ฟิทช์เรทติ้งระบุเศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ภาวะชะลอตัว จากเงินเฟ้อที่สูงและปัจจัยเสี่ยงเฉพาะของประเทศ โดยเฉพาะด้านการเมือง ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจ-สถาบันการเงินจะยังแข็งแกร่ง ส่วนการยกเว้นเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันชั่วคราวยังส่งผลกระทบต่อบ.น้ำมันไม่มาก แต่เป็นโจทย์ท้าทายหากกลับมาเก็บตามปกติ
นาย Andrew Colquhoun ผู้อำนวยการอาวุโสและหัวหน้ากลุ่มจัดอันดับเครดิตประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยมีการปรับตัวดีขึ้นเช่นเดียวกันกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น และส่งผลให้ช่องว่างระหว่างเศรษฐกิจของประเทศไทยและประเทศพัฒนาแล้วปรับตัวแคบลง อย่างไรก็ตาม การเติบโตของเศรษฐกิจไทยกำลังชะลอตัวลงจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงรวมทั้งปัจจัยเสี่ยงเฉพาะของประเทศเช่นความผันผวนทางการเมือง ถึงแม้ว่าความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจจะเป็นปัจจัยบวกต่ออันดับเครดิตของประเทศไทย แต่อันดับเครดิตประเทศยังคงถูกจำกัดจากความไม่ชัดเจนว่า ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาได้ลดปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยฟิทช์จะรอติดตามความชัดเจนของนโยบายและการดำเนินนโยบายของรัฐบาลใหม่
นาย Vincent Milton กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มอันดับเครดิตโดยทั่วไปทั้งในส่วนของธุรกิจภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการเงินไทยได้ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากมีการปรับโครงสร้างธุรกิจและโครงสร้างทางการเงินหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540-2542 การเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจนถึงช่วงวิกฤตทางการเงินโลก ทำให้สถาบันการเงินและธุรกิจอุตสาหกรรมไทย อยู่ในฐานะที่แข็งแกร่งเพียงพอที่จะรองรับแรงกดดันจากการหดตัวของเศรษฐกิจและผลกระทบจากวิกฤตทางการเงินโลก
โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 มีการเติบโตของสินเชื่ออยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง และการกระจุกตัวของสินเชื่อยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในระยะกลางของธนาคารพาณิชย์ไทย ขณะที่ความสามารถในการทำกำไรที่สูงและฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่งของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่น่าจะช่วยให้ธนาคารสามารถรองรับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้
สำหรับกรณีการยกเว้นการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชั่วคราวสำหรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล ไม่น่าส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อโรงกลั่นไทยที่ฟิทช์จัดอันดับเครดิตอยู่ ซึ่งได้แก่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (AA-(tha)/แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ/F1+(tha)), บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่นจำกัด (มหาชน) (A-(tha)/เครดิตพินิจแนวโน้มเป็นบวก/F2(tha)), บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (A-(tha)/แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ/F2(tha)), และ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (F1(tha))
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามาตรการดังกล่าวอาจจะทำให้สภาพคล่องของกองทุนน้ำมันเกิดความตึงตัว ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการจัดสรรเงินชดเชยคืนให้กับโรงกลั่นน้ำมันในการ จำหน่ายก๊าซแอล พี จี และ เงินชดเชยให้กับน้ำมันเชื้อเพลิงมาตรฐานยูโร 4 แต่ฟิทช์คาดว่าความล่าช้าในการชำระเงินชดเชยให้กับโรงกลั่นน้ำมันไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อโรงกลั่นน้ำมันอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเงินชดเชยดังกล่าวเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับลูกหนี้ทั้งหมดของโรงกลั่น แต่กรณีที่เป็นมาตราการชั่วคราว ซึ่งไม่น่าจะเกิน 12 เดือน ทำให้การกลับมาจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันอาจจะเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยเฉพาะเมื่อราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับสูง หากไม่มีเงินชดเชยราคาที่เพียงพอ ความต้องการใช้เอทานอลน่าจะมีอัตราการเติบโตที่ต่ำ ซึ่งอาจทำให้นโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้เอทานอลเป็นพลังงานทางเลือกไม่ได้ผลเท่าที่ควร
