เอกชนจับตาค่าเงินบาทใกล้ชิด หลังเริ่มหลุดระดับ 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ วอนรัฐ-ธปท.หามาตรการดูแลให้นิ่งเหมือน 3-4 เดือนที่ผ่านมา แต่อย่าแสดงภาวะผู้นำแข็งค่ากว่าประเทศในอาเซียน หวั่นกระทบส่งออกไตรมาส 2
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาคเอกชนกำลังติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด เนื่องจากล่าสุด เงินบาทแข็งค่าขึ้นหลุดระดับ 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ มาแตะที่ระดับ 29.8-29.9 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯแล้ว และยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวแข็งค่าขึ้นไปอีก จึงต้องการให้รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้ามาดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้สอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค
“ค่าเงินบาทระยะ 3-4 เดือนที่ผ่านมา ถือว่าค่อนข้างนิ่ง และเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกไทยค่อนข้างมาก หากเราไม่แข็งนำภูมิภาค การส่งออกก็จะยังคงมีอัตราที่โตต่อเนื่อง เพราะขณะนี้เอกชนมีปัจจัยเสี่ยงทางธุรกิจในหลายๆ ด้าน ทั้งเรื่องต้นทุนราคาพลังงาน ค่าแรงที่จะเพิ่มขึ้น ราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น ขณะที่การปรับขึ้นราคาสินค้านั้น ทำได้ยาก แต่ปัจจัยเหล่านี้ประเทศต่างๆ ก็เผชิญเหมือนเรา ถ้าบาทเราแข็งนำจะบั่นทอนขีดความสามารถทางการแข่งขันลงทันที” นายพยุงศักดิ์ กล่าว
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า สิ่งที่เอกชนต้องการ คือ ขอให้ ธปท.ดำเนินนโยบายควบคุมให้มีเสถียรภาพโดยสะท้อนกับประเทศในอาเซียนที่เป็นคู่แข่งทางการค้าของไทย อย่าแสดงภาวะการเป็นผู้นำแข็งค่าในภูมิภาคเช่นที่ผ่านมา โดยยอมรับว่า ตอนนี้ผู้ประกอบการมีความกังวลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนว่าค่าเงินบาทจะหลุดเหนือระดับ 29 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นปัญหาต่อภาคการส่งออกของไทยในช่วงไตรมาส 2 นี้ได้
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคเอกชนกำลังติดตามค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด เพราะหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 2.75% นั้น เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ ถือว่าสูงมาก จึงเป็นการเปิดช่องให้มีเงินนอกไหลเข้ามาในประเทศมากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามาอยู่ที่ระดับ 29 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯได้
“มีแนวโน้มว่า ไตรมาส 2 จะมีเม็ดเงินไหลเข้ามาไทยเพิ่มขึ้น แต่เราคาดหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปฟื้นตัวจะทำให้การไหลไม่มากนัก และส่วนหนึ่งคือ ตลาดหุ้นเราค่อนข้างมีราคาสูงแล้ว แต่ก็คงต้องติดตามใกล้ชิด” นายธนิต กล่าว
นายธำรง ธิติประเสริฐ ประธานกลุ่มรองเท้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า มองว่า ช่วงไตรมาส 3-4 ของปีนี้ การแข่งขันของอุตสาหกรรมรองเท้าจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหากเงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกก็จะยิ่งซ้ำเติมให้อุตสาหกรรมรองเท้าแข่งขันได้ลำบากขึ้น ซึ่งปัจจัยนี้ภาคเอกชนคงทำอะไรไม่ได้ เพราะต้องพึ่งรัฐบาลในการดูแลให้ค่าเงินบาทอย่างเดียว และส่วนตัวยังเห็นว่าค่าเงินบาทของไทยยังคงแข็งกว่าประเทศเพื่อนบ้านแต่อัตราน้อยกว่าอดีตเท่านั้น
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาคเอกชนกำลังติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด เนื่องจากล่าสุด เงินบาทแข็งค่าขึ้นหลุดระดับ 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ มาแตะที่ระดับ 29.8-29.9 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯแล้ว และยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวแข็งค่าขึ้นไปอีก จึงต้องการให้รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้ามาดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้สอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค
“ค่าเงินบาทระยะ 3-4 เดือนที่ผ่านมา ถือว่าค่อนข้างนิ่ง และเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกไทยค่อนข้างมาก หากเราไม่แข็งนำภูมิภาค การส่งออกก็จะยังคงมีอัตราที่โตต่อเนื่อง เพราะขณะนี้เอกชนมีปัจจัยเสี่ยงทางธุรกิจในหลายๆ ด้าน ทั้งเรื่องต้นทุนราคาพลังงาน ค่าแรงที่จะเพิ่มขึ้น ราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น ขณะที่การปรับขึ้นราคาสินค้านั้น ทำได้ยาก แต่ปัจจัยเหล่านี้ประเทศต่างๆ ก็เผชิญเหมือนเรา ถ้าบาทเราแข็งนำจะบั่นทอนขีดความสามารถทางการแข่งขันลงทันที” นายพยุงศักดิ์ กล่าว
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า สิ่งที่เอกชนต้องการ คือ ขอให้ ธปท.ดำเนินนโยบายควบคุมให้มีเสถียรภาพโดยสะท้อนกับประเทศในอาเซียนที่เป็นคู่แข่งทางการค้าของไทย อย่าแสดงภาวะการเป็นผู้นำแข็งค่าในภูมิภาคเช่นที่ผ่านมา โดยยอมรับว่า ตอนนี้ผู้ประกอบการมีความกังวลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนว่าค่าเงินบาทจะหลุดเหนือระดับ 29 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นปัญหาต่อภาคการส่งออกของไทยในช่วงไตรมาส 2 นี้ได้
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคเอกชนกำลังติดตามค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด เพราะหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 2.75% นั้น เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ ถือว่าสูงมาก จึงเป็นการเปิดช่องให้มีเงินนอกไหลเข้ามาในประเทศมากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามาอยู่ที่ระดับ 29 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯได้
“มีแนวโน้มว่า ไตรมาส 2 จะมีเม็ดเงินไหลเข้ามาไทยเพิ่มขึ้น แต่เราคาดหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปฟื้นตัวจะทำให้การไหลไม่มากนัก และส่วนหนึ่งคือ ตลาดหุ้นเราค่อนข้างมีราคาสูงแล้ว แต่ก็คงต้องติดตามใกล้ชิด” นายธนิต กล่าว
นายธำรง ธิติประเสริฐ ประธานกลุ่มรองเท้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า มองว่า ช่วงไตรมาส 3-4 ของปีนี้ การแข่งขันของอุตสาหกรรมรองเท้าจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหากเงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกก็จะยิ่งซ้ำเติมให้อุตสาหกรรมรองเท้าแข่งขันได้ลำบากขึ้น ซึ่งปัจจัยนี้ภาคเอกชนคงทำอะไรไม่ได้ เพราะต้องพึ่งรัฐบาลในการดูแลให้ค่าเงินบาทอย่างเดียว และส่วนตัวยังเห็นว่าค่าเงินบาทของไทยยังคงแข็งกว่าประเทศเพื่อนบ้านแต่อัตราน้อยกว่าอดีตเท่านั้น