บีโอไอ เผย 7 เดือนแรก ทุนนอกทะลักลงทุนในไทยกว่า 2 แสนล้านบาท เล็งพลิกวิกฤต ศก.เป็นโอกาส ไทย-เอเชีย เป็นฐานการผลิตแห่งใหม่ให้สหรัฐฯ
นางหิรัญญา สุจินัย ที่ปรึกษาด้านการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ภาพรวมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) ในช่วง 7 เดือนแรกปี 2554 (มกราคม-กรกฎาคม) พบว่า มีนักลงทุนต่างชาติยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 599 โครงการ เพิ่มขึ้น 34.9% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนที่มี 444 โครงการ และมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 205,796 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 89.4% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีมูลค่า 108,321 ล้านบาท
ทั้งนี้ การลงทุนส่วนใหญ่เป็นการขยายกิจการทั้งสิ้น 307 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 118,953.2 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 51.2% ของโครงการลงทุนทั้งหมด และเป็นการลงทุนโครงการใหม่ 292 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 86,243.2 ล้านบาท โดยกิจการที่มีการลงทุนสูงสุดจะเป็นขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีขนาดเงินลงทุนไม่เกิน 500 ล้านบาท สัดส่วนสูงถึง 94% ส่วนโครงการขนาดใหญ่ที่ลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท มีเพียง 6% เท่านั้น และอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
“จากวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐฯ คาดว่า จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยไม่มากนัก และจะไม่กระทบการลงทุน ภาคอุตสาหกรรมในปีนี้ ในทางกลับกันจากภาวะดังกล่าวอาจเป็นโอกาสให้กับประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียที่จะกลายเป็นฐานการผลิตแห่งใหม่ให้กับบริษัทสหรัฐฯซึ่งต้องการย้ายฐานการผลิตไปยังแหล่งลงทุนใหม่ได้ ขณะที่การเข้ามาลงทุนในไทย ญี่ปุ่นยังครองแชมป์อันดับ 1 รวมทั้งทิศทางนักลงทุนจากชาติเอเชียก็เข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสอดคล้องกับบีโอไอที่จะเน้นการชักจูงการลงทุนในชาติเอเชีย ให้มากขึ้น”
สำหรับนักลงทุนจากญี่ปุ่น มีลงทุนเพิ่มขึ้น ทั้งจำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุน และส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ โดยจำนวนมีทั้งสิ้น 312 โครงการ เพิ่มขึ้น 74.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มี 184 โครงการ และมูลค่าเงินลงทุน 97,338 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 124.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีมูลค่า 43,355 ล้านบาท ขณะที่ การลงทุนจากประเทศอื่นๆ ก็ปรับเพิ่มขึ้นมาก อาทิ ประเทศจีนมีจำนวน 22 โครงการ เพิ่มขึ้น 29% มูลค่าเงินลงทุน 24,310 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 241% จากช่วงเดียวกันปีก่อนมีมูลค่า 7,120 ล้านบาท
การลงทุนจากประเทศสิงคโปร์ มีจำนวน 35 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 17,409 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 105% ฮ่องกง มีจำนวน 15 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 10,850 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 294% เกาหลีใต้ จำนวน 23 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 6,125 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 460% จากช่วงเดียวกันปีก่อนมีมูลค่า 1,092 ล้านบาท และ ไต้หวัน 26 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน รวม 5,242 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 124%
ในส่วนของการขอรับส่งเสริมการลงทุนจากสหรัฐฯ มีจำนวน 18 โครงการ ใกล้เคียงกับปีก่อน แต่เงินลงทุนปรับเพิ่มขึ้น 94% อยู่ที่ 4,254 ล้านบาท เพิ่มจากช่วงเดียวกัน ปีก่อนมีมูลค่า 2,192 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม โครงการลงทุนของสหรัฐฯ ในไทยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ 3 โครงการ ที่เป็นของนักลงทุนสหรัฐฯ รวมมูลค่า 3 โครงการประมาณ 12,000 ล้านบาท แต่เป็นโครงการที่ใช้เงินทุนจากบริษัทสาขาในสิงคโปร์ ทำให้เม็ดเงินลงทุนดังกล่าวเป็นการลงทุนจากสิงคโปร์
