ผลจัดอันดับความสะดวกในการเข้าถึงเงินกู้จาก “เวิลด์แบงก์” ชี้ “เวียดนาม” ติดอันดับ 30 ของโลก ล้ำหน้า “ไทย” ถึง 41 อันดับ ด้านผลวิเคราะห์มาตรการหนุน SME ภาครัฐในอาเซียนของ “สสว.” ระบุ แต้มต่อธุรกิจในระดับภูมิภาคอาเซียน “เวียดนาม” มีแววจะโดดเด่นอย่างที่สุด หากรัฐบาลบรรลุผลการสร้างความโปร่งใส-เพิ่มประสิทธิภาพ-ลดความซ้ำซ้อนการทำงานภาครัฐ
สำนักงานพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้จัดทำรายงานผลศึกษาเปรียบเทียบนโยบายและมาตรการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในกลุ่มอาเซียน
โดยเนื้อส่วนหนึ่งนั้นได้กล่าวถึงข้อมูลผลการจัดอันดับความสะดวกในการทำธุรกิจ (Ranking of Doing Business) เมื่อปี 2553 ตามเกณฑ์การพิจารณาของธนาคารโลก ซึ่งระบุว่า ในแง่ความสะดวกในการเข้าถึงเงินกู้ เวียดนาม น้องใหม่ในอาเซียนที่ทรงเส่นห์อย่างยิ่งในปัจจุบัน ได้ถูกจัดชั้นให้อยู่ในอันดับที่ 30 ของโลกแล้ว
ขณะที่ผลการจัดอันดับในรายการเดียวกันของไทยยังคงต่ำกว่าของเวียดนามอยู่มาก จากที่ธนาคารโลกได้มอบอันดับที่ 70 ของโลกให้ไทยมาครอบครอง
แต่หากพิจารณาจากการจัดอันดับตามนี้แล้ว ผลเปรียบเทียบความสะดวกในการเข้าถึงเงินกู้ที่เมืองไทยกับในกลุ่มอาเซียนก็ยังคงติดอันดับ 4 ตาม หลังมาเลเซีย, สิงคโปร์ และ เวียดนาม ตามลำดับ (ดูตารางการจัดอันดับของธนาคารโลก)
การจัดทำ Ranking of Doing Business ของเวียดนามจะอิงตามเหตุผลที่ว่าหลังจากเวียดนามเริ่มเปิดประเทศมาตั้งเมื่อปี 2543 ภาครัฐได้พยายามปรับปรุงรูปแบบการทำงานให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
ทั้งปัจจุบันการลงทุนจากสถาบันการเงินต่างชาติในเวียดนาม ก็เริ่มมีเพิ่มขึ้น ตามผลนโยบายสร้างพลังดึงดูดการลงทุนทางตรงจากต่างชาติในทุกรูปแบบของรัฐบาล จนทำให้เกิดความสะดวกในการทำธุรกิจแก่ผู้ลงทุน รวมทั้งผู้ประกอบการในประเทศก็ยังพลอยได้รับอานิสงส์ผลบุญในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในแบบที่ง่ายขึ้นด้วย
**ภาพแต้มต่อทางธุรกิจ “เวียดนาม” โดดเด่นสุด**
อย่างไรก็ตาม ในรายงานยังพูดถึงประเด็นแต้มต่อทางธุรกิจในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีความเห็นไว้อย่างน่าสนใจในล้อมกรอบเล็กๆ ที่เกี่ยวกับประเทศเวียดนาม โดยให้ภาพไว้ว่า
“เมื่อนำประเด็นขนาดตลาดภายในประเทศ อัตราค่าจ้างแรงงาน ต้นทุนการส่งออก ความสะดวกในการทำธุรกิจ และความสะดวกในการขอสินเชื่อ มาพิจารณาร่วมกัน ประเทศเวียดนามมีแต้มต่อในการดำเนินธุรกิจมากกว่าประเทศอื่นๆ หากรัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหากระบวนการการทำงานภาครัฐให้มีความโปร่งใส และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความซ้ำซ้อนในการทำงานลง เวียดนามจะกลายเป็นประเทศที่มีแต้มต่อทางธุรกิจโด่ดเด่นที่สุดในภูมิภาคอาเซียน”
