บลจ.ฟินันซ่า มั่นใจพันธบัตรฝอยทองน่าสนใจกว่าพันธบัตรในประเทศ ส่งกองทุน "ฟินันซ่าตราสารหนี้ต่างประเทศ 11เดือน5" ลงทุนพันธบัตรโปรตุเกส 11 เดือนให้ผลตอบแทนถึง 4.1% เตรียมเปิดขายไอพีโอตั้งแต่วันที่ 9 -15 มีนาคม 54 นี้
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด กล่าวว่า บลจ.มองว่าพันธบัตรของโปรตุเกสมีความน่าสนใจเพราะมีหลายปัจจัยสนับสนุน ทั้งภาคการเงินการธนาคารยังแข็งแกร่ง ภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศโปรตุเกสมีแนวโน้มทรงตัว โดยตัวเลขการว่างงานล่าสุดเดือน มกราคม 2554 ยังคงอยู่ในระดับ 11.20 % เท่า กับเดือน ธค.2553 ขณะที่รัฐบาลได้เริ่มใช้มาตราการที่เข้มงวดทั้งในด้านการลดการจ้างงานในภาครัฐตลอดจนลดสวัสดิการต่าง ๆ เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณในปี 2554 ให้อยู่ในระดับ 4.60 % ของ GDP ตามที่ได้ให้ไว้กับสมาชิกกลุ่ม EU
ทางด้านอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรประเทศโปรตุเกส อายุไม่เกิน 1 ปี ในรูปสกุลเงิน ยูโร ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันยังคงทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 4.05% ) และค่าความเสี่ยงจากผิดนัดชำระหนี้ (Credit Default Swap ,CDS ) ประเภท 1 ปีปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากต้นปีที่ระดับ 3.50 % ต่อปี เป็น 3.20 % ต่อปี (สูงสุดตั้งแต่ต้นปี ที่ 3.88 % ) นอกจากนี้ตลาดส่วนใหญ่รอดูผลการประชุมของสมาชิกกลุ่มประเทศยุโรป ที่จะมีการประชุมในช่วงวันที่ 24-25 มีนาคม 2554 นี้ โดยนักลงทุนจับตาดูว่าจะมีมาตราการใหม่ ๆ จากการประชุมดังกล่าวหรือไม่
โดยประเด็นหลักที่นักลงทุนสนใจเช่น การเพิ่มความยืดหยุ่นของกองทุนเสถียรภาพทางการเงินของยูโร หรือ กองทุน EFSF ที่มีกองทุนประมาณ 400 กว่าล้านยูโร (หมดอายุปี 2556 ) สามารถเข้าซื้อพันธบัตรของรัฐบาลของประเทศที่มีปัญหาหนี้สินสาธารณะโดยตรง ได้หรือไม่ หรือ จะมีการเพิ่มขนาดของกองทุนดังกล่าวให้พอเพียงรองรับกรณีมีการขอใช้วงเงินฉุน เฉินจากประเทศที่มีปัญหา โปรตุเกสหรือสเปนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนหรือผู้ให้กู้ยืมมี ความมั่นใจมากขึ้น ตลอดจนตลาดยังรอดูรายละเอียดเงื่อนไขของกองทุนใหม่ที่เรียกว่า European Stability Mechanism (ESM) ที่จะจัดตั้งขึ้นภายหลังที่กองทุน EFSF ได้ หมดอายุลง ว่าจะมีเงื่อนให้ผู้ถือพันธบัตรของประเทศที่มีปัญหาหนี้สินภาครัฐมีส่วนร่วม ในความเสียหายหรือการปรับโครงสร้างหนี้ของประเทศดังกล่าวด้วยหรือไม่ ตามที่นายกรัฐมนตรีของประเทศเยอมันได้เคยกล่าวถึงหรือไม่
ทั้งนี้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้อัตราผลตอบแทนระยะสั้นของพันธบัตรโปรตุเกสยังคงทรง ตัวตั้งแต่ต้นปี โดยล่าสุดรัฐบาลโปรตุเกสยังคงมีความสามารถออกพันธบัตรระยะสั้นอายุ 6 เดือน และ 1 ปี ในวันที่ 2 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมาในตลาดเงินได้โดยอัตราผลตอบแทนในรูปสกุลเงินยูโรอายุ 6 เดือนอยู่ที่ 2.98 %ต่อปี และประเภท 1 ปี อยู่ที่ 4.05 % ต่อปี โดยมีนักลงทุนให้ความสนใจเข้าประมูลถึง 2.6 เท่าและ 3.01 เท่าตามลำดับ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาลโปรตุเกสยังคงอยู่ในระดับทีดี
