ธปท.เชื่อไทยพาณิชย์ปล่อยกู้ทรูไม่มีปัญหา เหตุฐานะแข็งแกร่ง ถึงมีก็เจรจาผ่อนปรนได้ ยันแบงก์แข่งดุ ปล่อยกู้รายใหญ่แต่ความเสี่ยงยังต่ำ ออกแล้วเกณฑ์ให้บริการสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ รายละไม่เกิน 2 แสนบาท ดอกเบี้ย 28% เท่ากับสินเชื่อส่วนบุคคล เริ่ม 1 มิ.ย.นี้
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยกรณีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) ปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ให้แก่บริษัทโทรคมนาคมจำนวน 6,300 ล้านบาท แล้วมีกรณีพิพาทในชั้นศาลเกี่ยวกับการเซ็นสัญญาโครงการรัฐ ว่า ธปท.ได้ทำการตรวจสอบแล้ว พบว่าลูกค้ามีฐานะทางการเงินที่ดีและยังมีการจ่ายชำระหนี้และดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง
"หากต่อไปเกิดมีปัญหาเกิดขึ้น ธนาคารก็สามารถเจรจากับลูกค้าในการผ่อนปรนเงื่อนไขให้ได้ อาทิ วิธีการปรับโครงสร้าง ยืดระยะเวลาชำระหนี้ รวมไปถึงปรับวงเงินผ่อนชำระ"
นายสรสิทธิ์ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้แบงก์มีการแข่งขันปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ แต่ยังไม่พบความเสี่ยงต่อการวิเคราะห์สินเชื่อ เนื่องจากสถานะสินเชื่อรายใหญ่ทุกรายยังเป็นปกติและไม่มีรายใดขาดส่งการจ่ายอัตราดอกเบี้ย ธนาคารพาณิชย์เข้าใจดีว่า ธปท.มีความเป็นห่วง และ ธปท.มีหลักเกณฑ์กำหนดให้การปล่อยสินเชื่อต้องมีการตั้งสำรอง 1% อยู่แล้ว
ทั้งนี้ ธปท.ไม่ได้ดูเป็นรายโครงการ แต่จะดูเป็นภาพรวม และหากสินเชื่อรายใหญ่เกิดปัญหาขึ้นก็เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อฐานะของธนาคารพาณิชย์ในระบบ เนื่องจากปัจจุบันเงินสำรองหนี้สงสัยจะสูญของธนาคารพาณิชย์ในระบบมีสัดส่วนที่สูงเกินกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ
รายงานข่าวระบุว่า ไทยพาณิชย์ปล่อยกู้ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) ไปแล้ว 6.3 พันล้านบาท ยังมีวงเงินที่ทรูเตรียมเบิกอีกกว่า 2 หมื่นล้านบาท ท่ามกลางปัญหาคู่กรณีฟ้องร้องต่อศาลขอคุ้มครองชั่วคราวสัญญา กสท.กับทรู แต่ล่าสุดศาลปกครองจะมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอคุ้มครองฯ ไปแล้ว
**ออกเกณฑ์ปล่อยกู้ไมโครไฟแนนซ์
รายงานข่าวจาก ธปท.แจ้งว่า นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธปท.ได้ลงนามในประกาศออกแนวทางปฏิบัติการให้สินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ของธนาคารพาณิชย์ทั่วไปรับทราบและมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.นี้เป็นต้นไป โดยสาระสำคัญกำหนดให้ธนาคารสามารถปล่อยกู้ให้แก่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพเท่านั้นและให้วงเงินสินเชื่อแต่ละรายไม่เกิน 200,000 บาท เพื่อส่งเสริมการแข่งขัน การเข้าถึงบริการทางการเงิน และต้องการให้สินเชื่อประเภทนี้เพิ่มความคล่องตัวให้แก่ประชาชนมากขึ้น
สำหรับสินเชื่อประเภทนีนี้คิดอัตราดอกเบี้ย 28%ต่อปี เช่นเดียวกับสินเชื่อส่วนบุคคล ขณะเดียวกันธนาคารสามารถคิดค่าบริการ ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายต่างๆตามความเป็นจริงและสมเหตุสมผล อาทิ ค่าใช้จ่ายที่ธนาคารต้องจ่ายให้แก่หน่วยงานราชการ บุคคลอื่นหรือหน่วยงานภายนอก ซึ่งต้องมีหลักฐานการชำระเงินที่สามารถตรวจสอบได้ ค่าใช้จ่ายมีผลให้ต้นทุนการดำเนินงานของธนาคารเพิ่มขึ้นจากการให้บริการดังกล่าว หรือการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ใช้บริการแล้วแต่กรณี โดยแต่ละธนาคารต้องประกาศเพดานอัตราค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บได้เฉพาะตามที่ธปท.กำหนดไว้
“หากเกิดกรณีลูกค้าเกิดชำระหนี้ล่าช้ากว่ากำหนด ธนาคารสามารถเรียกเก็บดอกเบี้ยในหนี้ค้างชำระ หรือดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดชำระหนี้ หรือค่าบริการต่างๆ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 28%ต่อปี อีกทั้งอัตราเรียกเก็บค่าใช้จ่ายประเภทเดียวกันเก็บซ้ำซ้อนไม่ได้และธนาคารต้องไม่นำดอกเบี้ย ค่าบริการต่างๆ เบี้ยปรับและค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปจริงตามเหตุสมควรมารวมกับจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ เพื่อคิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับอีก”