ส่วนที่เมืองไทย แม้อันดับความสะดวกในการเข้าถึงเงินกู้นั้นยังดูต่ำต้อยกว่าของคู่แข่งรายสำคัญที่เกาะกลุ่มรวมกันอยู่ในระดับ Top-3 ด้าน SME อย่างสิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยคู่แข่งทั้ง 2 ยังมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนส่งออกที่ต่ำยิ่งกว่าทุกประเทศมาเป็นปัจจัยหนุนอีกแรง แต่หากพิจารณในแง่ของความเป็นประเทศที่น่าลงทุนของโลกที่ธนาคารโลกจัดเมืองไทยไว้เป็นอันดับที่ 12 ก็ถือได้ว่าไทยยังคงแข่งขันได้กับทั้ง 2 ประเทศ แถมยังได้ประเด็นขั้นตอนและการใช้ระยะเวลาการดำเนินการจัดตั้งธุรกิจในไทยที่ไม่ยุ่งยากยาวนาน และราคาค่าแรงที่ถูกกว่ามาเป็นปัจจัยเสริมส่งอีกด้าน
อย่างไรก็ตาม ในประเด็นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานแบบเข้มข้น (Labor Intensive) นั้น ในรายงานไม่วายที่จะเน้นย้ำในความจริงที่ว่าปัจจุบันความสามารถในการแข่งขันของไทยด้านนี้ดูจะด้อยยิ่งกว่าคู่แข่งขันอย่างเวียดนาม, อินโดนีเซีย และประเทศอื่นๆ ในกลุ่มสมาชิกใหม่ของอาเซียนแล้ว
**ไทยจะโดน “จีน-CLMV” ตีกระนาบ **
นอกจากนี้ ในผลวิเคราะห์การเปรียบเทียบเชิงนโยบายและการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ของรัฐบาลจากชาติอาเซียน ยังได้กล่าวถึงผลกระทบเชิงลบที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นกับ SME จากการรวมตลาดเป็นหนึ่งของอาเซียนเมื่อถึงปี 2558 จะเป็นเรื่องการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากคู่แข่งขันในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (CLMV) ได้แก่ กัมพูชา, สปป.ลาว, สหภาพพม่าและเวียดนาม ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีศักยภาพในระดับที่ต่ำกว่าจากปัญหาความโปร่งใสของรัฐบาลและการเป็นประเทศปิดมาอย่างยาวนาน
และจากแนวโน้มความรุนแรงในการแข่งขันที่กำลังทบทวีคูณเช่นนี้ ส่งผลให้รัฐบาลชาติอาเซียนต้องพยายามแสวงหามาตรการอันหลากหลายเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและลดจุดอ่อนด้านต่างๆ ให้แก่ SME ภายในประเทศตน โดยแนวทางที่รัฐบาลแต่ละชาติดำเนินการย่อมต้องกระทบต่อ SMEs ไทย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีขีดความสามารถระดับปานกลางถึงระดับต่ำ
กล่าวคือ ประเทศที่ครั้งหนึ่งเคยพึ่งพาสินค้านำเข้าจากไทย ย่อมหันไปซื้อหาสินค้าจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐานกว่าเมื่อเทียบกับไทย ส่วนกลุ่มประเทศซึ่งมีกำลังซื้อต่ำ ก็จะหันไปให้ความสนใจกับสินค้าที่ผลิตขึ้นโดยประเทศที่มีต้นทุนต่ำอย่างสุดๆ เช่น จีน
การแข่งขันตลาดภายในประเทศ นอกเหนือจากที่ไทยต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งรายสำคัญอย่างจีนแล้ว ไทยก็ยังต้องแข่งขันกับวิสาหกิจในกลุ่มอาเซียน ซึ่งมีศักยภาพมากขึ้น แถมยังมีต้นทุนที่ต่ำกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้องใหม่ในครอบครัวอาเซียนอย่าง CLMV กลุ่มประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ แรงงานราคาถูก และสารพัดแรงจูงใจที่แต่ละรัฐบาลกำลังพัฒนาขึ้นมาใช้สนับสนุนแผนการใหญ่ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ และชักชวนให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ๆ
