กรมบัญชีกลาง คุมค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 7 หมื่นล้าน ในงบปี 2554 เล็งยกเลิกเบิกยานอกบัญชี 8 กลุ่มเป้าหมาย
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2554 นี้ กรมมีแผนควบคุมรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลไม่ให้เบิกจ่ายเกิน 7 หมื่นล้านบาท จากปีงบประมาณก่อนที่เบิกจ่ายรวม 6.4 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ จะมีการพิจารณายกเลิกการเบิกจ่ายยานอกบัญชีเพิ่มเติมในอีก 8 กลุ่มเป้าหมาย จากที่มีทั้งหมด 9 กลุ่ม ตามข้อมูลที่กระทรวงสาธารณสุขส่งให้
“หากทำทั้ง 9 กลุ่ม จะประหยัดงบได้ 4,851 ล้านบาท เพราะการใช้ยาในบัญชียาหลักจะมีราคาถูกกว่าหลายเท่าตัว”
นายรังสรรค์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา การควบคุมค่ารักษาพยาบาลทำได้ลำบาก ตัวอย่างเช่น การเหมาจ่ายรักษาเป็นโรคในกรณีข้าราชการไปรักษาในโรงพยาบาลเอกชน แต่ก็มีช่องว่างของระเบียบ ทำให้โรงพยาบาลสามารถสั่งให้ผู้ป่วยไปซื้อยานอกโรงพยาบาลมารักษาได้ ในกรณีที่ไม่มียาดังกล่าวทำให้ค่ารักษาสูงเหมือนเดิม ซึ่งจะห้ามก็ทำไม่ได้ ส่วนการศึกษาให้บริษัทประกันเอกชนมาดูแลก็ยังไม่มีข้อสรุป
อย่างไรก็ดี ขณะนี้กรมบัญชีกลางได้ให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ศึกษาออกแบบประกันสุขภาพสำหรับข้าราชการ (เมดิคัลเซฟ) ซึ่งรูปแบบเบื้องต้นเป็นแบบที่สิงคโปร์ใช้อยู่ โดยข้าราชการจะต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นด้วย ทำให้ข้าราชการลดการไปรักษาที่ไม่จำเป็นมากขึ้น ทั้งนี้คาดว่าจะได้ข้อสรุปเดือน เม.ย.
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2554 นี้ กรมมีแผนควบคุมรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลไม่ให้เบิกจ่ายเกิน 7 หมื่นล้านบาท จากปีงบประมาณก่อนที่เบิกจ่ายรวม 6.4 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ จะมีการพิจารณายกเลิกการเบิกจ่ายยานอกบัญชีเพิ่มเติมในอีก 8 กลุ่มเป้าหมาย จากที่มีทั้งหมด 9 กลุ่ม ตามข้อมูลที่กระทรวงสาธารณสุขส่งให้
“หากทำทั้ง 9 กลุ่ม จะประหยัดงบได้ 4,851 ล้านบาท เพราะการใช้ยาในบัญชียาหลักจะมีราคาถูกกว่าหลายเท่าตัว”
นายรังสรรค์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา การควบคุมค่ารักษาพยาบาลทำได้ลำบาก ตัวอย่างเช่น การเหมาจ่ายรักษาเป็นโรคในกรณีข้าราชการไปรักษาในโรงพยาบาลเอกชน แต่ก็มีช่องว่างของระเบียบ ทำให้โรงพยาบาลสามารถสั่งให้ผู้ป่วยไปซื้อยานอกโรงพยาบาลมารักษาได้ ในกรณีที่ไม่มียาดังกล่าวทำให้ค่ารักษาสูงเหมือนเดิม ซึ่งจะห้ามก็ทำไม่ได้ ส่วนการศึกษาให้บริษัทประกันเอกชนมาดูแลก็ยังไม่มีข้อสรุป
อย่างไรก็ดี ขณะนี้กรมบัญชีกลางได้ให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ศึกษาออกแบบประกันสุขภาพสำหรับข้าราชการ (เมดิคัลเซฟ) ซึ่งรูปแบบเบื้องต้นเป็นแบบที่สิงคโปร์ใช้อยู่ โดยข้าราชการจะต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นด้วย ทำให้ข้าราชการลดการไปรักษาที่ไม่จำเป็นมากขึ้น ทั้งนี้คาดว่าจะได้ข้อสรุปเดือน เม.ย.