นายธีรพันธุ์ กล่าวต่อว่า สำหรับกองตราสารหนี้ระยะสั้นในประเทศกำลังเป็นที่นิยมเนื่องจากการคาดการแนวโน้มดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยประมาณการผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้นจะเกาะกลุ่มอยู่ที่ 2 % โดยประมาณ ซึ่งทางบลจ.ฟินันซ่าเอง จึงส่งกองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้ต่างประเทศ 11เดือน5 (FAM FFI 11M5) อายุโครงการ 11 เดือนให้ประมาณการผลตอบแทนถึง 4.1 % โดยกองทุนดังกล่าวจะลงทุนในตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรของรัฐบาลโปรตุเกสประมาณ 98 %
ส่วนที่เหลือจะเป็นตั๋วเงินหรือเงินฝากธนาคารธนาคารพาณิชย์ในประเทศ กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศและอยากได้ผล ตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากธนาคารหรือตราสารหนี้ระยะสั้น ๆ ภายในประเทศ โดยอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรของรัฐบาลโปรตุเกสถูกจัดอันดับอยู่สูง กว่าของไทยอีกด้วย (โปรตุเกส F1, ไทย BBB+, Fitch rating) และจะเปิดขายหน่วยลงทุนในวันที่ 9 -15 มีนาคม 2554 นี้ ซึ่งเมื่อกองทุนดังกล่าวครบอายุโครงการ จะสับเปลี่ยนเงินลงทุนไปยังกองทุนตลาดเงินเพื่อให้ผู้ลงทุนมีโอกาสรับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นผู้สนใจกองทุนของ
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด กล่าวว่า บลจ.มองว่าพันธบัตรของโปรตุเกสมีความน่าสนใจเพราะมีหลายปัจจัยสนับสนุน ทั้งภาคการเงินการธนาคารยังแข็งแกร่ง ภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศโปรตุเกสมีแนวโน้มทรงตัว โดยตัวเลขการว่างงานล่าสุดเดือน มกราคม 2554 ยังคงอยู่ในระดับ 11.20 % เท่า กับเดือน ธค.2553 ขณะที่รัฐบาลได้เริ่มใช้มาตราการที่เข้มงวดทั้งในด้านการลดการจ้างงานในภาครัฐตลอดจนลดสวัสดิการต่าง ๆ เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณในปี 2554 ให้อยู่ในระดับ 4.60 % ของ GDP ตามที่ได้ให้ไว้กับสมาชิกกลุ่ม EU
ทางด้านอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรประเทศโปรตุเกส อายุไม่เกิน 1 ปี ในรูปสกุลเงิน ยูโร ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันยังคงทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 4.05% ) และค่าความเสี่ยงจากผิดนัดชำระหนี้ (Credit Default Swap ,CDS ) ประเภท 1 ปีปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากต้นปีที่ระดับ 3.50 % ต่อปี เป็น 3.20 % ต่อปี (สูงสุดตั้งแต่ต้นปี ที่ 3.88 % ) นอกจากนี้ตลาดส่วนใหญ่รอดูผลการประชุมของสมาชิกกลุ่มประเทศยุโรป ที่จะมีการประชุมในช่วงวันที่ 24-25 มีนาคม 2554 นี้ โดยนักลงทุนจับตาดูว่าจะมีมาตราการใหม่ ๆ จากการประชุมดังกล่าวหรือไม่
โดยประเด็นหลักที่นักลงทุนสนใจเช่น การเพิ่มความยืดหยุ่นของกองทุนเสถียรภาพทางการเงินของยูโร หรือ กองทุน EFSF ที่มีกองทุนประมาณ 400 กว่าล้านยูโร (หมดอายุปี 2556 ) สามารถเข้าซื้อพันธบัตรของรัฐบาลของประเทศที่มีปัญหาหนี้สินสาธารณะโดยตรง ได้หรือไม่ หรือ จะมีการเพิ่มขนาดของกองทุนดังกล่าวให้พอเพียงรองรับกรณีมีการขอใช้วงเงินฉุน เฉินจากประเทศที่มีปัญหา โปรตุเกสหรือสเปนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนหรือผู้ให้กู้ยืมมี ความมั่นใจมากขึ้น ตลอดจนตลาดยังรอดูรายละเอียดเงื่อนไขของกองทุนใหม่ที่เรียกว่า European Stability Mechanism (ESM) ที่จะจัดตั้งขึ้นภายหลังที่กองทุน EFSF ได้ หมดอายุลง ว่าจะมีเงื่อนให้ผู้ถือพันธบัตรของประเทศที่มีปัญหาหนี้สินภาครัฐมีส่วนร่วม ในความเสียหายหรือการปรับโครงสร้างหนี้ของประเทศดังกล่าวด้วยหรือไม่ ตามที่นายกรัฐมนตรีของประเทศเยอมันได้เคยกล่าวถึงหรือไม่
ทั้งนี้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้อัตราผลตอบแทนระยะสั้นของพันธบัตรโปรตุเกสยังคงทรง ตัวตั้งแต่ต้นปี โดยล่าสุดรัฐบาลโปรตุเกสยังคงมีความสามารถออกพันธบัตรระยะสั้นอายุ 6 เดือน และ 1 ปี ในวันที่ 2 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมาในตลาดเงินได้โดยอัตราผลตอบแทนในรูปสกุลเงินยูโรอายุ 6 เดือนอยู่ที่ 2.98 %ต่อปี และประเภท 1 ปี อยู่ที่ 4.05 % ต่อปี โดยมีนักลงทุนให้ความสนใจเข้าประมูลถึง 2.6 เท่าและ 3.01 เท่าตามลำดับ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาลโปรตุเกสยังคงอยู่ในระดับทีดี
นายธีรพันธุ์ กล่าวต่อว่า สำหรับกองตราสารหนี้ระยะสั้นในประเทศกำลังเป็นที่นิยมเนื่องจากการคาดการแนวโน้มดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยประมาณการผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้นจะเกาะกลุ่มอยู่ที่ 2 % โดยประมาณ ซึ่งทางบลจ.ฟินันซ่าเอง จึงส่งกองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้ต่างประเทศ 11เดือน5 (FAM FFI 11M5) อายุโครงการ 11 เดือนให้ประมาณการผลตอบแทนถึง 4.1 % โดยกองทุนดังกล่าวจะลงทุนในตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรของรัฐบาลโปรตุเกสประมาณ 98 %
ส่วนที่เหลือจะเป็นตั๋วเงินหรือเงินฝากธนาคารธนาคารพาณิชย์ในประเทศ กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศและอยากได้ผล ตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากธนาคารหรือตราสารหนี้ระยะสั้น ๆ ภายในประเทศ โดยอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรของรัฐบาลโปรตุเกสถูกจัดอันดับอยู่สูง กว่าของไทยอีกด้วย (โปรตุเกส F1, ไทย BBB+, Fitch rating) และจะเปิดขายหน่วยลงทุนในวันที่ 9 -15 มีนาคม 2554 นี้ ซึ่งเมื่อกองทุนดังกล่าวครบอายุโครงการ จะสับเปลี่ยนเงินลงทุนไปยังกองทุนตลาดเงินเพื่อให้ผู้ลงทุนมีโอกาสรับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นผู้สนใจกองทุนของ