คลังเร่งถกปรับขึ้นค่าแรง 25% ระบุ พร้อมให้แรงจูงใจเอกชนที่ปรับขึ้นค่าแรงนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ ยันดีกว่าลดอัตราภาษีนิติบุคคล พร้อมระบุ นโยบายรัฐบาลเน้นรักษาวินัยการคลัง ด้านหนี้สาธารณะลดลงทุกเดือน
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ไปพิจารณาหาวิธีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นอีก 25% ภายใน 2 ปี โดยไม่ให้เป็นภาระต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ ซึ่งกระทรวงการคลังกำลังพิจารณาต้นทุนทางภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่จะต้องปรับลดให้สอดคล้องกับการขึ้นค่าแรงอย่างเป็นธรรม ซึ่งจะต้องมีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงรายละเอียดที่ชัดเจนด้วย
อย่างไรก็ตาม ในหลักการที่คิดไว้ คือ จะเพิ่มค่าแรงให้สอดคล้องกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีนิติบุคคล โดยผู้ประกอบการที่ขึ้นค่าแรงให้นั้น สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีคืนได้ ดีกว่าการลดภาษีแบบเหวี่ยงแหให้ทั้งหมด เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนทุกฝ่ายรวมถึงผู้ประกอบการด้วย
“การเพิ่มค่าแรงจาก 200 บาท เป็น 300 บาทนั้น จะเป็นต้นทุนด้านแรงงานของผู้ประกอบการ 20% ถ้าคิดภาษีเปรียบเทียบกับกำไรในระดับ 6% เท่ากับว่าผู้ประกอบการจะไม่มีกำไร ถึงจะลดภาษีนิติบุคคลให้ทั้งหมดก็ไม่มีประโยชน์ เพราะว่าไม่มีเงินมาจ่ายอยู่ดี แต่ถ้าให้ต้นทุนของผู้ประกอบการเท่ากับต้นทุนทางด้านภาษีที่ลดลง เท่ากับว่า ผู้ประกอบการยังมีกำไรและมีเงินภาษีมาชำระได้อยู่”
นายกรณ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แสดงความเป็นห่วงระดับหนี้สาธารณะที่จะเพิ่มขึ้นจากนโยบายประชานิยม ว่า เป็นการแสดงความคิดเห็นในเชิงวิชาการอยู่แล้ว ซึ่งในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลจะทำด้วยความรับผิดชอบ ภายใต้การรักษาวินัยทางการคลังเป็นหลัก โดยระดับหนี้สาธารณะลดลงต่อเนื่องทุกเดือน ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 42% ของจีดีพีเท่านั้น ขณะที่การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลยังเพิ่มขึ้นและสูงกว่าเป้าหมายมาก
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ไปพิจารณาหาวิธีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นอีก 25% ภายใน 2 ปี โดยไม่ให้เป็นภาระต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ ซึ่งกระทรวงการคลังกำลังพิจารณาต้นทุนทางภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่จะต้องปรับลดให้สอดคล้องกับการขึ้นค่าแรงอย่างเป็นธรรม ซึ่งจะต้องมีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงรายละเอียดที่ชัดเจนด้วย
อย่างไรก็ตาม ในหลักการที่คิดไว้ คือ จะเพิ่มค่าแรงให้สอดคล้องกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีนิติบุคคล โดยผู้ประกอบการที่ขึ้นค่าแรงให้นั้น สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีคืนได้ ดีกว่าการลดภาษีแบบเหวี่ยงแหให้ทั้งหมด เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนทุกฝ่ายรวมถึงผู้ประกอบการด้วย
“การเพิ่มค่าแรงจาก 200 บาท เป็น 300 บาทนั้น จะเป็นต้นทุนด้านแรงงานของผู้ประกอบการ 20% ถ้าคิดภาษีเปรียบเทียบกับกำไรในระดับ 6% เท่ากับว่าผู้ประกอบการจะไม่มีกำไร ถึงจะลดภาษีนิติบุคคลให้ทั้งหมดก็ไม่มีประโยชน์ เพราะว่าไม่มีเงินมาจ่ายอยู่ดี แต่ถ้าให้ต้นทุนของผู้ประกอบการเท่ากับต้นทุนทางด้านภาษีที่ลดลง เท่ากับว่า ผู้ประกอบการยังมีกำไรและมีเงินภาษีมาชำระได้อยู่”
นายกรณ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แสดงความเป็นห่วงระดับหนี้สาธารณะที่จะเพิ่มขึ้นจากนโยบายประชานิยม ว่า เป็นการแสดงความคิดเห็นในเชิงวิชาการอยู่แล้ว ซึ่งในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลจะทำด้วยความรับผิดชอบ ภายใต้การรักษาวินัยทางการคลังเป็นหลัก โดยระดับหนี้สาธารณะลดลงต่อเนื่องทุกเดือน ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 42% ของจีดีพีเท่านั้น ขณะที่การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลยังเพิ่มขึ้นและสูงกว่าเป้าหมายมาก