ASTVผู้จัดการรายวัน – "คลัง-ก.ล.ต." หนุนตั้งกองทุนคาร์บอนเครดิตช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมดึงเม็ดเงินเข้าประเทศ เล็งให้สิทธิภาษีไม่น้อยกว่าอาร์เอ็มเอฟและแอลทีเอฟจูงใจนักลงทุน ขณะเดียวกันเดินหน้าเป็นตัวกลางหาซอฟท์โลน
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค.และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อยู่ระหว่างร่วมพิจารณาออกเกณฑ์การอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) สามารถจัดตั้งกองทุนไทยแลนด์คาร์บอนเครดิตในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับกองทุนรวมเพื่อระดมทุนจากประชาชนหรือสถาบันไปลงทุนในธุรกิจด้านกลไกลการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Machanism : CDM) โดยจะเน้นการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อจูงใจให้มีการพัฒนาด้านนี้มากขึ้น
โดยที่ผ่านมาการลงทุนที่เกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตสถาบันการเงินจะไม่ค่อยเห็นความสำคัญและปล่อยกู้ในอัตราส่วนที่น้อยมากซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อต้องทำตามข้อบังคับต่างๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงทำให้การลงทุนด้านคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยไม่มีการเติบโตเท่าที่ควร ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับธุรกิจที่รักษาสิ่งแวดล้อมจึงพยายามหาช่องทางระดมทุนให้มากขึ้น
“การเปิดให้มีกองทุนรวมถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ให้ผู้ประกอบการสามารถมีแหล่งทุนนอกจากการกู้เงินจากสถาบันการเงินที่ค่อนข้างเข้มงวดและไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้นัก ซึ่งนอกจากแหล่งทุนแล้วสิ่งที่สศค.มองว่ามีความจำเป็นที่ต้องให้คือสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีซึ่งอาจเท่ากับหรือมีแนวโน้มมากกว่ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรืออาร์เอ็มเอฟ และกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือแอลทีเอฟ จากปกติที่ลดหย่อนภาษีนิติบุคคลให้กับผู้ที่ทำธุรกิจคาร์บอนเครดิตอยู่แล้ว 3 ปี” นายนริศกล่าว
นอกจากนี้ สศค.จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการระดมเงินทุนจากแหล่งอื่นเพื่อธุรกิจคาร์บอนเครดิตในประเทศมีความสำคัญมากขึ้น เบื้องต้นธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น JBIC และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น JICA สนใจที่จะให้วงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำระยะยาว (Soft Loan) ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และธนาคารพาณิชย์ที่สนใจ.
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค.และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อยู่ระหว่างร่วมพิจารณาออกเกณฑ์การอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) สามารถจัดตั้งกองทุนไทยแลนด์คาร์บอนเครดิตในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับกองทุนรวมเพื่อระดมทุนจากประชาชนหรือสถาบันไปลงทุนในธุรกิจด้านกลไกลการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Machanism : CDM) โดยจะเน้นการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อจูงใจให้มีการพัฒนาด้านนี้มากขึ้น
โดยที่ผ่านมาการลงทุนที่เกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตสถาบันการเงินจะไม่ค่อยเห็นความสำคัญและปล่อยกู้ในอัตราส่วนที่น้อยมากซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อต้องทำตามข้อบังคับต่างๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงทำให้การลงทุนด้านคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยไม่มีการเติบโตเท่าที่ควร ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับธุรกิจที่รักษาสิ่งแวดล้อมจึงพยายามหาช่องทางระดมทุนให้มากขึ้น
“การเปิดให้มีกองทุนรวมถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ให้ผู้ประกอบการสามารถมีแหล่งทุนนอกจากการกู้เงินจากสถาบันการเงินที่ค่อนข้างเข้มงวดและไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้นัก ซึ่งนอกจากแหล่งทุนแล้วสิ่งที่สศค.มองว่ามีความจำเป็นที่ต้องให้คือสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีซึ่งอาจเท่ากับหรือมีแนวโน้มมากกว่ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรืออาร์เอ็มเอฟ และกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือแอลทีเอฟ จากปกติที่ลดหย่อนภาษีนิติบุคคลให้กับผู้ที่ทำธุรกิจคาร์บอนเครดิตอยู่แล้ว 3 ปี” นายนริศกล่าว
นอกจากนี้ สศค.จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการระดมเงินทุนจากแหล่งอื่นเพื่อธุรกิจคาร์บอนเครดิตในประเทศมีความสำคัญมากขึ้น เบื้องต้นธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น JBIC และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น JICA สนใจที่จะให้วงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำระยะยาว (Soft Loan) ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และธนาคารพาณิชย์ที่สนใจ.