ปตท.สผ.ลั่นราคาขายปิโตรเลียมในไตรมาส 2 นี้ดีกว่าไตรมาสก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันดิบสูงและปรับราคาขายก๊าซฯ ในแหล่งบงกช ยาดานา และเยตากุลเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณการขายปิโตรเลียมใกล้เคียงไตรมาส 1/54 ที่ระดับ 2.71 แสนบาร์เรล/วัน ยอมรับการเลื่อนผลิตที่แหล่งมอนทารา ส่งผลให้เป้าหมายการขายปิโตรเลียมที่ 2.73 แสนบาร์เรล/วันพลาดเป้าเล็กน้อย
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่าแนวโน้มราคาขายปิโตรเลียมในไตรมาส 2 นี้จะดีกว่าไตรมาส 1/2554 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบยังสูงอยู่และบริษัทฯ จะปรับขึ้นราคาขายก๊าซธรรมฃาติตามสัญญาซื้อขายก๊าซฯ จากแหล่งบงกชที่อ่าวไทย แหล่งเยตากุล และแหล่งยาดานาที่สหภาพพม่ามาตั้งแต่ เม.ย.นี้ ขณะที่ความต้องการใช้ก๊าซฯในประเทศสูงขึ้นจากโรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 6 ที่ผลิตเต็มที่
อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 2/2554 ปริมาณการจำหน่ายปิโตรเลียมจะใกล้เคียงไตรมาส 1/2554 ที่อยู่ระดับ 2.71 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ/วัน
นายอนนต์กล่าวยอมรับว่า การเลื่อนแผนผลิตปิโตรเลียมในแหล่งมอนทาราที่ออสเตรเลียในปลายปีนี้ เป็นไตรมาส 1/2555 ทำให้เป้าหมายการขายปิโตรเลียมในปีนี้ปรับลดลงเล็กน้อย จากเดิมที่ตั้งเป้าหมายการขายปิโตรเลียมไว้ที่ 2.73 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ/วัน แม้ว่าจะมีการเพิ่มปริมาณการผลิตปิโตรเลียมที่แหล่งเจดีเอ และแหล่งสิริกิติ์ (S1) ที่จะเพิ่มกำลังการผลิตจาก 2.2 หมื่นบาร์เรล/วันเป็น 2.5 หมื่นบาร์เรล/วันก็ตาม แต่บริษัทฯ ไม่ค่อยกังวลต่อปริมาณการขายปิโตรเลียมที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายเพราะจะเน้นยอดขายในรูปสกุลดอลลาร์สหรัฐมากกว่า
นอกจากนี้ การผลิตน้ำมันที่แหล่งออยล์แซนด์ KKD ที่แคนาดาในไตรมาส 2 นี้ คาดว่าราคาขายน้ำมันหนัก หรือ Dilbit จะสูงขึ้นกว่าไตรมาส 1 /2554 ที่จำหน่ายในราคา 56 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจาก Dilbit ที่ผลิตได้เป็นน้ำมันออฟสเปก แต่ไตรมาสนี้ Dilbit ที่ผลิตได้สเปคดีขึ้นทำให้ล่าสุดจำหน่ายที่ระดับราคา 86 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล โดยปีนี้แหล่งออยล์แซนด์ KKD จะผลิตน้ำมันได้เฉลี่ย 1 หมื่นบาร์เรล/วัน จากปัจจุบันที่ผลิตอยู่ 7.9 พันบาร์เรล/วัน
จากความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศ ทำให้บริษัทฯ ต้องเร่งรัดการผลิตเพิ่มขึ้นในโครงการต่างๆ โดยโครงการบงกชใต้ในอ่าวไทย ซึ่ง ปตท.สผ. ถือหุ้นอยู่ 44.4445% คาดว่าจะเริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติได้ในเดือนมกราคมปีหน้า ซึ่งเร็วกว่ากำหนดการเดิมถึง 6 เดือน ส่วนโครงการเวียดนาม 16-1 ซึ่ง ปตท.สผ.ถือหุ้นอยู่ 28.5%
คาดว่าน่าจะเริ่มผลิตน้ำมันดิบได้ในเดือนสิงหาคม-กันยายนปีนี้ ในอัตราการผลิตสูงสุดที่ประมาณ 40,000 บาร์เรล/วัน
