กรมบัญชีกลางเตรียมชงแผนค่ารักษาพยาบาลเข้าสู่ระบบประกันแบบเอกชนให้รัฐบาลใหม่พิจารณา ส่ง “ทิพยประกันภัย” ตั้งทีมบริหารหากรัฐบาลใหม่เห็นด้วย ย้ำสิทธิประโยชน์ต้องไม่ต่ำกว่าเดิม ระบุช่วยรัฐบาลอุดช่องโหว่ขบวนการทุจริตเบิกค่ารักษาพยาบาลเกินจริงและสร้างวินัยทางการคลังที่ดี
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมบัญชีกลางได้ศึกษาแนวทางการให้บริษัทประกันเอกชนเข้ารับประกันค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยแล้ว เบื้องต้นคาดตั้งงบประมาณไว้ 6 หมื่นล้านบาทต่อปีเท่ากับงบประมาณค่ารักษาพยาบาลเดิม คาดว่าจะให้บริษัทเอกชนเข้ามาประมูลรับไปดำเนินงาน โดยอาจจะแบ่งการรับประกันออกไปหลายๆ บริษัท ทั้งนี้เมื่อมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศแล้ว กรมบัญชีกลางจะเสนอให้รมว.คลังพิจารณาต่อไป
“กรมบัญชีกลางได้ร่วมกับสมาคมประกันชีวิตไทยและบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด(มหาชน) TIP ศึกษาแนวทางดังกล่าว เพื่อจะได้จำกัดวงเงินงบประมาณให้อยู่ในแผนได้ที่ 60,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีการเบิกจ่ายเกินวงเงินทุกปีไปถึง 8 - 9 หมื่นล้านบาท โดยรูปแบบในการประกันนั้น อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละแนวทางของบริษัท แต่มีเงื่อนไขว่า ในการให้เอกชนเข้ามาบริหารค่ารักษาพยาบาลแทนนั้น ต้องไม่ทำให้สิทธิประโยชน์เดิมที่ข้าราชการได้รับอยู่ในปัจจุบันลดลงไปแต่อย่างใด” นายรังสรรค์กล่าว
ทั้งนี้ ช่วง 8 เดือนของปีงบประมาณ 54 ที่ผ่านมานั้น มีการเบิกจ่ายยาและค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการไปแล้วทั้งสิ้นกว่า 4 หมื่นล้านบาท จากที่ตั้งงบประมาณปีนี้อยู่ที่ 6.2 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ถือว่าเบิกจ่ายลดลง หรือมีอัตราเริ่มคงที่ เนื่องจากการควบคุมการเบิกจ่ายยาที่รัดกุมเพิ่มมากขึ้น เป็นผลดีทางด้านจิตวิทยาที่ช่วยลดการทุจริตด้วย
“ยอดการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลพุ่งขึ้นทุกปี เฉลี่ยปีละ 20-25% ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมีกว่า 5 - 6 หมื่นล้านบาท หากไม่ควบคุมการเบิกจ่ายส่วนนี้ ประเมินว่า ยอดการเบิกจ่ายรักษาพยาบาลจะทะลุถึง 1 แสนล้านบาทในแต่ละปี ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การจัดทำงบประมาณสมดุลไม่เป็นไปตามเป้าหมายด้วย” นายรังสรรค์กล่าว
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมบัญชีกลางได้ศึกษาแนวทางการให้บริษัทประกันเอกชนเข้ารับประกันค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยแล้ว เบื้องต้นคาดตั้งงบประมาณไว้ 6 หมื่นล้านบาทต่อปีเท่ากับงบประมาณค่ารักษาพยาบาลเดิม คาดว่าจะให้บริษัทเอกชนเข้ามาประมูลรับไปดำเนินงาน โดยอาจจะแบ่งการรับประกันออกไปหลายๆ บริษัท ทั้งนี้เมื่อมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศแล้ว กรมบัญชีกลางจะเสนอให้รมว.คลังพิจารณาต่อไป
“กรมบัญชีกลางได้ร่วมกับสมาคมประกันชีวิตไทยและบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด(มหาชน) TIP ศึกษาแนวทางดังกล่าว เพื่อจะได้จำกัดวงเงินงบประมาณให้อยู่ในแผนได้ที่ 60,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีการเบิกจ่ายเกินวงเงินทุกปีไปถึง 8 - 9 หมื่นล้านบาท โดยรูปแบบในการประกันนั้น อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละแนวทางของบริษัท แต่มีเงื่อนไขว่า ในการให้เอกชนเข้ามาบริหารค่ารักษาพยาบาลแทนนั้น ต้องไม่ทำให้สิทธิประโยชน์เดิมที่ข้าราชการได้รับอยู่ในปัจจุบันลดลงไปแต่อย่างใด” นายรังสรรค์กล่าว
ทั้งนี้ ช่วง 8 เดือนของปีงบประมาณ 54 ที่ผ่านมานั้น มีการเบิกจ่ายยาและค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการไปแล้วทั้งสิ้นกว่า 4 หมื่นล้านบาท จากที่ตั้งงบประมาณปีนี้อยู่ที่ 6.2 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ถือว่าเบิกจ่ายลดลง หรือมีอัตราเริ่มคงที่ เนื่องจากการควบคุมการเบิกจ่ายยาที่รัดกุมเพิ่มมากขึ้น เป็นผลดีทางด้านจิตวิทยาที่ช่วยลดการทุจริตด้วย
“ยอดการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลพุ่งขึ้นทุกปี เฉลี่ยปีละ 20-25% ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมีกว่า 5 - 6 หมื่นล้านบาท หากไม่ควบคุมการเบิกจ่ายส่วนนี้ ประเมินว่า ยอดการเบิกจ่ายรักษาพยาบาลจะทะลุถึง 1 แสนล้านบาทในแต่ละปี ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การจัดทำงบประมาณสมดุลไม่เป็นไปตามเป้าหมายด้วย” นายรังสรรค์กล่าว