ปลุกผู้ประกอบการ SMEs “สสว.” เตรียมลงมือทำฐานข้อมูลสินเชื่อ SME ครั้งใหม่ เพื่อปูทางสู่ความสำเร็จในการจัดอันดับเครดิตเรตติ้งที่ใช้เฉพาะกลุ่มธุรกิจ SME ผอ.สสว.ชี้ ต้องแก้ 3 ปัญหา เน้นการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำคัญสุด
ความคืบหน้าในการจัดเตรียมมาตรการการจัดอันดับเครดิตเรตติ้ง SME จากบรรดาชาติสมาชิกกลุ่มอาเซียนนั้น ดร.วิมลกานต์ โกสุมาส รองผู้อำนวยการ สสว.ให้ข้อมูลว่า ประเทศทั้งที่อยู่ในกลุ่มอาเซียน อย่างมาเลเซีย และ อินโดนีเซีย รวมถึงประเทศที่อยู่นอกกลุ่ม เช่น อินเดีย ต่างเริ่มลงมือดำเนินการในเรื่องดังกล่าวนี้กันแล้ว หลังก่อนหน้านี้ ได้ตกลงขอรับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้าน SME ของธนาคารโลก
ส่วนในไทยปัจจุบันเป็นที่เข้าใจกันว่า ยุทธศักดิ์ สุภกร ผอ.สสว.กำลังทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสถาบันการเงินอีกหลายแห่งด้วยกัน เพื่อเตรียมรวบรวมข้อมูลสินเชื่อ SME ทั้งหมดที่มีมาใช้สร้างเป็นฐานข้อมูลใหม่รองรับแผนมาตรการจัดอันดับเครดิตเรตติ้งที่จะใช้เป็นมาตรฐานประเมินความเสี่ยงอย่างเหมาะสมในแบบเฉพาะของธุรกิจ SME ซึ่งต้องถูกแยกขาดจากมาตรฐานประเมินความเสี่ยงเพื่อพิจารณาการให้สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ของธนาคารพาณิชย์
“ในเมืองไทยเราจำเป็นต้องสร้าง credit data-base สำหรับ SMEs เป็นการเฉพาะ เพราะบางประเทศเวลาจะปล่อยเงินกู้ SME เขาต้องไม่เอา SME ไป rate ร่วมกับบริษัทใหญ่ เพราะถ้าทำอย่างนั้น SME ก็ต้องเป็น C เป็น D แต่ถ้าเราเอาพวกที่เป็น S (ธุรกิจขนาดเล็ก) ด้วยกันมา rate กับพวกกลุ่ม S ที่เป็น top แล้ว เขาจะมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เราต้องทำ และอาเซียนก็ต้องทำ” ดร.วิมลกานต์ ย้ำ
นอกจากนี้ ยังมีผลการประเมินนโยบบายส่งเสริมสนับสนุน SMEs จากรัฐบาลไทยซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สสว.และองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) โดยใช้มาตรฐานอ้างอิง (Benchmark) จาก OECD ซึ่งมีภาพค่อนข้างชัดเจนถึงอนาคตที่อาจะไม่ค่อยสดใสนักของ SMEs ไทย โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กเนื่องจากปัญหาขาดแหล่งสนับสนุนเงินทุน
“ทาง OECD พบว่าของเราท่าทาง S (ขนาดเล็ก) จะไม่ขึ้น M (ขนาดกลาง) คือ เรามีประชากร S อยู่ประมาณ 2.8 ล้านราย แต่มี M อยู่กว่าหมื่นราย ทาง OECD ก็ช็อก เพราะสัดส่วนมันน้อยมาก ถ้าเป็นประเทศอื่นป่านนี้ M มันต้องมีเป็นแสนๆ รายแล้ว ข้อสันนิษฐานที่ว่า S ขึ้นเป็น M ไม่ได้ก็คือติดเรื่องเงินนั่นเอง” จากปากคำของ รอง ผอ.สสว.
