“ธีระชัย” โผล่เฟซบุ๊ก หนุนนโยบายขึ้นค่าแรง 300 บาท อ้างยกระดับคนจน กระทบเงินเฟ้อแค่ครั้งเดียว คาด วิกฤตสหรัฐฯ ผลักทุนนอกไหลเข้าเอเชีย แบงก์ชาติต้องดูแลใกล้ชิด โชว์หม่ำ! ขอบคุณ “ยิ่งลักษณ์” ให้เก้าอี้ รมต.ด้าน “กรณ์” ตามจิกทีม ศก.เพื่อไทย สุดท้ายก็เลือกคนที่เคยช่วยปกป้องเจ้าของพรรค
เช้าวานนี้ (10 ส.ค.) เวลา 06:54 น.นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กของตนเอง โดยระบุว่า มีสื่อมวลชนที่ถามคำถามไว้ที่ซ้ำๆ กัน ผมขอรวบรวมตอบดังนี้ ข้อแรก ถามว่า ผมจะยึดหลักวินัยทางการคลังหรือไม่ ผมจะให้ความสำคัญเรื่องวินัยทางการคลังเป็นอย่างมาก ผมเองยอมรับว่าไม่ได้มีส่วนในการร่างนโยบายของพรรคเพื่อไทย แต่ผมก็เห็นด้วยกับแนวความคิดเหล่านี้ เนื่องจากเป็นแนวคิดที่ต้องการจะปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย ผมจึงจะให้การสนับสนุนเต็มที่
อย่างไรก็ตาม ก็จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องความยั่งยืนทางฐานะการคลังควบคู่ไปด้วย เพื่อประสานความใฝ่ฝันทางการเมืองให้พอดีกับความเป็นไปได้ทางวิชาการ ผมจึงจะขอทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างข้าราชการและนโยบายของพรรค ให้มีความกลมกลืนกันให้มากที่สุด
ส่วนคำถามที่ว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้น ไม่ว่าจะขึ้นมากน้อยเท่าใด และขึ้นเป็นขั้นบันไดหรือขึ้นครั้งเดียว จะมีข้อกังวลเรื่องเงินเฟ้อหรือไม่นั้น ผมเห็นว่าการขึ้นค่าแรงงานนั้น จะมีผลต่อเงินเฟ้อในลักษณะเพิ่มต้นทุน จึงจะมีผลทำให้ระดับราคาสูงขึ้นไปเพียงรอบเดียวในปีที่มีการขึ้นค่าแรง ไม่ใช่มีผลต่อเนื่องซ้ำๆ ทุกปีเหมือนกรณีที่เกิดเงินเฟ้อจากเศรษฐกิจโดยรวมร้อนแรงเกินไป ดังนั้น จึงเป็นที่น่ากังวลน้อยกว่ากรณีเศรษฐกิจร้อนแรง
แต่ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์จะต้องดูแลให้การปรับขึ้นราคาสินค้านั้นเป็นไปอย่างเหมาะสมเท่าที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น และคาดว่าผู้ประกอบการส่วนหนึ่งจะสามารถรับภาระค่าแรงที่เพิ่มขึ้นจากกำไรที่ลดลงไปบ้างโดยไม่ปรับขึ้นราคาขายสินค้า
“ผมเห็นว่า วิธีปรับตัวที่ดีที่สุด ก็คือ ให้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยผมจะดูตัวอย่างเช่นประเทศบราซิลที่เก็บเงินจากรายได้ที่ได้จากการขุดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ นำไปตั้งเป็นกองทุนเพื่อช่วยเอสเอ็มอีในการฝึกอบรมคนงาน เพิ่มทักษะในการผลิต วิจัยพัฒนาขั้นตอนการผลิตให้เร็วขึ้น และให้ต้นทุนต่ำลง รวมทั้งพัฒนารูปแบบ หรือลักษณะของสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น ซึ่งผมจะหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการทำนองนี้”
ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผลิตสินค้าแบบเดิมๆ ซึ่งใช้แรงงานสัดส่วนสูงนั้น ย่อมจะถูกกระทบมากกว่ารายอื่น แต่ก็ควรถือโอกาสนี้ช่วยกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาทั้งรูปแบบสินค้าและวิธีการทำงานให้ทันสมัยมากขึ้น ซึ่งผมจะหารือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกเรื่องนี้ให้เต็มที่
