“กรณ์” ยาหอมนักลงทุนเตรียมลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 18% เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภูมิภาคมุ่งสู่การแข่งขันอย่างเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ยันนโยบายรัฐจะยังคงขับเคลื่อน 4 เป้าหมายหลัก การศึกษา – โครงสร้างพื้นฐาน – มุ่งสู่เวทีโลก - สร้างระบบการแข่งขันที่เป็นธรรม
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังกล่าวในงาน "ไทยแลนด์โฟกัส 2011" ว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราภาษีนิติบุคล เพื่อกระตุ้นการลงทุน เนื่องจากอัตราภาษีนิติบุคคลที่จัดเก็บจริงอยู่ที่ระดับ 18-19% เท่านั้น จากอัตราที่จัดเก็บในปัจจุบัน 30% จากสิทธิลดหย่อนประเภทต่างๆ ที่มี แต่จะต้องไม่กระทบกับภาระการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในระยะยาวด้วย ส่วนนโยบายของรัฐบาลจะยังคงมุ่งเน้น 4 ประเด็นคือ การศึกษา การพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน การเปิดตลาดไทยสู่เวทีโลก และการสร้างระบบการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว
“นักลงทุนมีคำถามที่หลากหลาย สะท้อนถึงความสนใจต่อนโยบายเศรษฐกิจและเป้าหมายระยะยาวว่า รัฐบาลมีแผนที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมอย่างไร ซึ่งทั้ง 4 ประเด็น เป็นสิ่งที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญมาก และจะเป็นสิ่งที่ช่วยตอบโจทย์เศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะต่อไป" นายกรณ์กล่าว
โดยเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมานายกรณ์ได้แต่งตั้งให้นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลังเป็นประธานกรรมการศึกษาการปรับปรุงโครงสร้างภาษีของประเทศทั้งระบบโดยมีนายมั่น พัธโนทัย รมช.คลังเป็นรองประธาน เนื่องจากระบบการจัดเก็บภาษีในปัจจุบันมีความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมหลายรายการ นอกจากนี้ยังไม่สนับสนุนศักยภาพการแข่งขันของประเทศเพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)
ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2535 ที่กรมสรรพากรได้ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีจากภาษีการค้าเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มก็ไม่ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างภาษีครั้งใหญ่อีกเลย การกำหนดกรอบการทำงานในครั้งนี้ถือว่ามีความจำเป็นและต้องทำให้เสร็จสิ้นภายใน 2 เดือนหลังจากนั้นไม่ว่าพรรคการเมืองใดจะเข้ามาเป็นรัฐบาลหรือใครจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็จำเป็นต้องทำเรื่องนี้
“กรอบเวลาการร่างพิมพ์เขียวปฏิรูปภาษี 2 เดือนถือว่าอยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสมเพราะทุกหน่วยงานที่มาร่วมหารือทั้ง 4 ครั้งที่ผ่านมาต่างมีผลการศึกษาทางวิชาการสมบูรณ์มากแต่เป็นการดูในมุมของตัวเองดังนั้นการทำงานในครั้งนี้จะเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดมาเพื่อปรับปรุงโครงสร้างภาษีในภาพรวมทั้งหมด เพราะหากไม่ทำในวันนี้อนาคตคนไทยทั้งประเทศจะลำบากมากขึ้น” นายประดิษฐ์กล่าว
นายประดิษฐ์กล่าวว่า สำหรับแนวทางการจัดเก็บและอัตราการจัดเก็บที่จะเกิดขึ้นนั้นตอนนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าภาษีประเภทใดควรจัดเก็บในอัตราเท่าไร ต้องรอให้โครงสร้างภาพรวมทั้งหมดดำเนินการเสร็จสิ้นก่อนจึงจะสามารถระบุอัตราการจัดเก็บลงไปได้ว่าภาษีแต่ละชนิดจะจัดเก็บเท่าไร เพราะแน่นอนว่าหากมีการปรับลดภาษีตัวหนึ่งก็ต้องมีการเพิ่มภาษีอีกตัว แต่อย่างไรก็ตามการปรับปรุงโครงสร้างภาษีในครั้งนี้จะเกิดความเป็นธรรมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างแน่นอน
