะหาเงินที่ต้นทุนต่ำจากธนาคารกลาง ซึ่งดูแล้วเหมือนไม่ใช่วิธีการที่ได้รับความน่าเชื่อถือนัก"
ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาหนี้สินกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นเรื่องที่ทางรัฐบาลและธปท.ได้ตกลงรับผิดชอบร่วมกันผ่านคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นว่าเป็นหนี้สาธารณะ ซึ่งเป็นหนี้ของประเทศ และเมื่อไรที่มีกำไรก็จะส่งกำไรให้รัฐ ถือเป็นเรื่องปกติของธนาคารกลางทั่วโลกที่ทำอยู่แล้ว
ส่วนการสลับหน้าที่รับผิดชอบให้ธปท.ดูแลดอกเบี้ยและคลังดูแลในส่วนเงินต้นของหนี้สินดังกล่าวต้องคำนึงด้วยว่าธนาคารกลางมีหน้าที่ดูแลนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญของธปท.ที่ย่อมมีต้นทุนการดำเนินการด้วย อย่างไรก็ตามธปท.เชื่อว่าปีนี้ จะมีดอกผลที่สามารถส่งกำไรให้รัฐได้
ส่วนการนำเงินสำรองฯ ไปฟื้นฟูประเทศต้องคิดกลับกันด้วยว่าหากให้ไปแล้วเกิดสร้างแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นและในที่สุดมีผลต่อแรงกดดันต่ออัตราดอกเบี้ยด้วย ซึ่งก็จะกลายเป็นการเก็บภาษีจากประชาชนทุกคน คนจนก็โดน เพราะต้องซื้อของที่แพงขึ้น อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาต้องพิจารณาถึงระยะยาวด้วย โดยมองว่าแม้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป แต่ตัวรัฐบาลไม่ได้เปลี่ยนแปลงก็สามารถตั้งงบประมาณใหม่ได้ ซึ่งอาจมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการต่างๆ ที่จะดำเนินการได้
รองผู้ว่าการธปท.กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ขณะนี้ยังไม่ทราบวิธีการนำเงินทุนสำรองฯ ไปใช้อย่างไร แต่มองว่าหากรัฐบาลออกพันธบัตรมาแลกเงินทุนสำรองแล้วนำเงินที่ได้ไปเพิ่มศักยภาพการผลิตและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศหรือเป็นการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนระยะยาวก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ในทางกลับกันต้องคิดด้วยว่าหากรัฐบาลออกพันธบัตรมาเยอะอาจสร้างความผันผวนในตลาดได้ เพราะผลตอบแทนสูงขึ้น ราคาลดลง ซึ่งการเข้าไปดูแลของธนาคารกลางลักษณะนี้ดูไม่ดีในสายตาของผู้เล่นในตลาดด้วย
"หากรัฐบาลเองออกพันธบัตรมาแลกเงินตราต่างประเทศจากธปท. เราก็นำพันธบัตรรัฐบาลตัวนี้สามารถใช้ดูดซับสภาพคล่องในระบบได้ ทำให้ธปท.ลดการออกพันธบัตรธปท. เพราะใช้พันธบัตรรัฐบาลดูดแทน อีกทั้งในส่วนของหนี้ของธปท.ก็ลดเช่นกัน ซึ่งพันธบัตรที่รัฐบาลจะออกมาเป็นรูปเงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศก็ได้ เพราะสามารถใช้วิธีเทียบเคียงอัตราแลกเปลี่ยนวันที่แลกไปได้ แต่หากจะตัดเงินสำรองฯออกไปเฉยๆ ไม่ได้ เพราะต้องคำนึงว่า แม้เรามีสินทรัพย์ แต่ก็มีภาระหนี้สินอยู่ด้วย"นางสุชาดากล่าว