สุดท้าย ปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯและยุโรปจะกระทบต่อไทยอย่างไร จะทำให้ต้องคิดอ่านนำเอามาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้ามาใช้หรือไม่นั้น เห็นว่า เศรษฐกิจของสหรัฐฯและยุโรปที่อ่อนตัวแสดงว่าในอนาคตประเทศในเอเชียจำเป็นจะต้องหันมาพึ่งความต้องการภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งขบวนการปรับค่าแรงขั้นต่ำและระบบสวัสดิการนั้นเป็นนโยบายที่เหมาะสำหรับเอเชียอยู่แล้วหากดำเนินการในระดับที่เหมาะสม จึงหวังว่า ประเทศเอเชียอื่นๆ จะคิดดำเนินการในลักษณะนี้ด้วย
ทั้งนี้ ในอนาคตเอเชียต้องพึ่งการค้าขายภายในประเทศมากขึ้นและการค้าขายระหว่างเอเชียด้วยกันมากขึ้น เอเชียควรจะลงทุนในประเทศเอเชียกันเองมากขึ้น
สำหรับปัญหาด้านเงินทนไหลเข้านั้น เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปมีแนวโน้มน่าสนใจน้อยกว่าเอเชีย ย่อมจะมีผลทำให้นักลงทุนสากลให้ความสนใจลงทุนในเอเชียมากขึ้น ดังนั้น แบงก์ชาติของประเทศต่างๆ ในเอเชียจึงจำเป็นจะต้องติดตามวิเคราะห์สถานการณ์อย่างใกล้ชิด แต่ในชั้นนี้ ผมไม่มีความคิดที่จะมีมาตรการใดๆ เป็นการเฉพาะ
***โชว์หม่ำ! ขอบคุณ “ปู” ให้เก้าอี้
ก่อนหน้านั้น นายธีระชัย ยังโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala ด้วยว่า
“ขอบคุณทุกท่านที่แสดงความยินดีและให้กำลังใจครับ ผมขอบคุณท่านนายกฯ ยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทย ที่ให้ความไว้วางใจ ผมจะทำหน้าที่อย่างดีที่สุดเต็มความสามารถ”
วันเดียวกัน เวลา 13.00 น.นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า วันนี้ผู้สื่อข่าวถามผมกันเยอะว่าคิดอย่างไรกับทีมเศรษฐกิจรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ผมตอบว่า พร้อมให้โอกาสเขาทำงาน แต่ตอบไปด้วยว่าส่วนตัวผมเคารพระบบผู้แทน ใครอยากทำงานก็ลงมาเสนอตัวให้ประชาชนได้เลือก คุณบอกคุณต้องการการเลือกตั้ง เสร็จแล้วคุณได้ ส.ส.เกินครึ่งในสภา แต่คุณก็ยังเลือกคนที่เคยช่วยปกป้องเจ้าของพรรคแทนที่จะให้โอกาสคนที่ชาวบ้านได้เลือกมา แล้วเขาเหล่านี้จะรับผิดชอบต่อใครมากกว่าครับ ชาวบ้านหรือเจ้าของพรรค?
เช้าวานนี้ (10 ส.ค.) เวลา 06:54 น.นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กของตนเอง โดยระบุว่า มีสื่อมวลชนที่ถามคำถามไว้ที่ซ้ำๆ กัน ผมขอรวบรวมตอบดังนี้ ข้อแรก ถามว่า ผมจะยึดหลักวินัยทางการคลังหรือไม่ ผมจะให้ความสำคัญเรื่องวินัยทางการคลังเป็นอย่างมาก ผมเองยอมรับว่าไม่ได้มีส่วนในการร่างนโยบายของพรรคเพื่อไทย แต่ผมก็เห็นด้วยกับแนวความคิดเหล่านี้ เนื่องจากเป็นแนวคิดที่ต้องการจะปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย ผมจึงจะให้การสนับสนุนเต็มที่
อย่างไรก็ตาม ก็จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องความยั่งยืนทางฐานะการคลังควบคู่ไปด้วย เพื่อประสานความใฝ่ฝันทางการเมืองให้พอดีกับความเป็นไปได้ทางวิชาการ ผมจึงจะขอทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างข้าราชการและนโยบายของพรรค ให้มีความกลมกลืนกันให้มากที่สุด
ส่วนคำถามที่ว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้น ไม่ว่าจะขึ้นมากน้อยเท่าใด และขึ้นเป็นขั้นบันไดหรือขึ้นครั้งเดียว จะมีข้อกังวลเรื่องเงินเฟ้อหรือไม่นั้น ผมเห็นว่าการขึ้นค่าแรงงานนั้น จะมีผลต่อเงินเฟ้อในลักษณะเพิ่มต้นทุน จึงจะมีผลทำให้ระดับราคาสูงขึ้นไปเพียงรอบเดียวในปีที่มีการขึ้นค่าแรง ไม่ใช่มีผลต่อเนื่องซ้ำๆ ทุกปีเหมือนกรณีที่เกิดเงินเฟ้อจากเศรษฐกิจโดยรวมร้อนแรงเกินไป ดังนั้น จึงเป็นที่น่ากังวลน้อยกว่ากรณีเศรษฐกิจร้อนแรง