สำหรับโครงการผลิต Floating Liquefied Natural Gas หรือ FLNG ขณะนี้อยู่ระหว่างรอประเมินประมาณสำรองปิโตรเลียมของ แหล่ง Cash/Maple ในประเทศออสเตรเลีย หากมีประมาณสำรองปิโตรเลียมมากกว่า 1 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตจึงจะพัฒนาโครงการนี้ โดยคาดว่าในปลายปีนี้จะเริ่มเห็นความชัดเจน และตัดสินใจลงทุนในปีหน้า ส่วนโครงการลงทุนที่แอลจีเรียเนื่องจากนโยบายรัฐบาลแอลจีเรียเปลี่ยนแปลงไปทำให้บริษัทฯต้องพิจารณาทบทวนใหม่อีกครั้งว่าหากมีการลงทุนจะเหมาะสมหรือไม่
นายอนนต์กล่าวต่อไปว่า แผนการหาพันธมิตรเข้าร่วมโครงการปิโตรเลียมในสหภาพพม่าว่า บริษัทฯ จะพิจารณาหาผู้ร่วมทุนรายใหม่เข้ามาร่วมทุนเป็นรายโครงการไปจากเดิมที่จะหาผู้ร่วมทุนเป็นแบบแพกเกจ คือให้พันธมิตรถือหุ้นทั้ง 5 แปลงที่ ปตท.สผ.ได้สัมปทาน คือ แหล่ง M3, M4, M7, M9 และ M11 แต่ล่าสุด ปตท.สผ.ได้มีการคืนพื้นที่การสำรวจในแปลง M4 ไปแล้ว เนื่องจากบริษัทฯ เห็นว่าโครงการ M9 เป็นโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา และคาดว่าจะผลิตก๊าซฯ ได้ในปี 2556 ดังนั้น หากไม่มีข้อเสนอที่ดีจากผู้ร่วมทุนรายใหม่ ปตท.สผ.ก็อาจจะถือหุ้น 100% ต่อไปในการดำเนินโครงการนี้
ส่วนโครงการที่ต้องการหาผู้ร่วมทุนรายใหม่เข้ามา คือ โครงการ M11 เนื่องจากเป็นแหล่งปิโตรเลียมน้ำลึก จึงต้องการผู้ถือหุ้นที่มีความชำนาญ หรือมีเทคโนโลยีในการผลิตปิโตรเลียมน้ำลึก เข้ามาร่วมลงทุนเพื่อที่ลดความเสี่ยงในการลงทุน
น.ส.เพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและการบัญชี บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ราคาก๊าซฯที่ปรับขึ้นในไตรมาสนี้คาดว่าจะปรับขึ้นประมาณ 5% ของราคาจำหน่ายที่ระดับราคาขายที่ 5.60 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู โดยคิดเป็นปริมาณการปรับขึ้นราคาก๊าซฯจะอยู่ที่กว่า 20% ของปริมาณก๊าซฯ ที่จำหน่ายทั้งหมด
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่าแนวโน้มราคาขายปิโตรเลียมในไตรมาส 2 นี้จะดีกว่าไตรมาส 1/2554 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบยังสูงอยู่และบริษัทฯ จะปรับขึ้นราคาขายก๊าซธรรมฃาติตามสัญญาซื้อขายก๊าซฯ จากแหล่งบงกชที่อ่าวไทย แหล่งเยตากุล และแหล่งยาดานาที่สหภาพพม่ามาตั้งแต่ เม.ย.นี้ ขณะที่ความต้องการใช้ก๊าซฯในประเทศสูงขึ้นจากโรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 6 ที่ผลิตเต็มที่
อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 2/2554 ปริมาณการจำหน่ายปิโตรเลียมจะใกล้เคียงไตรมาส 1/2554 ที่อยู่ระดับ 2.71 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ/วัน
นายอนนต์กล่าวยอมรับว่า การเลื่อนแผนผลิตปิโตรเลียมในแหล่งมอนทาราที่ออสเตรเลียในปลายปีนี้ เป็นไตรมาส 1/2555 ทำให้เป้าหมายการขายปิโตรเลียมในปีนี้ปรับลดลงเล็กน้อย จากเดิมที่ตั้งเป้าหมายการขายปิโตรเลียมไว้ที่ 2.73 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ/วัน แม้ว่าจะมีการเพิ่มปริมาณการผลิตปิโตรเลียมที่แหล่งเจดีเอ และแหล่งสิริกิติ์ (S1) ที่จะเพิ่มกำลังการผลิตจาก 2.2 หมื่นบาร์เรล/วันเป็น 2.5 หมื่นบาร์เรล/วันก็ตาม แต่บริษัทฯ ไม่ค่อยกังวลต่อปริมาณการขายปิโตรเลียมที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายเพราะจะเน้นยอดขายในรูปสกุลดอลลาร์สหรัฐมากกว่า