นาย Andrew Colquhoun ผู้อำนวยการอาวุโสและหัวหน้ากลุ่มจัดอันดับเครดิตประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยมีการปรับตัวดีขึ้นเช่นเดียวกันกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น และส่งผลให้ช่องว่างระหว่างเศรษฐกิจของประเทศไทยและประเทศพัฒนาแล้วปรับตัวแคบลง อย่างไรก็ตาม การเติบโตของเศรษฐกิจไทยกำลังชะลอตัวลงจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงรวมทั้งปัจจัยเสี่ยงเฉพาะของประเทศเช่นความผันผวนทางการเมือง ถึงแม้ว่าความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจจะเป็นปัจจัยบวกต่ออันดับเครดิตของประเทศไทย แต่อันดับเครดิตประเทศยังคงถูกจำกัดจากความไม่ชัดเจนว่า ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาได้ลดปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยฟิทช์จะรอติดตามความชัดเจนของนโยบายและการดำเนินนโยบายของรัฐบาลใหม่
นาย Vincent Milton กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มอันดับเครดิตโดยทั่วไปทั้งในส่วนของธุรกิจภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการเงินไทยได้ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากมีการปรับโครงสร้างธุรกิจและโครงสร้างทางการเงินหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540-2542 การเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจนถึงช่วงวิกฤตทางการเงินโลก ทำให้สถาบันการเงินและธุรกิจอุตสาหกรรมไทย อยู่ในฐานะที่แข็งแกร่งเพียงพอที่จะรองรับแรงกดดันจากการหดตัวของเศรษฐกิจและผลกระทบจากวิกฤตทางการเงินโลก
โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 มีการเติบโตของสินเชื่ออยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง และการกระจุกตัวของสินเชื่อยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในระยะกลางของธนาคารพาณิชย์ไทย ขณะที่ความสามารถในการทำกำไรที่สูงและฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่งของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่น่าจะช่วยให้ธนาคารสามารถรองรับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้
สำหรับกรณีการยกเว้นการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชั่วคราวสำหรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล ไม่น่าส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อโรงกลั่นไทยที่ฟิทช์จัดอันดับเครดิตอยู่ ซึ่งได้แก่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (AA-(tha)/แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ/F1+(tha)), บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่นจำกัด (มหาชน) (A-(tha)/เครดิตพินิจแนวโน้มเป็นบวก/F2(tha)), บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (A-(tha)/แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ/F2(tha)), และ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (F1(tha))
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามาตรการดังกล่าวอาจจะทำให้สภาพคล่องของกองทุนน้ำมันเกิดความตึงตัว ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการจัดสรรเงินชดเชยคืนให้กับโรงกลั่นน้ำมันในการ จำหน่ายก๊าซแอล พี จี และ เงินชดเชยให้กับน้ำมันเชื้อเพลิงมาตรฐานยูโร 4 แต่ฟิทช์คาดว่าความล่าช้าในการชำระเงินชดเชยให้กับโรงกลั่นน้ำมันไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อโรงกลั่นน้ำมันอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเงินชดเชยดังกล่าวเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับลูกหนี้ทั้งหมดของโรงกลั่น แต่กรณีที่เป็นมาตราการชั่วคราว ซึ่งไม่น่าจะเกิน 12 เดือน ทำให้การกลับมาจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันอาจจะเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยเฉพาะเมื่อราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับสูง หากไม่มีเงินชดเชยราคาที่เพียงพอ ความต้องการใช้เอทานอลน่าจะมีอัตราการเติบโตที่ต่ำ ซึ่งอาจทำให้นโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้เอทานอลเป็นพลังงานทางเลือกไม่ได้ผลเท่าที่ควร