แต่ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์จะต้องดูแลให้การปรับขึ้นราคาสินค้านั้นเป็นไปอย่างเหมาะสมเท่าที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น และคาดว่าผู้ประกอบการส่วนหนึ่งจะสามารถรับภาระค่าแรงที่เพิ่มขึ้นจากกำไรที่ลดลงไปบ้างโดยไม่ปรับขึ้นราคาขายสินค้า
“ผมเห็นว่า วิธีปรับตัวที่ดีที่สุด ก็คือ ให้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยผมจะดูตัวอย่างเช่นประเทศบราซิลที่เก็บเงินจากรายได้ที่ได้จากการขุดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ นำไปตั้งเป็นกองทุนเพื่อช่วยเอสเอ็มอีในการฝึกอบรมคนงาน เพิ่มทักษะในการผลิต วิจัยพัฒนาขั้นตอนการผลิตให้เร็วขึ้น และให้ต้นทุนต่ำลง รวมทั้งพัฒนารูปแบบ หรือลักษณะของสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น ซึ่งผมจะหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการทำนองนี้”
ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผลิตสินค้าแบบเดิมๆ ซึ่งใช้แรงงานสัดส่วนสูงนั้น ย่อมจะถูกกระทบมากกว่ารายอื่น แต่ก็ควรถือโอกาสนี้ช่วยกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาทั้งรูปแบบสินค้าและวิธีการทำงานให้ทันสมัยมากขึ้น ซึ่งผมจะหารือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกเรื่องนี้ให้เต็มที่
สุดท้าย ปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯและยุโรปจะกระทบต่อไทยอย่างไร จะทำให้ต้องคิดอ่านนำเอามาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้ามาใช้หรือไม่นั้น เห็นว่า เศรษฐกิจของสหรัฐฯและยุโรปที่อ่อนตัวแสดงว่าในอนาคตประเทศในเอเชียจำเป็นจะต้องหันมาพึ่งความต้องการภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งขบวนการปรับค่าแรงขั้นต่ำและระบบสวัสดิการนั้นเป็นนโยบายที่เหมาะสำหรับเอเชียอยู่แล้วหากดำเนินการในระดับที่เหมาะสม จึงหวังว่า ประเทศเอเชียอื่นๆ จะคิดดำเนินการในลักษณะนี้ด้วย
ทั้งนี้ ในอนาคตเอเชียต้องพึ่งการค้าขายภายในประเทศมากขึ้นและการค้าขายระหว่างเอเชียด้วยกันมากขึ้น เอเชียควรจะลงทุนในประเทศเอเชียกันเองมากขึ้น
สำหรับปัญหาด้านเงินทนไหลเข้านั้น เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปมีแนวโน้มน่าสนใจน้อยกว่าเอเชีย ย่อมจะมีผลทำให้นักลงทุนสากลให้ความสนใจลงทุนในเอเชียมากขึ้น ดังนั้น แบงก์ชาติของประเทศต่างๆ ในเอเชียจึงจำเป็นจะต้องติดตามวิเคราะห์สถานการณ์อย่างใกล้ชิด แต่ในชั้นนี้ ผมไม่มีความคิดที่จะมีมาตรการใดๆ เป็นการเฉพาะ
***โชว์หม่ำ! ขอบคุณ “ปู” ให้เก้าอี้
ก่อนหน้านั้น นายธีระชัย ยังโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala ด้วยว่า
“ขอบคุณทุกท่านที่แสดงความยินดีและให้กำลังใจครับ ผมขอบคุณท่านนายกฯ ยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทย ที่ให้ความไว้วางใจ ผมจะทำหน้าที่อย่างดีที่สุดเต็มความสามารถ”
วันเดียวกัน เวลา 13.00 น.นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า วันนี้ผู้สื่อข่าวถามผมกันเยอะว่าคิดอย่างไรกับทีมเศรษฐกิจรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ผมตอบว่า พร้อมให้โอกาสเขาทำงาน แต่ตอบไปด้วยว่าส่วนตัวผมเคารพระบบผู้แทน ใครอยากทำงานก็ลงมาเสนอตัวให้ประชาชนได้เลือก คุณบอกคุณต้องการการเลือกตั้ง เสร็จแล้วคุณได้ ส.ส.เกินครึ่งในสภา แต่คุณก็ยังเลือกคนที่เคยช่วยปกป้องเจ้าของพรรคแทนที่จะให้โอกาสคนที่ชาวบ้านได้เลือกมา แล้วเขาเหล่านี้จะรับผิดชอบต่อใครมากกว่าครับ ชาวบ้านหรือเจ้าของพรรค?