**ผอ.สสว.ชี้ ต้องแก้ 3 ปัญหา**
ส่วนด้าน ยุทธศักดิ์ สุภกร ผอ.สสว.บอกเพิ่มเติมด้วยถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง SME ที่เขาจัดให้อยู่ในอันดับ AAA และจำเป็นที่ทางการต้องเข้าช่วยแก้ไขนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 3 เรื่อง อันดับแรก คือ ปัญหาในการเข้าถึงเงินทุนของ SME ซึ่งเจ้าตัวย้ำว่า ทุกประเทศทั่วโลกต่างก็มีปัญหาในแบบเดียวกันนี้ทั้งหมด แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่ารัฐบาลจะเข้าไปจัดการกับปัญหาเช่นนี้ได้อย่างไร
“คราวก่อนพวกเราไปประชุม SME Advisory Board อาเซียนที่สิงคโปร์ เขาก็บอกว่า ระยะเวลาให้กู้ยืมบ้านเรามัน cap ไว้ที่ 7 ปี แต่ที่อื่น อย่างอเมริกาเขาจะช่วยเป็นแบบระยะยาวคือ 20-30 ปี เพราะการขยายเวลากู้ยืมให้นานขึ้น การจ่ายคืนเงินต้น ดอกเบี้ยก็จะน้อยลง ยังไงธุรกิจก็ต้องโตและคุณก็ต้องอยู่กับเขาไปตลอด แล้วทำไมต้องเป็น 7 ปี” ยุทธศักดิ์ เล่าให้ฟัง
ส่วนปัญหาที่สองนั้นจะเป็นเรื่องเงื่อนไขการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อรายย่อย ซึ่ง ธปท.กำหนดตัวเลขไว้ที่ประมาณ 15% ส่วนในของประเทศอื่นๆ นั้น ทางการจะกำหนดตัวเลขให้สูงราวถึง 70% หรือ 90% และเงื่อนไขการค้ำประกันของไทยเช่นนี้เองที่ก่อให้เกิดปัญหามากมายแก่กิจการ SMEs ที่มีจำนวนมิใช่น้อยคือราว 2.8 ล้านราย โดยดูได้จากข้อมูลสินเชื่อซึ่งในจำนวนนี้มีอยู่มากมาย ไม่อาจขอเงินกู้เพื่อประกอบธุรกิจได้เกินกว่า 500,000 บาท เหตุเพราะขาดหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ให้ตัวเอง
ปัญหาข้อสุดท้ายนั้นจะเป็นเรื่องการเข้าถึงตลาด ที่ SMEs ผลิตสินค้าออกมาแล้วแต่ไม่รู้จะขายได้ที่ไหน จึงทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องในเรื่องผลตอบรับสินค้าไทยจากตลาดจนกลายเป็นต้นให้สินค้าไทยด้อยพัฒนา ขณะที่การเข้าถึงข้อมูลการส่งเสริมผู้ประกอบการจากภาครัฐก็ยังมีปัญหาเรื่องการกระจายข้อมูลอย่างทั่วถึง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่ภาครัฐต้องใช้เวลาในการแก้ไข
ความคืบหน้าในการจัดเตรียมมาตรการการจัดอันดับเครดิตเรตติ้ง SME จากบรรดาชาติสมาชิกกลุ่มอาเซียนนั้น ดร.วิมลกานต์ โกสุมาส รองผู้อำนวยการ สสว.ให้ข้อมูลว่า ประเทศทั้งที่อยู่ในกลุ่มอาเซียน อย่างมาเลเซีย และ อินโดนีเซีย รวมถึงประเทศที่อยู่นอกกลุ่ม เช่น อินเดีย ต่างเริ่มลงมือดำเนินการในเรื่องดังกล่าวนี้กันแล้ว หลังก่อนหน้านี้ ได้ตกลงขอรับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้าน SME ของธนาคารโลก
ส่วนในไทยปัจจุบันเป็นที่เข้าใจกันว่า ยุทธศักดิ์ สุภกร ผอ.สสว.กำลังทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสถาบันการเงินอีกหลายแห่งด้วยกัน เพื่อเตรียมรวบรวมข้อมูลสินเชื่อ SME ทั้งหมดที่มีมาใช้สร้างเป็นฐานข้อมูลใหม่รองรับแผนมาตรการจัดอันดับเครดิตเรตติ้งที่จะใช้เป็นมาตรฐานประเมินความเสี่ยงอย่างเหมาะสมในแบบเฉพาะของธุรกิจ SME ซึ่งต้องถูกแยกขาดจากมาตรฐานประเมินความเสี่ยงเพื่อพิจารณาการให้สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ของธนาคารพาณิชย์
