“ธีระชัย” เดินหน้ากองทุนมั่งคั่ง จี้ ธปท.ศึกษา ลั่นหากกองทุนฯ ขาดทุน พร้อมให้รัฐบาลตั้งงบไปชดเชย ขณะที่ศิษย์หลวงตามหาบัวบุกกระทรวงยื่นหนังสือค้าน ยันไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ไม่ให้เอาไปลงทุน "ประสาร" สอนมวยบริหารทุนสำรองฯ เน้นรักษาเสถียรภาพ ศก. ไม่ใช่เน้นผลกำไร
เมื่อวานนี้ (5 ก.ย.) นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังไปเป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ครั้งที่ 8 ประจำปี 54 ในหัวข้อ “อนาคตเศรษฐกิจไทยก้าวอย่างมั่นใจสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ที่ รร.เซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ว่า จะผลักดันกองทุนมั่งคั่ง โดยจะให้ ธปท.ไปพิจารณาข้อดีและข้อเสีย ปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องและดำเนินการอย่างระมัดระวัง
หลักการบริหารกองทุน หากมีผลกำไรให้ส่งเป็นรายได้เข้าคลัง แต่หากประสบผลขาดทุนรัฐบาลพร้อมตั้งงบประมาณเพื่อชดใช้ผลขาดทุนดังกล่าวให้ ซึ่งยอมรับว่าการบริหารกองทุนฯ มีกระบวนการบริหารความเสี่ยง และการลงทุนทุกรูปแบบย่อมมีผลกำไรและขาดทุน
“การตั้งกองทุนดังกล่าวจะให้ทุกคนเห็นด้วยหมด คงเป็นไปไม่ได้ เพราะต่างคนต่างมีเหตุผลที่แตกต่างกัน แต่ผมจะพยายามพิจารณาอย่างรอบด้านก่อนตัดสินใจ” นายธีระชัยกล่าวและว่า การจัดตั้งกองทุนฯ ธปท.สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งในแง่ค่าใช้จ่ายภาระดอกเบี้ย เนื่องจาก ธปท.จะต้องมีการออกตราสารหนี้เพื่อดูดซับสภาพคล่อง ซึ่งถือเป็นภาระของบัญชีย่อย นอกจากนียังมีค่าใช้จ่ายของคณะทำงาน การบริหารจัดการในการดูแลกองทุนซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำปี
ทั้งนี้ ตนเองจะไม่มีการแตะต้องเงินบริจาคและทองคำของหลวงตามหาบัวอย่างเด็ดขาด ซึ่งเงินบริจาคดังกล่าวมีการจัดแยกอย่างชัดเจน สามารถตรวจสอบได้
***ศิษย์หลวงตาบุกกระทรวงยื่นค้าน
วันเดียวกัน พระอาจารย์นพดล นันทโน เจ้าอาวาสวัดป่าดอยลับงา จ.กำแพงเพชร ลูกศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้นำตัวแทนคณะลูกศิษย์ทั้งพระภิกษุ และฆราวาส ไปที่กระทรวงการคลัง เพื่อยื่นหนังสือต่อ รมว.คลัง ขอความชัดเจน เรื่องการจะนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ มาใช้ตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ
โดยยืนยันว่าไม่ให้รัฐบาลนำเงินคลังหลวงไปใช้ในการจัดตั้งกองทุนฯ และการชำระหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เนื่องจากเห็นว่าเงินและทองที่บริจาคมานั้น เพื่อไว้ใช้ในยามฉุกเฉินเท่านั้น ไม่ใช่ให้เอาไปลงทุนใดๆ หรือเอาไปซื้อหวย
“คลังหลวงไม่ได้หมายความเงินและทองที่หลวงตาบริจาคเท่านั้น แต่คลังหลวงหมายถึงเงินและบัญชีของฝ่ายออกบัตรทั้งหมด ดังนั้นจึงต้องการใหนายธีระชัย ออกมายืนยันว่าจะไม่เข้าไปยุ่งกับเงินคลัง ซึ่งที่ผ่านมาได้ติดตามการชี้แจงของ รมว.คลัง ผ่านทางเฟสบุ๊ค ก็ยังรู้สึกไม่สบายใจ เพราะเอาแน่นอนไม่ได้ อาจเป็นลูกน้องเขียนให้ ไม่ใช่ รมว.คลัง เขียนเอง”
นอกจากนั้น ยังกล่าวเป็นห่วง นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพราะเชื่อว่า หาก รมว.คลัง หารายได้จากที่อื่นไม่ได้ จะมาเอาเงินคลังหลวงอีก ซึ่งจะทำให้ผู้ ธปท. ตกที่นั่งลำบาก แต่เชื่อว่าหากผู้ว่า ธปท. จะยึดมั่นรักษาคลังหลวงไม่ให้ใครมาแตะต้อง คลังหลวงก็จะคุ้มครองผู้ว่า ธปท.
