คลังเผย 3 แบงก์รัฐ พร้อมเปิดโครงการปรับโครงสร้างหนี้บัตรเครดิตวันนี้ “ออมสิน” เปิดวงเงินให้ลูกหนี้รายละไม่เกิน 3 แสนบาท คิดอัตราดอกเบี้ย 10% ต่อปี
นายอารีพงษ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง แถลงข่าวเปิด “โครงการแก้หนี้บัตรเครดิต” ในวันนี้ โดย 3 สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการปล่อยกู้ตามโครงการเพื่อดูแลลูกหนี้บัตรเครดิตที่มีประวัติการชำระเงินดี โอนหนี้มาใช้บริการกับธนาคารทั้ง 3 แห่ง ในอัตราดอกเบี้นที่ต่ำกว่าที่เดิม
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า วันนี้ ธนาคารพร้อมเปิดให้บริการรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิตจากธนาคารพาณิชย์ และผู้ออกบัตรเครดิตที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนและบรรเทาความเดือดร้อนจากอัตราดอกเบี้ยแพงของบัตรเครดิต เงื่อนไขในการรีไฟแนนซ์ ประกอบด้วย
1.ต้องไม่ติดเครดิตบูโร 2.เมื่อรีไฟแนนซ์มาแล้ว จะไม่มีสิทธิ์ในการถือบัตรเครดิตธนาคารออมสิน เป็นระยะเวลา 1 ปี และ 3.ต้องผ่านหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์สินเชื่อของธนาคาร ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว ทางธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยกับผู้ที่มารีไฟแนนซ์เพียง 10% ต่อปี ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของภาคเอกชนประมาณ 10% ถือว่าช่วยลดภาระดอกเบี้ยจ่ายจำนวนมาก
ส่วนวงเงินที่รับรีไฟแนนซ์จะไม่เกินรายละ 3 แสนบาท โดยคาดว่าจะมียอดหนี้บัตรเครดิตที่มารีไฟแนนซ์เฉลี่ยต่อรายประมาณ 1 แสนบาท เพราะประสบการณ์ของธนาคารออมสินในการแก้ไขหนี้นอกระบบตามโครงการประชาวิวัฒน์ที่ตั้งไว้รายละไม่เกิน 2 แสนบาท ปรากฏว่า มียอดกู้เฉลี่ยต่อรายเพียง 4 หมื่นบาทเท่านั้น แสดงให้เห็นว่า คนเหล่านี้ไม่ต้องการที่จะมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น แต่ต้องการเข้ามาแก้หนี้มากกว่า
คาดรีไฟแนนซ์กับแบงก์ 1 หมื่นล้าน
นายเลอศักดิ์ ประเมินว่า จากยอดหนี้บัตรเครดิตทั้งระบบจำนวน 1.5-1.6 แสนล้านบาท คาดว่าจะมีประชาชนมารีไฟแนนซ์บัตรเครดิตกับธนาคารออมสินประมาณ 1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น เพราะวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ ไม่ได้ต้องการยอดเงินจำนวนมากๆ แต่ต้องการบอกให้ภาคเอกชนที่ออกบัตรเครดิตช่วยดูแลลูกค้าของตัวเอง และต้องพยายามที่จะรักษาฐานลูกค้าและรายได้ของตัวเองเอาไว้ ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยลงมาไม่ใช่ปล่อยไว้นิ่งๆ ไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ เพื่อทำกำไรเพียงอย่างเดียว
กรุงไทยพร้อมทุกสาขาทั่วประเทศ
นางจิรารักษ์ กุลสิงห์ ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธนาคารได้ทำการส่งรายละเอียด รวมถึงขั้นตอนในการปฏิบัติงานต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ในการรองรับการทำธุรกรรมการรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิตของโครงการรัฐบาล ผ่านระบบ Intranet ของธนาคารกรุงไทยไปยังทุกสาขาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้รับทราบว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง และจะเปิดให้บริการได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2554 เป็นต้นไป
เบื้องต้นได้กำหนดคุณสมบัติของลูกหนี้ที่มาทำการรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตเอาไว้ ต้องเป็นลูกหนี้ดีเท่านั้น ที่มีการผ่อนชำระปกติทุกเดือน ต้องนำหลักฐานเอกสารอันประกอบไปด้วย สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำนำทะเบียนบ้าน เอกสารใบแจ้งหนี้ฉบับจริง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2554 หากผู้มาทำการรีไฟแนนซ์ทำเอกสารเหล่านี้หายให้ไปติดต่อยังธนาคาร หรือบริษัท ผู้ที่ออกบัตรทำการออกเอกสารใหม่
“หลักเกณฑ์การให้สินเชื่อ เราก็ให้ได้ไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ ตามเกณฑ์ของแบงก์ชาติ และให้ตามความสามารถในการชำระหนี้ และสำหรับโครงการนี้ให้สินเชื่อไม่เกิน 300,000 บาท ต่อราย ซึ่งเรื่องนี้เรามองว่ามีความเสี่ยงเช่นกันเพราะเป็นการให้สินเชื่อ และเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล ที่ไม่มีหลักประกัน ดังนั้นจึงต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ดเหมือนกับสินเชื่อทั่วไปเพื่อให้รับทราบแม้ว่าจะเป็นโครงการของรัฐก็ตาม”
ส่วนการทำการตลาดนั้น รัฐบาลจะเป็นสื่อกลางในการดำเนินการทั้งหมด เพราะโครงการนี้ได้มีแบงก์รัฐ 3 แห่งเป็นผู้ดำเนินการ ประกอบด้วย ธนาคารอิสลาม ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย ซึ่งวงเงินที่ธนาคารกรุงไทยได้รับมอบหมาย คือ 4.5 พันล้านบาท
นายอารีพงษ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง แถลงข่าวเปิด “โครงการแก้หนี้บัตรเครดิต” ในวันนี้ โดย 3 สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการปล่อยกู้ตามโครงการเพื่อดูแลลูกหนี้บัตรเครดิตที่มีประวัติการชำระเงินดี โอนหนี้มาใช้บริการกับธนาคารทั้ง 3 แห่ง ในอัตราดอกเบี้นที่ต่ำกว่าที่เดิม
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า วันนี้ ธนาคารพร้อมเปิดให้บริการรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิตจากธนาคารพาณิชย์ และผู้ออกบัตรเครดิตที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนและบรรเทาความเดือดร้อนจากอัตราดอกเบี้ยแพงของบัตรเครดิต เงื่อนไขในการรีไฟแนนซ์ ประกอบด้วย
1.ต้องไม่ติดเครดิตบูโร 2.เมื่อรีไฟแนนซ์มาแล้ว จะไม่มีสิทธิ์ในการถือบัตรเครดิตธนาคารออมสิน เป็นระยะเวลา 1 ปี และ 3.ต้องผ่านหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์สินเชื่อของธนาคาร ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว ทางธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยกับผู้ที่มารีไฟแนนซ์เพียง 10% ต่อปี ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของภาคเอกชนประมาณ 10% ถือว่าช่วยลดภาระดอกเบี้ยจ่ายจำนวนมาก
ส่วนวงเงินที่รับรีไฟแนนซ์จะไม่เกินรายละ 3 แสนบาท โดยคาดว่าจะมียอดหนี้บัตรเครดิตที่มารีไฟแนนซ์เฉลี่ยต่อรายประมาณ 1 แสนบาท เพราะประสบการณ์ของธนาคารออมสินในการแก้ไขหนี้นอกระบบตามโครงการประชาวิวัฒน์ที่ตั้งไว้รายละไม่เกิน 2 แสนบาท ปรากฏว่า มียอดกู้เฉลี่ยต่อรายเพียง 4 หมื่นบาทเท่านั้น แสดงให้เห็นว่า คนเหล่านี้ไม่ต้องการที่จะมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น แต่ต้องการเข้ามาแก้หนี้มากกว่า
คาดรีไฟแนนซ์กับแบงก์ 1 หมื่นล้าน
นายเลอศักดิ์ ประเมินว่า จากยอดหนี้บัตรเครดิตทั้งระบบจำนวน 1.5-1.6 แสนล้านบาท คาดว่าจะมีประชาชนมารีไฟแนนซ์บัตรเครดิตกับธนาคารออมสินประมาณ 1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น เพราะวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ ไม่ได้ต้องการยอดเงินจำนวนมากๆ แต่ต้องการบอกให้ภาคเอกชนที่ออกบัตรเครดิตช่วยดูแลลูกค้าของตัวเอง และต้องพยายามที่จะรักษาฐานลูกค้าและรายได้ของตัวเองเอาไว้ ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยลงมาไม่ใช่ปล่อยไว้นิ่งๆ ไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ เพื่อทำกำไรเพียงอย่างเดียว
กรุงไทยพร้อมทุกสาขาทั่วประเทศ
นางจิรารักษ์ กุลสิงห์ ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธนาคารได้ทำการส่งรายละเอียด รวมถึงขั้นตอนในการปฏิบัติงานต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ในการรองรับการทำธุรกรรมการรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิตของโครงการรัฐบาล ผ่านระบบ Intranet ของธนาคารกรุงไทยไปยังทุกสาขาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้รับทราบว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง และจะเปิดให้บริการได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2554 เป็นต้นไป
เบื้องต้นได้กำหนดคุณสมบัติของลูกหนี้ที่มาทำการรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตเอาไว้ ต้องเป็นลูกหนี้ดีเท่านั้น ที่มีการผ่อนชำระปกติทุกเดือน ต้องนำหลักฐานเอกสารอันประกอบไปด้วย สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำนำทะเบียนบ้าน เอกสารใบแจ้งหนี้ฉบับจริง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2554 หากผู้มาทำการรีไฟแนนซ์ทำเอกสารเหล่านี้หายให้ไปติดต่อยังธนาคาร หรือบริษัท ผู้ที่ออกบัตรทำการออกเอกสารใหม่
“หลักเกณฑ์การให้สินเชื่อ เราก็ให้ได้ไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ ตามเกณฑ์ของแบงก์ชาติ และให้ตามความสามารถในการชำระหนี้ และสำหรับโครงการนี้ให้สินเชื่อไม่เกิน 300,000 บาท ต่อราย ซึ่งเรื่องนี้เรามองว่ามีความเสี่ยงเช่นกันเพราะเป็นการให้สินเชื่อ และเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล ที่ไม่มีหลักประกัน ดังนั้นจึงต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ดเหมือนกับสินเชื่อทั่วไปเพื่อให้รับทราบแม้ว่าจะเป็นโครงการของรัฐก็ตาม”
ส่วนการทำการตลาดนั้น รัฐบาลจะเป็นสื่อกลางในการดำเนินการทั้งหมด เพราะโครงการนี้ได้มีแบงก์รัฐ 3 แห่งเป็นผู้ดำเนินการ ประกอบด้วย ธนาคารอิสลาม ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย ซึ่งวงเงินที่ธนาคารกรุงไทยได้รับมอบหมาย คือ 4.5 พันล้านบาท