นางหิรัญญา สุจินัย ที่ปรึกษาด้านการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ภาพรวมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) ในช่วง 7 เดือนแรกปี 2554 (มกราคม-กรกฎาคม) พบว่า มีนักลงทุนต่างชาติยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 599 โครงการ เพิ่มขึ้น 34.9% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนที่มี 444 โครงการ และมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 205,796 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 89.4% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีมูลค่า 108,321 ล้านบาท
ทั้งนี้ การลงทุนส่วนใหญ่เป็นการขยายกิจการทั้งสิ้น 307 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 118,953.2 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 51.2% ของโครงการลงทุนทั้งหมด และเป็นการลงทุนโครงการใหม่ 292 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 86,243.2 ล้านบาท โดยกิจการที่มีการลงทุนสูงสุดจะเป็นขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีขนาดเงินลงทุนไม่เกิน 500 ล้านบาท สัดส่วนสูงถึง 94% ส่วนโครงการขนาดใหญ่ที่ลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท มีเพียง 6% เท่านั้น และอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
“จากวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐฯ คาดว่า จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยไม่มากนัก และจะไม่กระทบการลงทุน ภาคอุตสาหกรรมในปีนี้ ในทางกลับกันจากภาวะดังกล่าวอาจเป็นโอกาสให้กับประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียที่จะกลายเป็นฐานการผลิตแห่งใหม่ให้กับบริษัทสหรัฐฯซึ่งต้องการย้ายฐานการผลิตไปยังแหล่งลงทุนใหม่ได้ ขณะที่การเข้ามาลงทุนในไทย ญี่ปุ่นยังครองแชมป์อันดับ 1 รวมทั้งทิศทางนักลงทุนจากชาติเอเชียก็เข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสอดคล้องกับบีโอไอที่จะเน้นการชักจูงการลงทุนในชาติเอเชีย ให้มากขึ้น”
สำหรับนักลงทุนจากญี่ปุ่น มีลงทุนเพิ่มขึ้น ทั้งจำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุน และส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ โดยจำนวนมีทั้งสิ้น 312 โครงการ เพิ่มขึ้น 74.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มี 184 โครงการ และมูลค่าเงินลงทุน 97,338 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 124.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีมูลค่า 43,355 ล้านบาท ขณะที่ การลงทุนจากประเทศอื่นๆ ก็ปรับเพิ่มขึ้นมาก อาทิ ประเทศจีนมีจำนวน 22 โครงการ เพิ่มขึ้น 29% มูลค่าเงินลงทุน 24,310 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 241% จากช่วงเดียวกันปีก่อนมีมูลค่า 7,120 ล้านบาท
การลงทุนจากประเทศสิงคโปร์ มีจำนวน 35 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 17,409 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 105% ฮ่องกง มีจำนวน 15 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 10,850 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 294% เกาหลีใต้ จำนวน 23 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 6,125 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 460% จากช่วงเดียวกันปีก่อนมีมูลค่า 1,092 ล้านบาท และ ไต้หวัน 26 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน รวม 5,242 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 124%
ในส่วนของการขอรับส่งเสริมการลงทุนจากสหรัฐฯ มีจำนวน 18 โครงการ ใกล้เคียงกับปีก่อน แต่เงินลงทุนปรับเพิ่มขึ้น 94% อยู่ที่ 4,254 ล้านบาท เพิ่มจากช่วงเดียวกัน ปีก่อนมีมูลค่า 2,192 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม โครงการลงทุนของสหรัฐฯ ในไทยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ 3 โครงการ ที่เป็นของนักลงทุนสหรัฐฯ รวมมูลค่า 3 โครงการประมาณ 12,000 ล้านบาท แต่เป็นโครงการที่ใช้เงินทุนจากบริษัทสาขาในสิงคโปร์ ทำให้เม็ดเงินลงทุนดังกล่าวเป็นการลงทุนจากสิงคโปร์