“หม่อมเต่า” เผยนโยบายแบงก์ชาติ ปีนี้จะใช้นโยบายเงินบาทอ่อนค่า หนุนภาคส่งออก ผลักดันเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ระบุ หวังกำลังซื้อในประเทศอย่างเดียวไม่พอยาไส้ พร้อมขึ้นดอกเบี้ยกดเงินเฟ้อ สร้างความมั่นใจเศรษฐกิจขยายตัวยั่งยืน เปิดใจแก้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ต้องใช้เวลากว่า 20 ปี ยัน ธปท.ไม่ซื้อซีโร่คูปอง
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปีนี้ ธปท.จะพยายามดำเนินนโยบายการเงินให้เอื้อต่อการอ่อนค่าเงินบาทมากกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยปรับวิธีการเข้าไปแทรกแซงหรือดูแลค่าเงินบาทในกรณีอ่อนค่าให้ช้าลง จากเดิมกำหนดอัตราการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่จะเข้าไปดูแลเท่ากัน ไม่ว่าเงินบาทแข็งหรืออ่อน
ยกตัวอย่างเดิม หากเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็ว ธปท.จะเข้าไปดูแล เพื่อช่วยลดความผันผวน ขณะที่ช่วงเงินบาทอ่อนค่าเร็ว เราก็จะเข้าไปดูแลความผันผวนในอัตราที่กำหนดเท่ากัน แต่จากนี้ไป ถ้าบาทแข็งเราอาจจะเข้าไปดูแลเร็ว แต่ถ้าบาทอ่อน เราอาจจะเข้าไปดูแลช้าลง
“ในปัจจุบันสถานการณ์ค่าเงินบาทเริ่มอ่อนค่าลง มองว่า เป็นเรื่องที่ดีที่จะช่วยสนับสนุนภาคส่งออกของไทยให้ขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากภาคส่งออกมีความสามารถในการเติบโตได้ดีกว่าการการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ ที่อาจมีข้อจำกัดค่อนข้างมาก อีกทั้ง ภาคการส่งออกมีสัดส่วนที่สูงต่อการขยายตัวเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยเหลือภาคอื่นๆ ได้ด้วยไม่ว่าการจ้างงาน รายได้ของลูกจ้างในประเทศ ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง”
อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงที่มีผลให้ปริมาณเงินเพิ่มมากขึ้น อาจจะส่งผลต่อแรงกดดันให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้อีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อจากปัจจัยอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วในปีนี้ ทำให้ ธปท.ยังมีความจำเป็นที่จะดำเนินนโยบายการเงินด้วยการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป เพื่อดูแลให้อัตราเงินเฟ้อต่ำลง เพราะหากเป็นเช่นนี้จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือต่อระบบเศรษฐกิจไทยและส่งเสริมให้นักลงทุนกล้าเข้ามาลงทุนมากขึ้น
ม.ร.ว.จัตุมงคล มองว่า อัตราเงินเฟ้อที่จะเพิ่มสูงขึ้นต่อจากนี้ ไม่ว่าจะมาจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น หรือมาจากกำลังซื้อที่เพิ่มสูงขึ้น ถือว่าไม่ดีทั้งสองอย่าง ธปท.จึงจำเป็นที่จะต้องดึงเงินเฟ้อให้ต่ำลง ทำให้อาจจะเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปอีก แต่ในระยะต่อไป อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ จะช่วยให้การขยายตัวของเศรษฐกิจกลับมาอยู่ในระดับสูง และมีความยั่งยืนในที่สุด
แก้หนี้กองทุนต้องรอ 20-30 ปี
ประธานบอร์ด ธปท.เปิดเผยด้วยว่า สัปดาห์หน้าจะเชิญ นายอารีพงศ์ ภูชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง มาหารือเพิ่มเติมถึงแนวทางการแก้ไขหนี้สินกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจำนวน 1.14 ล้านบาท ซึ่งแนวทางเบื้องต้นที่ตกลงกันได้แล้วในขณะนี้ คือ การออก พ.ร.บ.ปิดกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพื่อโอนสินทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไปให้กระทรวงการคลังเพื่อนำไปใช้หนี้ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตกลงกันในเรื่องการตีราคาสินทรัพย์ และการร่าง พ.ร.บ.ปิดกองทุน ส่วนแนวทางการออกพันธบัตรดอกเบี้ย 0% (ซีโร่คูปอง) เป็นเรื่องที่ไม่มีใครเห็นด้วย
“ผมมองว่ามันเป็นเรื่องกระเป๋าซ้ายกระเป๋าขวา ข้างไหนก็เงินประชาชนทั้งนั้น ถ้าจะมีใครขาดทุน แต่ประชาชนได้ประโยชน์ ก็ให้ทำอย่างนั้น จะบอกว่าเป็นหนี้ ธปท.คนเดียวก็ไม่ได้ เพราะในช่วงวิกฤตหลายฝ่ายก็ร่วมกันจนเกิดหนี้ก้อนนี้ขึ้นมา ดังนั้น จะบังคับให้ล้างหนี้หมดภายใน 5 ปี 7 ปีคงทำไม่ได้ ถามว่า หนี้สิน 1.14 ล้านล้านบาท จะหมดเมื่อไหร่ ประมาณภายใน 20-30 ปี” ม.ร.ว.จัตุมงคล ยืนยัน