ปัจจัยหนุนที่ประเทศเหล่านี้มีอยู่ในปัจจุบันก็เริ่มจะกดความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของไทยให้ต่ำลง ผลที่ตามมาคือนักลงทุนรายเก่าอาจย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเหล่านี้ ส่วนพวกนักลงทุนรายใหม่ก็อาจจะเทความสนใจและเลือกเข้าลงทุนใน CLMV มากขึ้นเช่นกัน
โดยเฉพาะเวียดนาม ประเทศที่ผู้คนไม่เพียงแต่ทั้งขยันและอดทน แต่ยังเป็นที่ที่ผู้ประกอบการ SME ในประเทศ กำลังให้ความสนใจกับการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้สนับสนุนการทำธุรกิจ และกำลังเพียรพยายามอย่างมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทักษะของตนให้มากขึ้นด้วย
แม้จะเป็นจริงที่ว่าสินค้าที่เวียดนามผลิตได้ในปัจจุบันจะยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แถมผู้ประกอบการก็ยังมีจุดอ่อนในการสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศ และความสามารถเข้าถึงเงินทุนก็ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทำให้การพัฒนาศักยภาพเป็นไปตามขีดความสามารถในปัจจุบัน
แต่รัฐบาลเวียดนามก็ตระหนักในปัญหาเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี จึงเพียรพยายามที่จะกำหนดมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนในด้านต่างๆ ขึ้นมา ไม่ว่าจะช่วยลดขั้นตอนการทำงาน และการให้สิทธิประโยชน์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มจำนวนวิสาหกิจรายใหม่
เพราะเวลานี้ผู้คนเชื่อกันแล้วว่า ในอนาคตกลุ่ม CLMV ที่มีเวียดนามรวมอยู่ด้วยนั้น น่าจะได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้า การบริการและการลงทุนภายใต้กรอบความร่วมมือ AEC ปี 2558 นี้ด้วย
สำนักงานพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้จัดทำรายงานผลศึกษาเปรียบเทียบนโยบายและมาตรการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในกลุ่มอาเซียน
โดยเนื้อส่วนหนึ่งนั้นได้กล่าวถึงข้อมูลผลการจัดอันดับความสะดวกในการทำธุรกิจ (Ranking of Doing Business) เมื่อปี 2553 ตามเกณฑ์การพิจารณาของธนาคารโลก ซึ่งระบุว่า ในแง่ความสะดวกในการเข้าถึงเงินกู้ เวียดนาม น้องใหม่ในอาเซียนที่ทรงเส่นห์อย่างยิ่งในปัจจุบัน ได้ถูกจัดชั้นให้อยู่ในอันดับที่ 30 ของโลกแล้ว
ขณะที่ผลการจัดอันดับในรายการเดียวกันของไทยยังคงต่ำกว่าของเวียดนามอยู่มาก จากที่ธนาคารโลกได้มอบอันดับที่ 70 ของโลกให้ไทยมาครอบครอง
แต่หากพิจารณาจากการจัดอันดับตามนี้แล้ว ผลเปรียบเทียบความสะดวกในการเข้าถึงเงินกู้ที่เมืองไทยกับในกลุ่มอาเซียนก็ยังคงติดอันดับ 4 ตาม หลังมาเลเซีย, สิงคโปร์ และ เวียดนาม ตามลำดับ (ดูตารางการจัดอันดับของธนาคารโลก)
การจัดทำ Ranking of Doing Business ของเวียดนามจะอิงตามเหตุผลที่ว่าหลังจากเวียดนามเริ่มเปิดประเทศมาตั้งเมื่อปี 2543 ภาครัฐได้พยายามปรับปรุงรูปแบบการทำงานให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
