บอร์ด กนง.ติดตามสถานการณ์ต่างประเทศใกล้ชิด ยอมรับปัญหาหนี้ของกรีซ อาจใช้เวลาการแก้ไขนาน แต่เนื่องจากตลาดเกิดใหม่ในประเทศเอเชียมีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะจีนที่มีสัดส่วนการบริโภคถึง 40% ของเศรษฐกิจโลก ทำให้ขณะนี้ปัญหาภายนอกไม่ได้กระทบไทยมากนัก ขณะที่ SCB ปรับขึ้นดอกเบี้ยหลัง ธปท.บ่นเสียงดัง!
นายทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการ สำนักเศรษฐกิจมหภาค ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีการติดตามปัจจัยต่างประเทศอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจต่างประเทศที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทยด้วย โดยปัญหาหนี้สินของกรีซ มองว่า เป็นปัญหาด้านโครงสร้าง ซึ่งกรีซก็พยายามแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงมองว่า ปัญหาเหล่านี้ก็ไม่ได้เกินความคาดหมายของ กนง.แต่อาจจะต้องใช้เวลาค่อนข้างนานในการแก้ไขปัญหา และแม้กลุ่มประเทศ G3 เผชิญปัญหาหลายเรื่องในขณะนี้ แต่คงไม่เลวร้ายถึงขนาดช่วงที่เกิดปัญหาวิกฤตการเงินช่วงแรกอย่างปี 2551
“ปัญหาในทวีปยุโรปที่เกิดขึ้นในขณะนี้เป็นปัญหาเรื้อรังมาได้ระยะหนึ่ง จากการประเมินของ ธปท.พบว่า แม้ในกรณีฐานสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เพราะปัญหาอยู่ในวงจำกัดแค่ในกลุ่มประเทศ PIGS ทำให้มีผลต่อเศรษฐกิจไทยไม่มากนัก” นายทรงธรรม กล่าว และเชื่อว่า ตลาดเกิดใหม่ในเอเชียมีบทบาทระหว่างภูมิภาคมากขึ้น โดยเฉพาะการค้าขายที่มีความสำคัญค่อนข้างมากกับเศรษฐกิจโลก อาทิ จีนมีสัดส่วนการบริโภคถึง 40% ของเศรษฐกิจโลก ทำให้ปัญหาต่างๆ ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อไทยมากนัก
สำหรับปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯก็เช่นเดียวกัน มองว่า ถึงจุดหนึ่งน่าจะมีทางออกและไม่น่าจะรุนแรงถึงขั้น default โดยมองว่า เรื่องนี้น่าจะเป็นเกมการเมืองมากกว่า และสุดท้ายก็น่าจะตกลงกันได้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วจะเกิดความผันผวนต่อตลาดการเงินได้ รวมไปถึงชื่อเสียงของประเทศด้วย จึงเชื่อว่า ไม่มีฝ่ายใดกล้าเสี่ยงต่อปัญหาที่เกิดขึ้นและเศรษฐกิจสหรัฐฯยังขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปี 51 ส่วนญี่ปุ่นเองมองว่าปัญหาภัยพิบัติสึนามิเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวเท่านั้น
**คาดดอกเบี้ยเงินฝากจะทยอยขึ้น
จากกรณีที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ยังไม่ปรับขึ้นเท่าที่ควร นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ธปท.เชื่อว่า ในระยะต่อไป ธนาคารพาณิชย์ในระบบจะค่อยๆ ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 3.25% ต่อปี เนื่องจากธนาคารพาณิชย์จะมีการแข่งขันระดมเงินฝากสูงขึ้นต่อเนื่องเพื่อเป็นการเตรียมสภาพคล่องไว้รองรับการขยายตัวของสินเชื่อตามภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดีขึ้น
***SCB ปรับแล้ว ขึ้นดอกเบี้ย 2 ขา
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธนาคารปรับอัตราดอกเบี้ยทุกประเภทตามนโยบายของ ธปท.โดยดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำและตั๋วแลกเงินปรับขึ้นประมาณ 0.10%-0.35% ต่อปี ตามวงเงินและระยะเวลาการฝาก สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อได้มีการปรับขึ้นเช่นกันตามประเภทของอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อโดยปรับขึ้นประมาณ 0.25% ต่อปี ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2554 นี้
การปรับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์บุคคลธรรมดาอยู่ที่ 0.87% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน ปรับขึ้นเป็น 1.75%-1.95% ต่อปี เงินฝากประจำ 6 เดือนเป็น 2.10%-2.30% ต่อปี เงินฝากประจำ 12 เดือน ปรับขึ้นเป็น 2.50%-2.75% ต่อปี เงินฝากประจำระยะยาว 24 เดือนปรับขึ้นเป็น 3.00%-3.20% ต่อปี และ 36 เดือน ปรับขึ้นเป็น 3.25%-3.50% ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ปรับเป็น 7.13% ต่อปี อัตราดอกเบี้ย MOR เป็น 7.40% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MRR เป็น 7.90% ต่อปีตามลำดับ
นายทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการ สำนักเศรษฐกิจมหภาค ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีการติดตามปัจจัยต่างประเทศอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจต่างประเทศที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทยด้วย โดยปัญหาหนี้สินของกรีซ มองว่า เป็นปัญหาด้านโครงสร้าง ซึ่งกรีซก็พยายามแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงมองว่า ปัญหาเหล่านี้ก็ไม่ได้เกินความคาดหมายของ กนง.แต่อาจจะต้องใช้เวลาค่อนข้างนานในการแก้ไขปัญหา และแม้กลุ่มประเทศ G3 เผชิญปัญหาหลายเรื่องในขณะนี้ แต่คงไม่เลวร้ายถึงขนาดช่วงที่เกิดปัญหาวิกฤตการเงินช่วงแรกอย่างปี 2551
“ปัญหาในทวีปยุโรปที่เกิดขึ้นในขณะนี้เป็นปัญหาเรื้อรังมาได้ระยะหนึ่ง จากการประเมินของ ธปท.พบว่า แม้ในกรณีฐานสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เพราะปัญหาอยู่ในวงจำกัดแค่ในกลุ่มประเทศ PIGS ทำให้มีผลต่อเศรษฐกิจไทยไม่มากนัก” นายทรงธรรม กล่าว และเชื่อว่า ตลาดเกิดใหม่ในเอเชียมีบทบาทระหว่างภูมิภาคมากขึ้น โดยเฉพาะการค้าขายที่มีความสำคัญค่อนข้างมากกับเศรษฐกิจโลก อาทิ จีนมีสัดส่วนการบริโภคถึง 40% ของเศรษฐกิจโลก ทำให้ปัญหาต่างๆ ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อไทยมากนัก
สำหรับปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯก็เช่นเดียวกัน มองว่า ถึงจุดหนึ่งน่าจะมีทางออกและไม่น่าจะรุนแรงถึงขั้น default โดยมองว่า เรื่องนี้น่าจะเป็นเกมการเมืองมากกว่า และสุดท้ายก็น่าจะตกลงกันได้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วจะเกิดความผันผวนต่อตลาดการเงินได้ รวมไปถึงชื่อเสียงของประเทศด้วย จึงเชื่อว่า ไม่มีฝ่ายใดกล้าเสี่ยงต่อปัญหาที่เกิดขึ้นและเศรษฐกิจสหรัฐฯยังขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปี 51 ส่วนญี่ปุ่นเองมองว่าปัญหาภัยพิบัติสึนามิเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวเท่านั้น
**คาดดอกเบี้ยเงินฝากจะทยอยขึ้น
จากกรณีที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ยังไม่ปรับขึ้นเท่าที่ควร นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ธปท.เชื่อว่า ในระยะต่อไป ธนาคารพาณิชย์ในระบบจะค่อยๆ ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 3.25% ต่อปี เนื่องจากธนาคารพาณิชย์จะมีการแข่งขันระดมเงินฝากสูงขึ้นต่อเนื่องเพื่อเป็นการเตรียมสภาพคล่องไว้รองรับการขยายตัวของสินเชื่อตามภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดีขึ้น
***SCB ปรับแล้ว ขึ้นดอกเบี้ย 2 ขา
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธนาคารปรับอัตราดอกเบี้ยทุกประเภทตามนโยบายของ ธปท.โดยดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำและตั๋วแลกเงินปรับขึ้นประมาณ 0.10%-0.35% ต่อปี ตามวงเงินและระยะเวลาการฝาก สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อได้มีการปรับขึ้นเช่นกันตามประเภทของอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อโดยปรับขึ้นประมาณ 0.25% ต่อปี ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2554 นี้
การปรับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์บุคคลธรรมดาอยู่ที่ 0.87% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน ปรับขึ้นเป็น 1.75%-1.95% ต่อปี เงินฝากประจำ 6 เดือนเป็น 2.10%-2.30% ต่อปี เงินฝากประจำ 12 เดือน ปรับขึ้นเป็น 2.50%-2.75% ต่อปี เงินฝากประจำระยะยาว 24 เดือนปรับขึ้นเป็น 3.00%-3.20% ต่อปี และ 36 เดือน ปรับขึ้นเป็น 3.25%-3.50% ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ปรับเป็น 7.13% ต่อปี อัตราดอกเบี้ย MOR เป็น 7.40% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MRR เป็น 7.90% ต่อปีตามลำดับ