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปีนี้ ธปท.จะพยายามดำเนินนโยบายการเงินให้เอื้อต่อการอ่อนค่าเงินบาทมากกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยปรับวิธีการเข้าไปแทรกแซงหรือดูแลค่าเงินบาทในกรณีอ่อนค่าให้ช้าลง จากเดิมกำหนดอัตราการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่จะเข้าไปดูแลเท่ากัน ไม่ว่าเงินบาทแข็งหรืออ่อน
ยกตัวอย่างเดิม หากเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็ว ธปท.จะเข้าไปดูแล เพื่อช่วยลดความผันผวน ขณะที่ช่วงเงินบาทอ่อนค่าเร็ว เราก็จะเข้าไปดูแลความผันผวนในอัตราที่กำหนดเท่ากัน แต่จากนี้ไป ถ้าบาทแข็งเราอาจจะเข้าไปดูแลเร็ว แต่ถ้าบาทอ่อน เราอาจจะเข้าไปดูแลช้าลง
“ในปัจจุบันสถานการณ์ค่าเงินบาทเริ่มอ่อนค่าลง มองว่า เป็นเรื่องที่ดีที่จะช่วยสนับสนุนภาคส่งออกของไทยให้ขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากภาคส่งออกมีความสามารถในการเติบโตได้ดีกว่าการการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ ที่อาจมีข้อจำกัดค่อนข้างมาก อีกทั้ง ภาคการส่งออกมีสัดส่วนที่สูงต่อการขยายตัวเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยเหลือภาคอื่นๆ ได้ด้วยไม่ว่าการจ้างงาน รายได้ของลูกจ้างในประเทศ ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง”
อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงที่มีผลให้ปริมาณเงินเพิ่มมากขึ้น อาจจะส่งผลต่อแรงกดดันให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้อีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อจากปัจจัยอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วในปีนี้ ทำให้ ธปท.ยังมีความจำเป็นที่จะดำเนินนโยบายการเงินด้วยการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป เพื่อดูแลให้อัตราเงินเฟ้อต่ำลง เพราะหากเป็นเช่นนี้จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือต่อระบบเศรษฐกิจไทยและส่งเสริมให้นักลงทุนกล้าเข้ามาลงทุนมากขึ้น
ม.ร.ว.จัตุมงคล มองว่า อัตราเงินเฟ้อที่จะเพิ่มสูงขึ้นต่อจากนี้ ไม่ว่าจะมาจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น หรือมาจากกำลังซื้อที่เพิ่มสูงขึ้น ถือว่าไม่ดีทั้งสองอย่าง ธปท.จึงจำเป็นที่จะต้องดึงเงินเฟ้อให้ต่ำลง ทำให้อาจจะเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปอีก แต่ในระยะต่อไป อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ จะช่วยให้การขยายตัวของเศรษฐกิจกลับมาอยู่ในระดับสูง และมีความยั่งยืนในที่สุด
แก้หนี้กองทุนต้องรอ 20-30 ปี
ประธานบอร์ด ธปท.เปิดเผยด้วยว่า สัปดาห์หน้าจะเชิญ นายอารีพงศ์ ภูชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง มาหารือเพิ่มเติมถึงแนวทางการแก้ไขหนี้สินกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจำนวน 1.14 ล้านบาท ซึ่งแนวทางเบื้องต้นที่ตกลงกันได้แล้วในขณะนี้ คือ การออก พ.ร.บ.ปิดกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพื่อโอนสินทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไปให้กระทรวงการคลังเพื่อนำไปใช้หนี้ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตกลงกันในเรื่องการตีราคาสินทรัพย์ และการร่าง พ.ร.บ.ปิดกองทุน ส่วนแนวทางการออกพันธบัตรดอกเบี้ย 0% (ซีโร่คูปอง) เป็นเรื่องที่ไม่มีใครเห็นด้วย
“ผมมองว่ามันเป็นเรื่องกระเป๋าซ้ายกระเป๋าขวา ข้างไหนก็เงินประชาชนทั้งนั้น ถ้าจะมีใครขาดทุน แต่ประชาชนได้ประโยชน์ ก็ให้ทำอย่างนั้น จะบอกว่าเป็นหนี้ ธปท.คนเดียวก็ไม่ได้ เพราะในช่วงวิกฤตหลายฝ่ายก็ร่วมกันจนเกิดหนี้ก้อนนี้ขึ้นมา ดังนั้น จะบังคับให้ล้างหนี้หมดภายใน 5 ปี 7 ปีคงทำไม่ได้ ถามว่า หนี้สิน 1.14 ล้านล้านบาท จะหมดเมื่อไหร่ ประมาณภายใน 20-30 ปี” ม.ร.ว.จัตุมงคล ยืนยัน