ทั้งปัจจุบันการลงทุนจากสถาบันการเงินต่างชาติในเวียดนาม ก็เริ่มมีเพิ่มขึ้น ตามผลนโยบายสร้างพลังดึงดูดการลงทุนทางตรงจากต่างชาติในทุกรูปแบบของรัฐบาล จนทำให้เกิดความสะดวกในการทำธุรกิจแก่ผู้ลงทุน รวมทั้งผู้ประกอบการในประเทศก็ยังพลอยได้รับอานิสงส์ผลบุญในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในแบบที่ง่ายขึ้นด้วย
**ภาพแต้มต่อทางธุรกิจ “เวียดนาม” โดดเด่นสุด**
อย่างไรก็ตาม ในรายงานยังพูดถึงประเด็นแต้มต่อทางธุรกิจในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีความเห็นไว้อย่างน่าสนใจในล้อมกรอบเล็กๆ ที่เกี่ยวกับประเทศเวียดนาม โดยให้ภาพไว้ว่า
“เมื่อนำประเด็นขนาดตลาดภายในประเทศ อัตราค่าจ้างแรงงาน ต้นทุนการส่งออก ความสะดวกในการทำธุรกิจ และความสะดวกในการขอสินเชื่อ มาพิจารณาร่วมกัน ประเทศเวียดนามมีแต้มต่อในการดำเนินธุรกิจมากกว่าประเทศอื่นๆ หากรัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหากระบวนการการทำงานภาครัฐให้มีความโปร่งใส และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความซ้ำซ้อนในการทำงานลง เวียดนามจะกลายเป็นประเทศที่มีแต้มต่อทางธุรกิจโด่ดเด่นที่สุดในภูมิภาคอาเซียน”
ส่วนที่เมืองไทย แม้อันดับความสะดวกในการเข้าถึงเงินกู้นั้นยังดูต่ำต้อยกว่าของคู่แข่งรายสำคัญที่เกาะกลุ่มรวมกันอยู่ในระดับ Top-3 ด้าน SME อย่างสิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยคู่แข่งทั้ง 2 ยังมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนส่งออกที่ต่ำยิ่งกว่าทุกประเทศมาเป็นปัจจัยหนุนอีกแรง แต่หากพิจารณในแง่ของความเป็นประเทศที่น่าลงทุนของโลกที่ธนาคารโลกจัดเมืองไทยไว้เป็นอันดับที่ 12 ก็ถือได้ว่าไทยยังคงแข่งขันได้กับทั้ง 2 ประเทศ แถมยังได้ประเด็นขั้นตอนและการใช้ระยะเวลาการดำเนินการจัดตั้งธุรกิจในไทยที่ไม่ยุ่งยากยาวนาน และราคาค่าแรงที่ถูกกว่ามาเป็นปัจจัยเสริมส่งอีกด้าน
อย่างไรก็ตาม ในประเด็นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานแบบเข้มข้น (Labor Intensive) นั้น ในรายงานไม่วายที่จะเน้นย้ำในความจริงที่ว่าปัจจุบันความสามารถในการแข่งขันของไทยด้านนี้ดูจะด้อยยิ่งกว่าคู่แข่งขันอย่างเวียดนาม, อินโดนีเซีย และประเทศอื่นๆ ในกลุ่มสมาชิกใหม่ของอาเซียนแล้ว
**ไทยจะโดน “จีน-CLMV” ตีกระนาบ **
นอกจากนี้ ในผลวิเคราะห์การเปรียบเทียบเชิงนโยบายและการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ของรัฐบาลจากชาติอาเซียน ยังได้กล่าวถึงผลกระทบเชิงลบที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นกับ SME จากการรวมตลาดเป็นหนึ่งของอาเซียนเมื่อถึงปี 2558 จะเป็นเรื่องการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากคู่แข่งขันในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (CLMV) ได้แก่ กัมพูชา, สปป.ลาว, สหภาพพม่าและเวียดนาม ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีศักยภาพในระดับที่ต่ำกว่าจากปัญหาความโปร่งใสของรัฐบาลและการเป็นประเทศปิดมาอย่างยาวนาน
และจากแนวโน้มความรุนแรงในการแข่งขันที่กำลังทบทวีคูณเช่นนี้ ส่งผลให้รัฐบาลชาติอาเซียนต้องพยายามแสวงหามาตรการอันหลากหลายเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและลดจุดอ่อนด้านต่างๆ ให้แก่ SME ภายในประเทศตน โดยแนวทางที่รัฐบาลแต่ละชาติดำเนินการย่อมต้องกระทบต่อ SMEs ไทย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีขีดความสามารถระดับปานกลางถึงระดับต่ำ
กล่าวคือ ประเทศที่ครั้งหนึ่งเคยพึ่งพาสินค้านำเข้าจากไทย ย่อมหันไปซื้อหาสินค้าจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐานกว่าเมื่อเทียบกับไทย ส่วนกลุ่มประเทศซึ่งมีกำลังซื้อต่ำ ก็จะหันไปให้ความสนใจกับสินค้าที่ผลิตขึ้นโดยประเทศที่มีต้นทุนต่ำอย่างสุดๆ เช่น จีน
การแข่งขันตลาดภายในประเทศ นอกเหนือจากที่ไทยต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งรายสำคัญอย่างจีนแล้ว ไทยก็ยังต้องแข่งขันกับวิสาหกิจในกลุ่มอาเซียน ซึ่งมีศักยภาพมากขึ้น แถมยังมีต้นทุนที่ต่ำกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้องใหม่ในครอบครัวอาเซียนอย่าง CLMV กลุ่มประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ แรงงานราคาถูก และสารพัดแรงจูงใจที่แต่ละรัฐบาลกำลังพัฒนาขึ้นมาใช้สนับสนุนแผนการใหญ่ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ และชักชวนให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ๆ
ปัจจัยหนุนที่ประเทศเหล่านี้มีอยู่ในปัจจุบันก็เริ่มจะกดความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของไทยให้ต่ำลง ผลที่ตามมาคือนักลงทุนรายเก่าอาจย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเหล่านี้ ส่วนพวกนักลงทุนรายใหม่ก็อาจจะเทความสนใจและเลือกเข้าลงทุนใน CLMV มากขึ้นเช่นกัน
โดยเฉพาะเวียดนาม ประเทศที่ผู้คนไม่เพียงแต่ทั้งขยันและอดทน แต่ยังเป็นที่ที่ผู้ประกอบการ SME ในประเทศ กำลังให้ความสนใจกับการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้สนับสนุนการทำธุรกิจ และกำลังเพียรพยายามอย่างมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทักษะของตนให้มากขึ้นด้วย
แม้จะเป็นจริงที่ว่าสินค้าที่เวียดนามผลิตได้ในปัจจุบันจะยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แถมผู้ประกอบการก็ยังมีจุดอ่อนในการสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศ และความสามารถเข้าถึงเงินทุนก็ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทำให้การพัฒนาศักยภาพเป็นไปตามขีดความสามารถในปัจจุบัน
แต่รัฐบาลเวียดนามก็ตระหนักในปัญหาเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี จึงเพียรพยายามที่จะกำหนดมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนในด้านต่างๆ ขึ้นมา ไม่ว่าจะช่วยลดขั้นตอนการทำงาน และการให้สิทธิประโยชน์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มจำนวนวิสาหกิจรายใหม่
เพราะเวลานี้ผู้คนเชื่อกันแล้วว่า ในอนาคตกลุ่ม CLMV ที่มีเวียดนามรวมอยู่ด้วยนั้น น่าจะได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้า การบริการและการลงทุนภายใต้กรอบความร่วมมือ AEC ปี 2558 นี้ด้วย