“อยากให้ผู้ว่า ธปท. นึกถึงคำพูดของ นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่า ธปท. ว่า ผู้ว่า ธปท.ทำอะไรดีๆ ได้ทั้งนั้น หากไม่ยึดติดกับตำแหน่ง”
***"ประสาร" ย้ำ เน้นรักษาเสถียรภาพ ศก.
ด้านนายประสารกล่าวว่า การบริหารทุนสำรอระหว่างประเทศ และดำเนินการต่างๆ ของธปท. จะมอง เรื่องการรักษาเสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ไม่ได้มุ่งเรื่องการสร้างผลกำไรเพียงด้านเดียว นอกจากนี้ ผลประกอบการของธปท.ที่เกิดขึ้น ยังเป็นเรื่องการตีราคาสินทรัพย์ต่างๆด้วยมูลค่าทางบัญชี และหากไม่ตีมูลค่าเป็นเงินบาท แต่ตีมูลค่าเป็นรูป ดอลลาร์สหรัฐ ธปท.ก็ยังมีกำไรอยู่ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี เงินบาทอ่อนค่า ผู้ประกอบการขาดทุนจาก อัตราแลกเปลี่ยน แต่ธนาคารกลางกลับมามีกำไรได้ เพราะมีเงินตราต่างประเทศอยู่
"กรอบระยะเวลาที่ รมว.คลัง ให้ไว้ 1 เดือน ในการพิจารณาเรื่องกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ กรอบเงินเฟ้อ ตั๋วแลกเงินและการหาแนวทางการแก้ไขหนี้กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จะหารือกับคณะกรรมการชุด ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ของธปท. ซึ่งจะพิจารณาอย่างรอบคอบ และคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในกรอบเวลาที่กำหนดไว้"
ด้าน ม.ร.ว.จตุมงคล โสณกุล ประธานบอร์ด ธปท.เห็นว่าควรนำเงินสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนเพิ่มขึ้น แต่คงมีเงื่อนไข การกำหนดโครงสร้างกรรมการ เพราะ ธปท.ไม่มีประสบการณ์ของการลงทุนในตราสารทุนต่างๆ แต่คนที่มาคิดเรื่องดังกล่าว คงไม่ใช่มาจากฝ่ายการเมืองอย่างเดียว ต้องให้ประชาชนมาร่วมตัดสินใจด้วย
นอกจากนี้ อาจจะต้องมีการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ธปท. หรือออกเป็นกฎหมายใหม่ เพื่อรองรับการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว มีการกำหนดแนวทางการลงทุนที่ชัดเจน โดยยึดประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก
"เงินสำรองระหว่างประเทศ เป็นเงินของประเทศ ไม่ใช่เงินแบงก์ชาติ หรือเงินของผู้ชนะการเลือกตั้ง ดังนั้นกลไกการตัดสินในการลงทุนของกองทุน จะต้องมีตัวแทนจาก ธปท. ผ่านกลไกทางสังคม ให้มีผู้ร่วมตัดสินใจ แต่ไม่ใช่นักการเมือง" ประธานฯ กล่าว
เมื่อวานนี้ (5 ก.ย.) นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังไปเป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ครั้งที่ 8 ประจำปี 54 ในหัวข้อ “อนาคตเศรษฐกิจไทยก้าวอย่างมั่นใจสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ที่ รร.เซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ว่า จะผลักดันกองทุนมั่งคั่ง โดยจะให้ ธปท.ไปพิจารณาข้อดีและข้อเสีย ปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องและดำเนินการอย่างระมัดระวัง
หลักการบริหารกองทุน หากมีผลกำไรให้ส่งเป็นรายได้เข้าคลัง แต่หากประสบผลขาดทุนรัฐบาลพร้อมตั้งงบประมาณเพื่อชดใช้ผลขาดทุนดังกล่าวให้ ซึ่งยอมรับว่าการบริหารกองทุนฯ มีกระบวนการบริหารความเสี่ยง และการลงทุนทุกรูปแบบย่อมมีผลกำไรและขาดทุน
“การตั้งกองทุนดังกล่าวจะให้ทุกคนเห็นด้วยหมด คงเป็นไปไม่ได้ เพราะต่างคนต่างมีเหตุผลที่แตกต่างกัน แต่ผมจะพยายามพิจารณาอย่างรอบด้านก่อนตัดสินใจ” นายธีระชัยกล่าวและว่า การจัดตั้งกองทุนฯ ธปท.สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งในแง่ค่าใช้จ่ายภาระดอกเบี้ย เนื่องจาก ธปท.จะต้องมีการออกตราสารหนี้เพื่อดูดซับสภาพคล่อง ซึ่งถือเป็นภาระของบัญชีย่อย นอกจากนียังมีค่าใช้จ่ายของคณะทำงาน การบริหารจัดการในการดูแลกองทุนซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำปี
ทั้งนี้ ตนเองจะไม่มีการแตะต้องเงินบริจาคและทองคำของหลวงตามหาบัวอย่างเด็ดขาด ซึ่งเงินบริจาคดังกล่าวมีการจัดแยกอย่างชัดเจน สามารถตรวจสอบได้