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยกรณีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) ปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ให้แก่บริษัทโทรคมนาคมจำนวน 6,300 ล้านบาท แล้วมีกรณีพิพาทในชั้นศาลเกี่ยวกับการเซ็นสัญญาโครงการรัฐ ว่า ธปท.ได้ทำการตรวจสอบแล้ว พบว่าลูกค้ามีฐานะทางการเงินที่ดีและยังมีการจ่ายชำระหนี้และดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง
"หากต่อไปเกิดมีปัญหาเกิดขึ้น ธนาคารก็สามารถเจรจากับลูกค้าในการผ่อนปรนเงื่อนไขให้ได้ อาทิ วิธีการปรับโครงสร้าง ยืดระยะเวลาชำระหนี้ รวมไปถึงปรับวงเงินผ่อนชำระ"
นายสรสิทธิ์ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้แบงก์มีการแข่งขันปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ แต่ยังไม่พบความเสี่ยงต่อการวิเคราะห์สินเชื่อ เนื่องจากสถานะสินเชื่อรายใหญ่ทุกรายยังเป็นปกติและไม่มีรายใดขาดส่งการจ่ายอัตราดอกเบี้ย ธนาคารพาณิชย์เข้าใจดีว่า ธปท.มีความเป็นห่วง และ ธปท.มีหลักเกณฑ์กำหนดให้การปล่อยสินเชื่อต้องมีการตั้งสำรอง 1% อยู่แล้ว
ทั้งนี้ ธปท.ไม่ได้ดูเป็นรายโครงการ แต่จะดูเป็นภาพรวม และหากสินเชื่อรายใหญ่เกิดปัญหาขึ้นก็เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อฐานะของธนาคารพาณิชย์ในระบบ เนื่องจากปัจจุบันเงินสำรองหนี้สงสัยจะสูญของธนาคารพาณิชย์ในระบบมีสัดส่วนที่สูงเกินกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ
รายงานข่าวระบุว่า ไทยพาณิชย์ปล่อยกู้ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) ไปแล้ว 6.3 พันล้านบาท ยังมีวงเงินที่ทรูเตรียมเบิกอีกกว่า 2 หมื่นล้านบาท ท่ามกลางปัญหาคู่กรณีฟ้องร้องต่อศาลขอคุ้มครองชั่วคราวสัญญา กสท.กับทรู แต่ล่าสุดศาลปกครองจะมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอคุ้มครองฯ ไปแล้ว
**ออกเกณฑ์ปล่อยกู้ไมโครไฟแนนซ์
รายงานข่าวจาก ธปท.แจ้งว่า นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธปท.ได้ลงนามในประกาศออกแนวทางปฏิบัติการให้สินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ของธนาคารพาณิชย์ทั่วไปรับทราบและมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.นี้เป็นต้นไป โดยสาระสำคัญกำหนดให้ธนาคารสามารถปล่อยกู้ให้แก่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพเท่านั้นและให้วงเงินสินเชื่อแต่ละรายไม่เกิน 200,000 บาท เพื่อส่งเสริมการแข่งขัน การเข้าถึงบริการทางการเงิน และต้องการให้สินเชื่อประเภทนี้เพิ่มความคล่องตัวให้แก่ประชาชนมากขึ้น
สำหรับสินเชื่อประเภทนีนี้คิดอัตราดอกเบี้ย 28%ต่อปี เช่นเดียวกับสินเชื่อส่วนบุคคล ขณะเดียวกันธนาคารสามารถคิดค่าบริการ ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายต่างๆตามความเป็นจริงและสมเหตุสมผล อาทิ ค่าใช้จ่ายที่ธนาคารต้องจ่ายให้แก่หน่วยงานราชการ บุคคลอื่นหรือหน่วยงานภายนอก ซึ่งต้องมีหลักฐานการชำระเงินที่สามารถตรวจสอบได้ ค่าใช้จ่ายมีผลให้ต้นทุนการดำเนินงานของธนาคารเพิ่มขึ้นจากการให้บริการดังกล่าว หรือการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ใช้บริการแล้วแต่กรณี โดยแต่ละธนาคารต้องประกาศเพดานอัตราค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บได้เฉพาะตามที่ธปท.กำหนดไว้
“หากเกิดกรณีลูกค้าเกิดชำระหนี้ล่าช้ากว่ากำหนด ธนาคารสามารถเรียกเก็บดอกเบี้ยในหนี้ค้างชำระ หรือดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดชำระหนี้ หรือค่าบริการต่างๆ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 28%ต่อปี อีกทั้งอัตราเรียกเก็บค่าใช้จ่ายประเภทเดียวกันเก็บซ้ำซ้อนไม่ได้และธนาคารต้องไม่นำดอกเบี้ย ค่าบริการต่างๆ เบี้ยปรับและค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปจริงตามเหตุสมควรมารวมกับจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ เพื่อคิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับอีก”