แบงก์ชาติเผยเงินบาทมีความผันผวนสูงขึ้น ล่าสุดเกิน 5% แต่ยังอยู่ในวิสัยที่ดูแลจัดการได้ สาเหตุผันผวนเกิดจากคนไทยมีความต้องการเงินดอลลาร์สูงขึ้น ขณะที่มุมมองนักลงทุนต่างชาติประเมินตลาดแตกต่างกัน ทำให้เงินทุนไหลเข้าและออกในเอเชียรวมถึงไทยสลับไปมา
น.ส.วงษ์วธู โพธิรัชต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า เงินบาทในขณะนี้มีการเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ และยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนว่าเงินบาทจะแข็งหรืออ่อนค่าไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือ ค่าความผันผวนมากขึ้นเกิน 5% ซึ่งยังอยู่กลางๆเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย
เพราะบางสกุลอาจสูงไปถึง 8-10% แต่ค่าความผันผวนสูงขึ้นก็ไม่ได้เป็นปัญหาในการดูแลของ ธปท.
“ยอมรับว่าความผันผวนที่เพิ่มขึ้นมากจากการมองแตกต่างกันของนักลงทุนส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้า-ออกในเอเชีย รวมถึงไทยมากขึ้น โดยช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นยอดขายหุ้นสุทธิอยู่และเมื่อช่วง 2 วันที่ผ่านมาเริ่มเห็นนักลงทุนเทขายหุ้นออกมาสะท้อนได้จากดัชนีตลาดหุ้นไทยติดลบ เมื่อมีการขายหุ้นออกมาแล้วจะมีการนำเงินทุนไหลกลับออกไปหรือไม่ก็ต้องติดตามดูต่อไป ซึ่งยอมรับเป็นเรื่องที่ดูได้ยาก เนื่องจากเงินสามารถอยู่ได้หลายที่”
ทั้งนี้ ความผันผวนสูงขึ้นเกิดจากทั้งปัจจัยภายในและนอกประเทศสำคัญ โดยปัจจัยในประเทศอย่างช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมานักลงทุนและผู้ประกอบการไทยมีแรงอุปสงค์เงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น โดยนักลงทุนไทยมีการซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐเพื่อออกไปลงทุนในต่างประเทศทั้งในรูปแบบการลงทุนโดยตรงและพอร์ตโฟลิโอ ส่วนผู้นำเข้าของไทยก็มีความต้องการเงินดอลลาร์เช่นกัน จึงส่งผลให้บางช่วงเงินบาทอ่อนค่าไม่มากนัก โดยเงินบาทอยู่ในช่วง 30.20-30.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงปลายปีที่ผ่านอยู่ที่ 30.15 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ขณะที่ในปีนี้ภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดการเงินมีการเปลี่ยนแปลงหลายจุด ทำให้นักลงทุนมีมุมมองแตกต่างกันออกไปทั้งการแก้ไขปัญหายุโรป รวมไปถึงเศรษฐกิจและนโยบายสหรัฐต่างกันไม่ว่าจะเป็นมาตรการผ่อนคลายนโยบายการเงินในระยะต่อไปหรือไม่ หลังมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(QE2) ที่จะสิ้นสุดในสิ้นเดือน มิ.ย.นี้ ซึ่งบางฝ่ายประเมินว่าอาจจะมีการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปลายปีนี้ได้ หรือปัญหาเรื้อรังของกลุ่มประเทศยุโรป ซึ่งตลาดได้รับรู้ไปบ้างแล้ว ถ้าไม่มีปัญหาอะไรแย่ไปกว่าที่เป็นอยู่ก็จะไม่มีผลต่อค่าเงินยูโรมากนัก
น.ส.วงธ์วธู กล่าวว่า ในปัจจุบันผู้นำเข้าไทยมีการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า(Hedge)ในสัดส่วน 20%ถือว่าไม่มากนัก เนื่องจากสามารถส่งผ่านต้นทุนได้ดีกว่า ขณะที่ผู้ส่งออกสามารถมีอำนาจในการต่อรองราคาได้ไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับราคาในตลาดโลก จึงต้องมีการทำ Hedge ในสัดส่วนที่สูง ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 50% จากเดิม 60%
อย่างไรก็ตาม เงินบาทที่มีความผันผวนสูงขึ้นมองว่ากลับส่งผลดีต่อตลาดด้วยซ้ำ โดยเฉพาะธุรกิจที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ เพราะหากธุรกรรมนิ่งเกินไปก็อาจไม่สะท้อนสภาพตลาดแท้จริงว่ามีดีมานส์และซัพพลายเท่าไหร่ และในช่วงที่ผ่านมาจากการสำรวจของธปท.พบว่า ผู้ส่งออกรายใหญ่ของไทยค่อนข้างเก่งและมีศักยภาพมากขึ้นในการปรับตัว ขณะที่ ธปท.เองให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ส่งออกขนาดกลางและเล็กอย่างต่อเนื่อง
**สนับสนุนหันมาใช้เงินหยวน**
ธปท.ได้จัดงานสัมมนาเรื่องการใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้าขายระหว่างประเทศให้แก่ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเบื้องต้นได้เชิญธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) เมื่อวันที่ 18-19 พ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อเป็นโครงการนำร่องที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยที่ค้าขายกับประเทศจีนหันมาใช้เงินหยวนมากขึ้นเพื่อทดแทนเงินดอลลาร์ที่มีความผันผวนสูง และมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อเนื่อง
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าไทยมีการค้าขายกับจีนในรูปเงินหยวนระดับหนึ่ง แม้ปริมาณไม่มากนักและมีข้อจำกัดที่ทางการจีนนำเงินหยวนมาใช้หมุนเวียนเฉพาะในฮ่องกงเท่านั้น แต่มองว่าหากในอนาคตทางการมีการผ่อนคลายมากขึ้นก็จะเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทย เพราะปัจจุบันเงินหยวนแข็งค่าต่อเนื่อง
น.ส.วงษ์วธู โพธิรัชต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า เงินบาทในขณะนี้มีการเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ และยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนว่าเงินบาทจะแข็งหรืออ่อนค่าไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือ ค่าความผันผวนมากขึ้นเกิน 5% ซึ่งยังอยู่กลางๆเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย
เพราะบางสกุลอาจสูงไปถึง 8-10% แต่ค่าความผันผวนสูงขึ้นก็ไม่ได้เป็นปัญหาในการดูแลของ ธปท.
