ส.อุตสาหกรรมก่อสร้างฯ เผยไทยขากแคลนแรงงานก่อสร้างกึ่งฝีมือนับล้านคน หวั่นเสียเปรียบหากเปิดค้าเสรีปี 2558 ล่าสุดเตรียมจัดงาน คอนเท็ค 2011 ในวันที่ 22-24 ก.ย.54 อิมแพ็คเมืองทองธานี หวังหาเทคโนโลยีก่อสร้างแทนแรงงาน พร้อมหนุนนักศึกษาหาความรู้ พร้อมเสนอกรมบัญชีกลางคำนวณราคาวัสดุจากราคาตลาด เกรงคนวิตกภัยพิบัติหันเก็งกำไรราคาวัสดุ
นายพลพัฒ กรรณสูต นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทยมีทิศทางที่ดีขึ้น แต่ยังไม่กระจายตัว โดยผู้รับเหมารายใหญ่และรายเล็กยังคงมีงานก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่รายกลางมีงานก่อสร้างน้อยมาก เพราะมีงานจำนวนมากที่มีแผนดำเนินการแล้วแต่รัฐบาลยังไม่ได้อนุมัติออกมา
“หากการเลือกตั้งแล้วเสร็จและได้ผู้มีอำนาจในการอนุมัติจัดซื้อจัดจ้างเป็นคนเดิมก็เชื่อว่า งานต่างๆที่หน่วยงานเสนอไปจะยังคงเดินหน้าต่อและได้รับการอนุมัติออกมาสู่มือผู้รับเหมา แต่โดยทั่วไปก่อนที่จะยุบสภาก็มักมีการเร่งอนุมัติโครงการต่างๆออกมาจำนวนมากอยู่แล้ว ซึ่งผู้รับเหมาก็จะรีบเซ็นรับเช่นกัน ส่วนต้นทุนนั้นค่อยไปบริหารจัดการภายหลัง”
อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมของไทยยังขาดแคลนแรงงานกึ่งฝีมือและแรงงานก่อสร้างกว่า 1 ล้านคน โดยอุตสหกรรมก่อสร้างของไทยมีความต้องการแรงงานจำนวน 3.5-4 ล้านคน แต่ปัจจุบันมีเพียง 2.5 ล้านคนเท่านั้น นอกจากนี้แรงงานส่วนหนึ่งยังไหลไปอยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์หรือการก่อสร้างภาคแอกชนที่ให้ค่าแรงได้สูงกว่าผู้รับเหมาที่รับงานภาครัฐ เช่น ค่าแรงปูกระเบื้องของงานรัฐ 95-105 บาท/ตร.ม. ขณะที่งานเอกชนจ้างที่ 180-200 บาท/ตร.ม. ส่วนฉาบปูน งานรัฐจ้าง 60-80 บาท/ตร.ม. เอกชนจ้าง 120-150 บาท/ตร.ม.
“ส่วนราคาวัสดุก่อสร้างที่มีการปรับขึ้นนั้น โดยเฉลี่ยมีการปรับขึ้นประมาณ 10% ซึ่งงานรัฐจะไม่สามารถปรับขึ้นราคาได้ ดังนั้นทางออกคือเอกชนจะต้องไปหางานใหม่ของผู้ประกอบการเอกชนมาชดเชย”
ทั้งนี้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานนั้นมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างฯ จึงมีแนวคิดที่จะให้สมาชิกและผู้รับเหมาหันมาใช้เทคโนโลยีก่อสร้างใหม่ เพื่อทดแทนแรงงาน โดยเตรียมจัดงาน คอนเท็ค 2011 ในระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2554 อิมแพ็คเมืองทองธานี ซึ่งจะเป็นงานที่เน้นเทคโนโลยีด้านการก่อสร้างเพียงอย่างเดียว เพื่อให้ผู้รับเหมาไทยได้เห็นเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมไปถึงนักศึกษาอาชีวะ ที่จะต้องเข้ามาสู่วงการก่อสร้างในอนาคต โดยตั้งเป้าที่จะให้งานดังกล่าวเป็นงานใหญ่ทางด้านการก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ด้านนายกฤษฎา จันทร์จำรัสแสง เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าว่า ขณะนี้ผู้รับเหมาพยายามผลักดัน 2 เรื่องคือ 1.การกำหนดราคากลางผ่านกรมบัญชีกลาง 2.การให้มีผู้เชี่ยวชาญและการตรวจสอบราคากลางและการกำหนดราคาวัสดุก่อสร้าง เพราะในปัจจุบันภาครัฐมีการกำหนดราคาวัสดุก่อสร้างต่ำกว่าควรที่จะเป็น
