คลังเดินหน้ายกเครื่องภาษีประเทศทั้งระบบครั้งใหญ่ ขีดเส้น 2 เดือนได้พิมพ์เขียวข้อสรุปทั้งหมดรอรัฐบาลใหม่ตัดสินใจเดินหน้า ระบุเพิ่มยอดจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลจาก 16% ของจีดีพีเป็น 18% เดินหน้าสร้างความเป็นธรรมต่อผู้เสียภาษี
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้แต่งตั้งให้เขาเป็นประธานกรรมการศึกษาการปรับปรุงโครงสร้างภาษีของประเทศทั้งระบบโดยมีนายมั่น พัธโนทัย รมช.คลัง เป็นรองประธาน เนื่องจากระบบการจัดเก็บภาษีในปัจจุบันมีความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมหลายรายการ นอกจากนี้ ยังไม่สนับสนุนศักยภาพการแข่งขันของประเทศเพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
โดยตั้งแต่ปี 2535 ที่กรมสรรพากรได้ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีจากภาษีการค้าเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มก็ไม่ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างภาษีครั้งใหญ่อีกเลย การกำหนดกรอบการทำงานในครั้งนี้ ถือว่ามีความจำเป็นและต้องทำให้เสร็จสิ้นภายใน 2 เดือนหลังจากนั้น ไม่ว่าพรรคการเมืองใดจะเข้ามาเป็นรัฐบาล หรือใครจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็จำเป็นต้องทำเรื่องนี้
“กรอบเวลาการร่างพิมพ์เขียวปฏิรูปภาษี 2 เดือน ถือว่าอยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสม เพราะทุกหน่วยงานที่มาร่วมหารือทั้ง 4 ครั้งที่ผ่านมา ต่างมีผลการศึกษาทางวิชาการสมบูรณ์มากแต่เป็นการดูในมุมของตัวเองดังนั้นการทำงานในครั้งนี้จะเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดมาเพื่อปรับปรุงโครงสร้างภาษีในภาพรวมทั้งหมด เพราะหากไม่ทำในวันนี้อนาคตคนไทยทั้งประเทศจะลำบากมากขึ้น” นายประดิษฐ์ กล่าว
สำหรับแนวทางการจัดเก็บและอัตราการจัดเก็บที่จะเกิดขึ้นนั้นตอนนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าภาษีประเภทใดควรจัดเก็บในอัตราเท่าไร ต้องรอให้โครงสร้างภาพรวมทั้งหมดดำเนินการเสร็จสิ้นก่อนจึงจะสามารถระบุอัตราการจัดเก็บลงไปได้ว่าภาษีแต่ละชนิดจะจัดเก็บเท่าไร เพราะแน่นอนว่าหากมีการปรับลดภาษีตัวหนึ่งก็ต้องมีการเพิ่มภาษีอีกตัว แต่อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงโครงสร้างภาษีในครั้งนี้จะเกิดความเป็นธรรมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างแน่นอน
“สิ่งที่จะเกิดขึ้นนอกจากการปรับปรุงระบบจัดเก็บให้ดีขึ้นแล้วสิ่งที่อยากมุ่งเน้นและเปลี่ยนแปลง คือ การทำให้เห็นภาพของการให้บริการประชาชนด้านภาษีไม่ใช่ตามรีดภาษี ส่วนรายได้นั้นหลังปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บแล้วอัตรารายได้ของรัฐบาลที่เหมาะสมควรจะอยู่ในระดับ 18% ของจีดีพีจากปัจจุบันที่อยู่ระดับ 16% ของจีดีพีเพื่อให้เหมาะสมกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล” นายประดิษฐ์ กล่าว
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้แต่งตั้งให้เขาเป็นประธานกรรมการศึกษาการปรับปรุงโครงสร้างภาษีของประเทศทั้งระบบโดยมีนายมั่น พัธโนทัย รมช.คลัง เป็นรองประธาน เนื่องจากระบบการจัดเก็บภาษีในปัจจุบันมีความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมหลายรายการ นอกจากนี้ ยังไม่สนับสนุนศักยภาพการแข่งขันของประเทศเพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
โดยตั้งแต่ปี 2535 ที่กรมสรรพากรได้ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีจากภาษีการค้าเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มก็ไม่ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างภาษีครั้งใหญ่อีกเลย การกำหนดกรอบการทำงานในครั้งนี้ ถือว่ามีความจำเป็นและต้องทำให้เสร็จสิ้นภายใน 2 เดือนหลังจากนั้น ไม่ว่าพรรคการเมืองใดจะเข้ามาเป็นรัฐบาล หรือใครจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็จำเป็นต้องทำเรื่องนี้
“กรอบเวลาการร่างพิมพ์เขียวปฏิรูปภาษี 2 เดือน ถือว่าอยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสม เพราะทุกหน่วยงานที่มาร่วมหารือทั้ง 4 ครั้งที่ผ่านมา ต่างมีผลการศึกษาทางวิชาการสมบูรณ์มากแต่เป็นการดูในมุมของตัวเองดังนั้นการทำงานในครั้งนี้จะเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดมาเพื่อปรับปรุงโครงสร้างภาษีในภาพรวมทั้งหมด เพราะหากไม่ทำในวันนี้อนาคตคนไทยทั้งประเทศจะลำบากมากขึ้น” นายประดิษฐ์ กล่าว
สำหรับแนวทางการจัดเก็บและอัตราการจัดเก็บที่จะเกิดขึ้นนั้นตอนนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าภาษีประเภทใดควรจัดเก็บในอัตราเท่าไร ต้องรอให้โครงสร้างภาพรวมทั้งหมดดำเนินการเสร็จสิ้นก่อนจึงจะสามารถระบุอัตราการจัดเก็บลงไปได้ว่าภาษีแต่ละชนิดจะจัดเก็บเท่าไร เพราะแน่นอนว่าหากมีการปรับลดภาษีตัวหนึ่งก็ต้องมีการเพิ่มภาษีอีกตัว แต่อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงโครงสร้างภาษีในครั้งนี้จะเกิดความเป็นธรรมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างแน่นอน
“สิ่งที่จะเกิดขึ้นนอกจากการปรับปรุงระบบจัดเก็บให้ดีขึ้นแล้วสิ่งที่อยากมุ่งเน้นและเปลี่ยนแปลง คือ การทำให้เห็นภาพของการให้บริการประชาชนด้านภาษีไม่ใช่ตามรีดภาษี ส่วนรายได้นั้นหลังปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บแล้วอัตรารายได้ของรัฐบาลที่เหมาะสมควรจะอยู่ในระดับ 18% ของจีดีพีจากปัจจุบันที่อยู่ระดับ 16% ของจีดีพีเพื่อให้เหมาะสมกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล” นายประดิษฐ์ กล่าว