“ในเมืองไทยเราจำเป็นต้องสร้าง credit data-base สำหรับ SMEs เป็นการเฉพาะ เพราะบางประเทศเวลาจะปล่อยเงินกู้ SME เขาต้องไม่เอา SME ไป rate ร่วมกับบริษัทใหญ่ เพราะถ้าทำอย่างนั้น SME ก็ต้องเป็น C เป็น D แต่ถ้าเราเอาพวกที่เป็น S (ธุรกิจขนาดเล็ก) ด้วยกันมา rate กับพวกกลุ่ม S ที่เป็น top แล้ว เขาจะมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เราต้องทำ และอาเซียนก็ต้องทำ” ดร.วิมลกานต์ ย้ำ
นอกจากนี้ ยังมีผลการประเมินนโยบบายส่งเสริมสนับสนุน SMEs จากรัฐบาลไทยซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สสว.และองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) โดยใช้มาตรฐานอ้างอิง (Benchmark) จาก OECD ซึ่งมีภาพค่อนข้างชัดเจนถึงอนาคตที่อาจะไม่ค่อยสดใสนักของ SMEs ไทย โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กเนื่องจากปัญหาขาดแหล่งสนับสนุนเงินทุน
“ทาง OECD พบว่าของเราท่าทาง S (ขนาดเล็ก) จะไม่ขึ้น M (ขนาดกลาง) คือ เรามีประชากร S อยู่ประมาณ 2.8 ล้านราย แต่มี M อยู่กว่าหมื่นราย ทาง OECD ก็ช็อก เพราะสัดส่วนมันน้อยมาก ถ้าเป็นประเทศอื่นป่านนี้ M มันต้องมีเป็นแสนๆ รายแล้ว ข้อสันนิษฐานที่ว่า S ขึ้นเป็น M ไม่ได้ก็คือติดเรื่องเงินนั่นเอง” จากปากคำของ รอง ผอ.สสว.
**ผอ.สสว.ชี้ ต้องแก้ 3 ปัญหา**
ส่วนด้าน ยุทธศักดิ์ สุภกร ผอ.สสว.บอกเพิ่มเติมด้วยถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง SME ที่เขาจัดให้อยู่ในอันดับ AAA และจำเป็นที่ทางการต้องเข้าช่วยแก้ไขนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 3 เรื่อง อันดับแรก คือ ปัญหาในการเข้าถึงเงินทุนของ SME ซึ่งเจ้าตัวย้ำว่า ทุกประเทศทั่วโลกต่างก็มีปัญหาในแบบเดียวกันนี้ทั้งหมด แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่ารัฐบาลจะเข้าไปจัดการกับปัญหาเช่นนี้ได้อย่างไร
“คราวก่อนพวกเราไปประชุม SME Advisory Board อาเซียนที่สิงคโปร์ เขาก็บอกว่า ระยะเวลาให้กู้ยืมบ้านเรามัน cap ไว้ที่ 7 ปี แต่ที่อื่น อย่างอเมริกาเขาจะช่วยเป็นแบบระยะยาวคือ 20-30 ปี เพราะการขยายเวลากู้ยืมให้นานขึ้น การจ่ายคืนเงินต้น ดอกเบี้ยก็จะน้อยลง ยังไงธุรกิจก็ต้องโตและคุณก็ต้องอยู่กับเขาไปตลอด แล้วทำไมต้องเป็น 7 ปี” ยุทธศักดิ์ เล่าให้ฟัง
ส่วนปัญหาที่สองนั้นจะเป็นเรื่องเงื่อนไขการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อรายย่อย ซึ่ง ธปท.กำหนดตัวเลขไว้ที่ประมาณ 15% ส่วนในของประเทศอื่นๆ นั้น ทางการจะกำหนดตัวเลขให้สูงราวถึง 70% หรือ 90% และเงื่อนไขการค้ำประกันของไทยเช่นนี้เองที่ก่อให้เกิดปัญหามากมายแก่กิจการ SMEs ที่มีจำนวนมิใช่น้อยคือราว 2.8 ล้านราย โดยดูได้จากข้อมูลสินเชื่อซึ่งในจำนวนนี้มีอยู่มากมาย ไม่อาจขอเงินกู้เพื่อประกอบธุรกิจได้เกินกว่า 500,000 บาท เหตุเพราะขาดหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ให้ตัวเอง
ปัญหาข้อสุดท้ายนั้นจะเป็นเรื่องการเข้าถึงตลาด ที่ SMEs ผลิตสินค้าออกมาแล้วแต่ไม่รู้จะขายได้ที่ไหน จึงทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องในเรื่องผลตอบรับสินค้าไทยจากตลาดจนกลายเป็นต้นให้สินค้าไทยด้อยพัฒนา ขณะที่การเข้าถึงข้อมูลการส่งเสริมผู้ประกอบการจากภาครัฐก็ยังมีปัญหาเรื่องการกระจายข้อมูลอย่างทั่วถึง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่ภาครัฐต้องใช้เวลาในการแก้ไข