***ศิษย์หลวงตาบุกกระทรวงยื่นค้าน
วันเดียวกัน พระอาจารย์นพดล นันทโน เจ้าอาวาสวัดป่าดอยลับงา จ.กำแพงเพชร ลูกศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้นำตัวแทนคณะลูกศิษย์ทั้งพระภิกษุ และฆราวาส ไปที่กระทรวงการคลัง เพื่อยื่นหนังสือต่อ รมว.คลัง ขอความชัดเจน เรื่องการจะนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ มาใช้ตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ
โดยยืนยันว่าไม่ให้รัฐบาลนำเงินคลังหลวงไปใช้ในการจัดตั้งกองทุนฯ และการชำระหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เนื่องจากเห็นว่าเงินและทองที่บริจาคมานั้น เพื่อไว้ใช้ในยามฉุกเฉินเท่านั้น ไม่ใช่ให้เอาไปลงทุนใดๆ หรือเอาไปซื้อหวย
“คลังหลวงไม่ได้หมายความเงินและทองที่หลวงตาบริจาคเท่านั้น แต่คลังหลวงหมายถึงเงินและบัญชีของฝ่ายออกบัตรทั้งหมด ดังนั้นจึงต้องการใหนายธีระชัย ออกมายืนยันว่าจะไม่เข้าไปยุ่งกับเงินคลัง ซึ่งที่ผ่านมาได้ติดตามการชี้แจงของ รมว.คลัง ผ่านทางเฟสบุ๊ค ก็ยังรู้สึกไม่สบายใจ เพราะเอาแน่นอนไม่ได้ อาจเป็นลูกน้องเขียนให้ ไม่ใช่ รมว.คลัง เขียนเอง”
นอกจากนั้น ยังกล่าวเป็นห่วง นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพราะเชื่อว่า หาก รมว.คลัง หารายได้จากที่อื่นไม่ได้ จะมาเอาเงินคลังหลวงอีก ซึ่งจะทำให้ผู้ ธปท. ตกที่นั่งลำบาก แต่เชื่อว่าหากผู้ว่า ธปท. จะยึดมั่นรักษาคลังหลวงไม่ให้ใครมาแตะต้อง คลังหลวงก็จะคุ้มครองผู้ว่า ธปท.
“อยากให้ผู้ว่า ธปท. นึกถึงคำพูดของ นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่า ธปท. ว่า ผู้ว่า ธปท.ทำอะไรดีๆ ได้ทั้งนั้น หากไม่ยึดติดกับตำแหน่ง”
***"ประสาร" ย้ำ เน้นรักษาเสถียรภาพ ศก.
ด้านนายประสารกล่าวว่า การบริหารทุนสำรอระหว่างประเทศ และดำเนินการต่างๆ ของธปท. จะมอง เรื่องการรักษาเสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ไม่ได้มุ่งเรื่องการสร้างผลกำไรเพียงด้านเดียว นอกจากนี้ ผลประกอบการของธปท.ที่เกิดขึ้น ยังเป็นเรื่องการตีราคาสินทรัพย์ต่างๆด้วยมูลค่าทางบัญชี และหากไม่ตีมูลค่าเป็นเงินบาท แต่ตีมูลค่าเป็นรูป ดอลลาร์สหรัฐ ธปท.ก็ยังมีกำไรอยู่ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี เงินบาทอ่อนค่า ผู้ประกอบการขาดทุนจาก อัตราแลกเปลี่ยน แต่ธนาคารกลางกลับมามีกำไรได้ เพราะมีเงินตราต่างประเทศอยู่
"กรอบระยะเวลาที่ รมว.คลัง ให้ไว้ 1 เดือน ในการพิจารณาเรื่องกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ กรอบเงินเฟ้อ ตั๋วแลกเงินและการหาแนวทางการแก้ไขหนี้กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จะหารือกับคณะกรรมการชุด ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ของธปท. ซึ่งจะพิจารณาอย่างรอบคอบ และคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในกรอบเวลาที่กำหนดไว้"
ด้าน ม.ร.ว.จตุมงคล โสณกุล ประธานบอร์ด ธปท.เห็นว่าควรนำเงินสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนเพิ่มขึ้น แต่คงมีเงื่อนไข การกำหนดโครงสร้างกรรมการ เพราะ ธปท.ไม่มีประสบการณ์ของการลงทุนในตราสารทุนต่างๆ แต่คนที่มาคิดเรื่องดังกล่าว คงไม่ใช่มาจากฝ่ายการเมืองอย่างเดียว ต้องให้ประชาชนมาร่วมตัดสินใจด้วย
นอกจากนี้ อาจจะต้องมีการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ธปท. หรือออกเป็นกฎหมายใหม่ เพื่อรองรับการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว มีการกำหนดแนวทางการลงทุนที่ชัดเจน โดยยึดประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก
"เงินสำรองระหว่างประเทศ เป็นเงินของประเทศ ไม่ใช่เงินแบงก์ชาติ หรือเงินของผู้ชนะการเลือกตั้ง ดังนั้นกลไกการตัดสินในการลงทุนของกองทุน จะต้องมีตัวแทนจาก ธปท. ผ่านกลไกทางสังคม ให้มีผู้ร่วมตัดสินใจ แต่ไม่ใช่นักการเมือง" ประธานฯ กล่าว