นอกจากนี้ การผลิตน้ำมันที่แหล่งออยล์แซนด์ KKD ที่แคนาดาในไตรมาส 2 นี้ คาดว่าราคาขายน้ำมันหนัก หรือ Dilbit จะสูงขึ้นกว่าไตรมาส 1 /2554 ที่จำหน่ายในราคา 56 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจาก Dilbit ที่ผลิตได้เป็นน้ำมันออฟสเปก แต่ไตรมาสนี้ Dilbit ที่ผลิตได้สเปคดีขึ้นทำให้ล่าสุดจำหน่ายที่ระดับราคา 86 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล โดยปีนี้แหล่งออยล์แซนด์ KKD จะผลิตน้ำมันได้เฉลี่ย 1 หมื่นบาร์เรล/วัน จากปัจจุบันที่ผลิตอยู่ 7.9 พันบาร์เรล/วัน
จากความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศ ทำให้บริษัทฯ ต้องเร่งรัดการผลิตเพิ่มขึ้นในโครงการต่างๆ โดยโครงการบงกชใต้ในอ่าวไทย ซึ่ง ปตท.สผ. ถือหุ้นอยู่ 44.4445% คาดว่าจะเริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติได้ในเดือนมกราคมปีหน้า ซึ่งเร็วกว่ากำหนดการเดิมถึง 6 เดือน ส่วนโครงการเวียดนาม 16-1 ซึ่ง ปตท.สผ.ถือหุ้นอยู่ 28.5%
คาดว่าน่าจะเริ่มผลิตน้ำมันดิบได้ในเดือนสิงหาคม-กันยายนปีนี้ ในอัตราการผลิตสูงสุดที่ประมาณ 40,000 บาร์เรล/วัน
สำหรับโครงการผลิต Floating Liquefied Natural Gas หรือ FLNG ขณะนี้อยู่ระหว่างรอประเมินประมาณสำรองปิโตรเลียมของ แหล่ง Cash/Maple ในประเทศออสเตรเลีย หากมีประมาณสำรองปิโตรเลียมมากกว่า 1 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตจึงจะพัฒนาโครงการนี้ โดยคาดว่าในปลายปีนี้จะเริ่มเห็นความชัดเจน และตัดสินใจลงทุนในปีหน้า ส่วนโครงการลงทุนที่แอลจีเรียเนื่องจากนโยบายรัฐบาลแอลจีเรียเปลี่ยนแปลงไปทำให้บริษัทฯต้องพิจารณาทบทวนใหม่อีกครั้งว่าหากมีการลงทุนจะเหมาะสมหรือไม่
นายอนนต์กล่าวต่อไปว่า แผนการหาพันธมิตรเข้าร่วมโครงการปิโตรเลียมในสหภาพพม่าว่า บริษัทฯ จะพิจารณาหาผู้ร่วมทุนรายใหม่เข้ามาร่วมทุนเป็นรายโครงการไปจากเดิมที่จะหาผู้ร่วมทุนเป็นแบบแพกเกจ คือให้พันธมิตรถือหุ้นทั้ง 5 แปลงที่ ปตท.สผ.ได้สัมปทาน คือ แหล่ง M3, M4, M7, M9 และ M11 แต่ล่าสุด ปตท.สผ.ได้มีการคืนพื้นที่การสำรวจในแปลง M4 ไปแล้ว เนื่องจากบริษัทฯ เห็นว่าโครงการ M9 เป็นโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา และคาดว่าจะผลิตก๊าซฯ ได้ในปี 2556 ดังนั้น หากไม่มีข้อเสนอที่ดีจากผู้ร่วมทุนรายใหม่ ปตท.สผ.ก็อาจจะถือหุ้น 100% ต่อไปในการดำเนินโครงการนี้
ส่วนโครงการที่ต้องการหาผู้ร่วมทุนรายใหม่เข้ามา คือ โครงการ M11 เนื่องจากเป็นแหล่งปิโตรเลียมน้ำลึก จึงต้องการผู้ถือหุ้นที่มีความชำนาญ หรือมีเทคโนโลยีในการผลิตปิโตรเลียมน้ำลึก เข้ามาร่วมลงทุนเพื่อที่ลดความเสี่ยงในการลงทุน
น.ส.เพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและการบัญชี บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ราคาก๊าซฯที่ปรับขึ้นในไตรมาสนี้คาดว่าจะปรับขึ้นประมาณ 5% ของราคาจำหน่ายที่ระดับราคาขายที่ 5.60 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู โดยคิดเป็นปริมาณการปรับขึ้นราคาก๊าซฯจะอยู่ที่กว่า 20% ของปริมาณก๊าซฯ ที่จำหน่ายทั้งหมด