ทั้งนี้ ราคากลางที่กำหนดขึ้นจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้ามาตรวจสอบ โดยขณะนี้ทางสมาคมฯได้ร่วมมือกับ 3 องค์กรวิชาชีพคือ ส.สถาปนิกฯ,ส.วิศวกรรมสถานฯ และส.วิศวกรที่ปรึกษา(วปท.) ในการจัดทำรายละเอียดต่างๆร่วมกันเพื่อยกระดับมาตรฐานและยังร่วมกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในกำหนดหลักสูตรขึ้นมาสำหรับผู้ที่มีความสนใจที่จะเข้ามาเป็นตรวจสอบเฉพาะด้านดังกล่าว ส่วนการให้ใบรับรองหรือประกาศนียบัตรด้านวิชาชีพดังกล่าวนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าหน่วยงานใดจะเป็นผู้ให้ ซึ่งอาจจะเป็นสภาบันการก่อสร้างไทย ก็ได้
อย่างไรก็ตามในเรื่องของราคากลางนั้นในปัจจุบัน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ได้มีการออกกฎหมายว่าจะต้องมีการเปิดราคากลางต่อสาธารณะ และให้แจ้งชื่อผู้คิดราคากลางและคณะกรรมการตรวจสอบราคาด้วย จากที่เดิมไม่เคยมีกฎหมายดังกล่าว ซึ่งเรื่องที่ดี เพราะจะป้องกันเรื่องการคอร์รัปชั่นได้
นายกฤษฎากล่าวว่า สิ่งที่สมาคมมีความเป็นห่วงในขณะนี้นี้ คือการเปิดเสรีอาเซียนเต็มรูปแบบส่วนเรื่องการเปิดเสรีอาเซียนเต็มรูปแบบนั้น มีความกังวลในเรื่องเทคนิคการก่อสร้าง ซึ่งไทยยังไม่มีความเชี่ยวชาญ เพราะเราไม่ค่อยมีแรงงานที่มีทักษะ ขณะที่ขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการก็ยังมีจำกัด ก็ต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยด้วย นอกจากนี้ยังมีความเป็นห่วงเรื่องการตระหนกเรื่องภัยพิบัติ เพราะตรงนี้อาจก่อให้เกิดการเก็งกำไรวัสดุก่อสร้างได้ ทำให้ราคาไม่นิ่งโดยเฉพาะเรื่อง เหล็ก และสินแร่เหล็ก
ส่วนภาพรวมของมูลค่าการลงทุนโดยรวมในปี 2554 ว่าเติบโตจากปี 2553 ประมาณ 7-9.7 % หรือจากกว่า 8.6 แสนล้านบาทเป็น 8.07 แสนล้านบาท ขณะที่ราคาค่าก่อสร้างนั้นค่อนข้างคงที่หรืออาจขยายตัวไม่มากนักเพียง 4-6 % แต่หากแบ่งการการขยายตัวของภาครัฐปีนี้อยู่ที่ 4.5-7.5% ขณะที่งานของภาคเอกชนขยายตัว 3.5-5.5 % ส่วนหนึ่งมีผลมาจากการก่อสร้าง
นายพลพัฒ กรรณสูต นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทยมีทิศทางที่ดีขึ้น แต่ยังไม่กระจายตัว โดยผู้รับเหมารายใหญ่และรายเล็กยังคงมีงานก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่รายกลางมีงานก่อสร้างน้อยมาก เพราะมีงานจำนวนมากที่มีแผนดำเนินการแล้วแต่รัฐบาลยังไม่ได้อนุมัติออกมา
“หากการเลือกตั้งแล้วเสร็จและได้ผู้มีอำนาจในการอนุมัติจัดซื้อจัดจ้างเป็นคนเดิมก็เชื่อว่า งานต่างๆที่หน่วยงานเสนอไปจะยังคงเดินหน้าต่อและได้รับการอนุมัติออกมาสู่มือผู้รับเหมา แต่โดยทั่วไปก่อนที่จะยุบสภาก็มักมีการเร่งอนุมัติโครงการต่างๆออกมาจำนวนมากอยู่แล้ว ซึ่งผู้รับเหมาก็จะรีบเซ็นรับเช่นกัน ส่วนต้นทุนนั้นค่อยไปบริหารจัดการภายหลัง”
อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมของไทยยังขาดแคลนแรงงานกึ่งฝีมือและแรงงานก่อสร้างกว่า 1 ล้านคน โดยอุตสหกรรมก่อสร้างของไทยมีความต้องการแรงงานจำนวน 3.5-4 ล้านคน แต่ปัจจุบันมีเพียง 2.5 ล้านคนเท่านั้น นอกจากนี้แรงงานส่วนหนึ่งยังไหลไปอยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์หรือการก่อสร้างภาคแอกชนที่ให้ค่าแรงได้สูงกว่าผู้รับเหมาที่รับงานภาครัฐ เช่น ค่าแรงปูกระเบื้องของงานรัฐ 95-105 บาท/ตร.ม. ขณะที่งานเอกชนจ้างที่ 180-200 บาท/ตร.ม. ส่วนฉาบปูน งานรัฐจ้าง 60-80 บาท/ตร.ม. เอกชนจ้าง 120-150 บาท/ตร.ม.