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังกล่าวในงาน "ไทยแลนด์โฟกัส 2011" ว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราภาษีนิติบุคล เพื่อกระตุ้นการลงทุน เนื่องจากอัตราภาษีนิติบุคคลที่จัดเก็บจริงอยู่ที่ระดับ 18-19% เท่านั้น จากอัตราที่จัดเก็บในปัจจุบัน 30% จากสิทธิลดหย่อนประเภทต่างๆ ที่มี แต่จะต้องไม่กระทบกับภาระการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในระยะยาวด้วย ส่วนนโยบายของรัฐบาลจะยังคงมุ่งเน้น 4 ประเด็นคือ การศึกษา การพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน การเปิดตลาดไทยสู่เวทีโลก และการสร้างระบบการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว
“นักลงทุนมีคำถามที่หลากหลาย สะท้อนถึงความสนใจต่อนโยบายเศรษฐกิจและเป้าหมายระยะยาวว่า รัฐบาลมีแผนที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมอย่างไร ซึ่งทั้ง 4 ประเด็น เป็นสิ่งที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญมาก และจะเป็นสิ่งที่ช่วยตอบโจทย์เศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะต่อไป" นายกรณ์กล่าว
โดยเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมานายกรณ์ได้แต่งตั้งให้นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลังเป็นประธานกรรมการศึกษาการปรับปรุงโครงสร้างภาษีของประเทศทั้งระบบโดยมีนายมั่น พัธโนทัย รมช.คลังเป็นรองประธาน เนื่องจากระบบการจัดเก็บภาษีในปัจจุบันมีความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมหลายรายการ นอกจากนี้ยังไม่สนับสนุนศักยภาพการแข่งขันของประเทศเพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)
ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2535 ที่กรมสรรพากรได้ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีจากภาษีการค้าเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มก็ไม่ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างภาษีครั้งใหญ่อีกเลย การกำหนดกรอบการทำงานในครั้งนี้ถือว่ามีความจำเป็นและต้องทำให้เสร็จสิ้นภายใน 2 เดือนหลังจากนั้นไม่ว่าพรรคการเมืองใดจะเข้ามาเป็นรัฐบาลหรือใครจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็จำเป็นต้องทำเรื่องนี้
“กรอบเวลาการร่างพิมพ์เขียวปฏิรูปภาษี 2 เดือนถือว่าอยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสมเพราะทุกหน่วยงานที่มาร่วมหารือทั้ง 4 ครั้งที่ผ่านมาต่างมีผลการศึกษาทางวิชาการสมบูรณ์มากแต่เป็นการดูในมุมของตัวเองดังนั้นการทำงานในครั้งนี้จะเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดมาเพื่อปรับปรุงโครงสร้างภาษีในภาพรวมทั้งหมด เพราะหากไม่ทำในวันนี้อนาคตคนไทยทั้งประเทศจะลำบากมากขึ้น” นายประดิษฐ์กล่าว
นายประดิษฐ์กล่าวว่า สำหรับแนวทางการจัดเก็บและอัตราการจัดเก็บที่จะเกิดขึ้นนั้นตอนนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าภาษีประเภทใดควรจัดเก็บในอัตราเท่าไร ต้องรอให้โครงสร้างภาพรวมทั้งหมดดำเนินการเสร็จสิ้นก่อนจึงจะสามารถระบุอัตราการจัดเก็บลงไปได้ว่าภาษีแต่ละชนิดจะจัดเก็บเท่าไร เพราะแน่นอนว่าหากมีการปรับลดภาษีตัวหนึ่งก็ต้องมีการเพิ่มภาษีอีกตัว แต่อย่างไรก็ตามการปรับปรุงโครงสร้างภาษีในครั้งนี้จะเกิดความเป็นธรรมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างแน่นอน