“ยอมรับว่าความผันผวนที่เพิ่มขึ้นมากจากการมองแตกต่างกันของนักลงทุนส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้า-ออกในเอเชีย รวมถึงไทยมากขึ้น โดยช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นยอดขายหุ้นสุทธิอยู่และเมื่อช่วง 2 วันที่ผ่านมาเริ่มเห็นนักลงทุนเทขายหุ้นออกมาสะท้อนได้จากดัชนีตลาดหุ้นไทยติดลบ เมื่อมีการขายหุ้นออกมาแล้วจะมีการนำเงินทุนไหลกลับออกไปหรือไม่ก็ต้องติดตามดูต่อไป ซึ่งยอมรับเป็นเรื่องที่ดูได้ยาก เนื่องจากเงินสามารถอยู่ได้หลายที่”
ทั้งนี้ ความผันผวนสูงขึ้นเกิดจากทั้งปัจจัยภายในและนอกประเทศสำคัญ โดยปัจจัยในประเทศอย่างช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมานักลงทุนและผู้ประกอบการไทยมีแรงอุปสงค์เงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น โดยนักลงทุนไทยมีการซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐเพื่อออกไปลงทุนในต่างประเทศทั้งในรูปแบบการลงทุนโดยตรงและพอร์ตโฟลิโอ ส่วนผู้นำเข้าของไทยก็มีความต้องการเงินดอลลาร์เช่นกัน จึงส่งผลให้บางช่วงเงินบาทอ่อนค่าไม่มากนัก โดยเงินบาทอยู่ในช่วง 30.20-30.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงปลายปีที่ผ่านอยู่ที่ 30.15 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ขณะที่ในปีนี้ภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดการเงินมีการเปลี่ยนแปลงหลายจุด ทำให้นักลงทุนมีมุมมองแตกต่างกันออกไปทั้งการแก้ไขปัญหายุโรป รวมไปถึงเศรษฐกิจและนโยบายสหรัฐต่างกันไม่ว่าจะเป็นมาตรการผ่อนคลายนโยบายการเงินในระยะต่อไปหรือไม่ หลังมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(QE2) ที่จะสิ้นสุดในสิ้นเดือน มิ.ย.นี้ ซึ่งบางฝ่ายประเมินว่าอาจจะมีการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปลายปีนี้ได้ หรือปัญหาเรื้อรังของกลุ่มประเทศยุโรป ซึ่งตลาดได้รับรู้ไปบ้างแล้ว ถ้าไม่มีปัญหาอะไรแย่ไปกว่าที่เป็นอยู่ก็จะไม่มีผลต่อค่าเงินยูโรมากนัก
น.ส.วงธ์วธู กล่าวว่า ในปัจจุบันผู้นำเข้าไทยมีการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า(Hedge)ในสัดส่วน 20%ถือว่าไม่มากนัก เนื่องจากสามารถส่งผ่านต้นทุนได้ดีกว่า ขณะที่ผู้ส่งออกสามารถมีอำนาจในการต่อรองราคาได้ไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับราคาในตลาดโลก จึงต้องมีการทำ Hedge ในสัดส่วนที่สูง ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 50% จากเดิม 60%
อย่างไรก็ตาม เงินบาทที่มีความผันผวนสูงขึ้นมองว่ากลับส่งผลดีต่อตลาดด้วยซ้ำ โดยเฉพาะธุรกิจที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ เพราะหากธุรกรรมนิ่งเกินไปก็อาจไม่สะท้อนสภาพตลาดแท้จริงว่ามีดีมานส์และซัพพลายเท่าไหร่ และในช่วงที่ผ่านมาจากการสำรวจของธปท.พบว่า ผู้ส่งออกรายใหญ่ของไทยค่อนข้างเก่งและมีศักยภาพมากขึ้นในการปรับตัว ขณะที่ ธปท.เองให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ส่งออกขนาดกลางและเล็กอย่างต่อเนื่อง
**สนับสนุนหันมาใช้เงินหยวน**
ธปท.ได้จัดงานสัมมนาเรื่องการใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้าขายระหว่างประเทศให้แก่ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเบื้องต้นได้เชิญธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) เมื่อวันที่ 18-19 พ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อเป็นโครงการนำร่องที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยที่ค้าขายกับประเทศจีนหันมาใช้เงินหยวนมากขึ้นเพื่อทดแทนเงินดอลลาร์ที่มีความผันผวนสูง และมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อเนื่อง
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าไทยมีการค้าขายกับจีนในรูปเงินหยวนระดับหนึ่ง แม้ปริมาณไม่มากนักและมีข้อจำกัดที่ทางการจีนนำเงินหยวนมาใช้หมุนเวียนเฉพาะในฮ่องกงเท่านั้น แต่มองว่าหากในอนาคตทางการมีการผ่อนคลายมากขึ้นก็จะเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทย เพราะปัจจุบันเงินหยวนแข็งค่าต่อเนื่อง