“ส่วนราคาวัสดุก่อสร้างที่มีการปรับขึ้นนั้น โดยเฉลี่ยมีการปรับขึ้นประมาณ 10% ซึ่งงานรัฐจะไม่สามารถปรับขึ้นราคาได้ ดังนั้นทางออกคือเอกชนจะต้องไปหางานใหม่ของผู้ประกอบการเอกชนมาชดเชย”
ทั้งนี้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานนั้นมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างฯ จึงมีแนวคิดที่จะให้สมาชิกและผู้รับเหมาหันมาใช้เทคโนโลยีก่อสร้างใหม่ เพื่อทดแทนแรงงาน โดยเตรียมจัดงาน คอนเท็ค 2011 ในระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2554 อิมแพ็คเมืองทองธานี ซึ่งจะเป็นงานที่เน้นเทคโนโลยีด้านการก่อสร้างเพียงอย่างเดียว เพื่อให้ผู้รับเหมาไทยได้เห็นเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมไปถึงนักศึกษาอาชีวะ ที่จะต้องเข้ามาสู่วงการก่อสร้างในอนาคต โดยตั้งเป้าที่จะให้งานดังกล่าวเป็นงานใหญ่ทางด้านการก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ด้านนายกฤษฎา จันทร์จำรัสแสง เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าว่า ขณะนี้ผู้รับเหมาพยายามผลักดัน 2 เรื่องคือ 1.การกำหนดราคากลางผ่านกรมบัญชีกลาง 2.การให้มีผู้เชี่ยวชาญและการตรวจสอบราคากลางและการกำหนดราคาวัสดุก่อสร้าง เพราะในปัจจุบันภาครัฐมีการกำหนดราคาวัสดุก่อสร้างต่ำกว่าควรที่จะเป็น
ทั้งนี้ ราคากลางที่กำหนดขึ้นจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้ามาตรวจสอบ โดยขณะนี้ทางสมาคมฯได้ร่วมมือกับ 3 องค์กรวิชาชีพคือ ส.สถาปนิกฯ,ส.วิศวกรรมสถานฯ และส.วิศวกรที่ปรึกษา(วปท.) ในการจัดทำรายละเอียดต่างๆร่วมกันเพื่อยกระดับมาตรฐานและยังร่วมกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในกำหนดหลักสูตรขึ้นมาสำหรับผู้ที่มีความสนใจที่จะเข้ามาเป็นตรวจสอบเฉพาะด้านดังกล่าว ส่วนการให้ใบรับรองหรือประกาศนียบัตรด้านวิชาชีพดังกล่าวนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าหน่วยงานใดจะเป็นผู้ให้ ซึ่งอาจจะเป็นสภาบันการก่อสร้างไทย ก็ได้
อย่างไรก็ตามในเรื่องของราคากลางนั้นในปัจจุบัน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ได้มีการออกกฎหมายว่าจะต้องมีการเปิดราคากลางต่อสาธารณะ และให้แจ้งชื่อผู้คิดราคากลางและคณะกรรมการตรวจสอบราคาด้วย จากที่เดิมไม่เคยมีกฎหมายดังกล่าว ซึ่งเรื่องที่ดี เพราะจะป้องกันเรื่องการคอร์รัปชั่นได้
นายกฤษฎากล่าวว่า สิ่งที่สมาคมมีความเป็นห่วงในขณะนี้นี้ คือการเปิดเสรีอาเซียนเต็มรูปแบบส่วนเรื่องการเปิดเสรีอาเซียนเต็มรูปแบบนั้น มีความกังวลในเรื่องเทคนิคการก่อสร้าง ซึ่งไทยยังไม่มีความเชี่ยวชาญ เพราะเราไม่ค่อยมีแรงงานที่มีทักษะ ขณะที่ขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการก็ยังมีจำกัด ก็ต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยด้วย นอกจากนี้ยังมีความเป็นห่วงเรื่องการตระหนกเรื่องภัยพิบัติ เพราะตรงนี้อาจก่อให้เกิดการเก็งกำไรวัสดุก่อสร้างได้ ทำให้ราคาไม่นิ่งโดยเฉพาะเรื่อง เหล็ก และสินแร่เหล็ก
ส่วนภาพรวมของมูลค่าการลงทุนโดยรวมในปี 2554 ว่าเติบโตจากปี 2553 ประมาณ 7-9.7 % หรือจากกว่า 8.6 แสนล้านบาทเป็น 8.07 แสนล้านบาท ขณะที่ราคาค่าก่อสร้างนั้นค่อนข้างคงที่หรืออาจขยายตัวไม่มากนักเพียง 4-6 % แต่หากแบ่งการการขยายตัวของภาครัฐปีนี้อยู่ที่ 4.5-7.5% ขณะที่งานของภาคเอกชนขยายตัว 3.5-5.5 % ส่วนหนึ่งมีผลมาจากการก่อสร้าง